การเรียนรู้ คำศัพท์ SEO นับว่าเป็นความสำคัญสำหรับนักออกแบบธุรกิจออนไลน์และนักการตลาดออนไลน์จำนวนมากที่พยายามตามหาบริษัทรับทำ SEO ไม่ว่าจะเพื่อกระตุ้นการยกระดับธุรกิจของตัวเองหรือพยายามจะแข่งขันบนตลาดออนไลน์ก็ตาม ซึ่งเชื่อว่าหากคุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ คุณก็คงเป็นคนหนึ่งที่สนใจในการทำ SEO เหมือนกัน แต่ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นทำมันได้ คุณก็ควรเข้าใจคำศัพท์พื้นฐานต่าง ๆ ของ SEO ซึ่งผมได้รวบรวมมาให้อ่านแล้วเข้าใจง่าย ๆ ไว้ที่นี่แล้ว
ทำไมเราถึงควรรู้ “คำศัพท์ SEO” ?
คำศัพท์ SEO หรือ Search Engine Optimization ไม่ใช่คำที่จดจำยากหากเราพยายามศึกษามันอย่างจริงจัง อีกทั้งยังจำเป็นสำหรับผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์หรือการพัฒนาเว็บไซต์ โดยถึงแม้คุณจะไม่ได้เป็นนักการตลาดหรือนักเขียนโปรแกรม การเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ SEO ก็ย่อมมีประโยชน์อย่างมากสำหรับคุณเองในประเด็นต่าง ๆ
โดยในบทความนี้ ผมจะไม่ได้พูดถึงเทคนิคในการทำ SEO แต่จะอธิบายคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คุณเข้าใจและไม่งงเป็นไก่ตาแตกเวลาไปคุยกับนัก SEO หรือเวลาไปอ่านบทความอื่น ๆ ทำให้คุณเข้าใจบริบทของการสื่อสารได้อย่างเข้าใจตรงกัน ในตอนนี้มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีศัพท์อะไรที่คุณควรรู้บ้าง
301 redirect หรือ การเปลี่ยนเส้นทางของเว็บไซต์
เมื่อพูดถึงการ redirect โดยทั่วไป จะเกิดขึ้นเมื่อคุณกำลังเข้าไปใน page หนึ่ง แล้วอยู่ดีๆคุณก็โดนวาร์ป หรือที่เรียกว่า redirect หรือไปโผล่ที่อีก page หนึ่งเฉยเลย ซึ่งเป็นคนละ URL ด้วย โดยทั่วไป จะมี 2 แบบ คือ temporary redirection และ permanent redirection จากมุมของผู้เข้าชมเว็บไซต์แล้วทั้ง 2 แบบนี้ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ถ้ามุมของ google หรือ search engine แล้ว ทั้ง 2 แบบนี้แตกต่างกันแน่นอน
301 redirect คือการเปลี่ยนเส้นทางแบบถาวร (permanent redirection) เป็นการบอกกับ search engine หน้าที่พวกเขากำลังพยายามเข้าถึงอยู่นั่นได้ถูกเปลี่ยน address อย่างถาวรแล้ว ซึ่งหมายความว่า ranking ต่างๆที่หน้านี้เคยมี ควรจะถูกย้ายตามไปที่ new address ด้วย (ไม่เหมือนกันกับการเปลี่ยนชั่วคราว)
Alt tag
เป็น HTML attribute ของ IMG Tag หรือคำที่ใช้อธิบายรูปภาพที่จะไปรวมอยู่ในโค้ด HTML ของเรานั่นเอง และ tag/attribute ที่เราตั้งไว้จะมาแสดงผลให้เห็นที่หน้าเว็บไซต์ด้วย ในกรณีที่รูปภาพเหล่านี้ไม่สามารถแสดงผลได้ เพื่อให้เห็นภาพ นี่คือตัวอย่างครับ
<img src=”clock.jpg” alt=”picture of a clock” />
และ Alt tags ยังมีส่วนช่วยเสริมในเรื่องของ SEO อีกด้วยนะ เวลาที่ search engines เช่น google ไม่สามารถเห็นรูปภาพของคุณได้ (อย่างน้อยมันก็มองไม่เห็นชั่วขณะ) แต่ว่าการใส่ alt tag ที่ตรงกับความหมายของรูปภาพก็ช่วยให้ google รู้ว่านี่คือรูปอะไร และจะช่วยให้รูปภาพของคุณติด Google ในหมวดรูปภาพอีกด้วย
Anchor text
ทุก ๆ link นั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนประกอบ คือ web address ที่ลิงค์นั้นแสดงผลไปหาที่ปลายทางและอีกอย่างก็คือ anchor text ซึ่งเป็น text ที่ทำหน้าที่เป็น link นั่นเอง เช่นถ้าผมจะสร้าง link เพื่อส่งไปที่เว็บเกี่ยวกับการรับทำ SEO ของผม link ของผมคือ https://www.thaitopseo.co.th/ และ anchor text คือ “ รับทำ SEO” หมายความว่าเมื่อเรากดที่ “รับทำ SEO” มันจะส่งคุณไปที่ link ปลายทางตาม address ที่ผมบอกไปนั่นเอง
Anchor texts ถือว่ามีส่วนสำคัญเลยทีเดียวสำหรับ SEO เมื่อไรที่คุณสร้าง link ส่งกลับมาที่เว็บไซต์ของคุณ อย่าลืมใช้คำที่เกี่ยวข้องเป็น anchor text ด้วยนะครับ
Backlinks
Backlink คือ link ที่ถูกวางไว้ตามเว็บไซต์อื่น ๆ (และของคนอื่น) ที่แสดงผลกลับมายังเว็บไซต์ของคุณ คงไม่มีใครไม่รู้ว่า backlinks เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับ SEO ยิ่งคุณมี backlinks ร่วมกับ anchor text ที่สัมพันธ์กันมากเท่าไร ยิ่งทำให้การทำ SEO ของคุณย่นระยะทางมากขึ้นเท่านั้น แปลว่าคุณจะไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้นแน่นอน
Black hat SEO
ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆแหละ SEO ก็มีด้านมืดอยู่เหมือนกัน Black hat SEO ใช้เรียกแทนขั้นตอนการทำ SEO ที่รู้ๆกันว่าเป็นสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากจรรยาบรรณหรือกฏทั่วไป เป็นทางลัดที่อาจช่วยให้อันดับเว็บของคุณขึ้น (หรือร่วง) ได้รวดเร็ว แต่ในระยะยาวสามารถส่งผลเสียต่อเว็บของคุณอาจร้ายแรงถึงการโดนแบนจาก google เลยก็ว่าได้
Canonical tag
เป็นส่วนหนึ่งของ HTML link ที่คุณหรือผู้เขียนเว็บใช้เพื่อบอก search engines ให้รู้เกี่ยวกับหน้า page ที่ได้สร้างขึ้นมาซ้ำ ๆ กันหรือมีเนื้อหาที่คล้าย ๆ กันหลายหน้า โดยที่เราจะต้องใส่ tag นี้ไว้ในส่วน HEAD ของ HTML หน้าตาก็จะประมาณนี้ครับ
หลักการก็คือ tag นี้จะบอกว่าหน้านี้เป็นหน้า copy ของหน้าที่อยู่ใน address ใน canonical tag (href) เพื่อที่เวลา search engine มาเห็นจะได้ไม่ rank หน้านี้แต่จะ transfer rank หรือส่งคะแนนทั้งหมดไปให้หน้าที่เราต้องการหรือที่เรียกว่า canonical page (คล้ายๆกับ 301 redirect)
Cloaking (page cloaking)
เป็นการทำให้ webpage แสดงผลต่างกันระหว่างการเข้าชมเว็บของ user ทั่วไปกับ search engines วิธีนี้ในหลักการอาจจะทำให้คุณมี rank ที่ดีสำหรับ keywords ที่ต้องการ โดยการแสดง optimized page แก่บรรดา spiders ที่ถูกส่งมาเก็บข้อมูลทั้งหลาย แต่สำหรับ user ทั่วไปจะเห็นเป็น content อีกแบบที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน
แม้ว่าการใช้วิธีนี้อาจจะใช้ได้ผลในการทำการตลาด แต่ก็สามารถโดนลงโทษหนักถึงขั้นถูกแบนถ้าโดนจับได้เหมือนกันครับ
Deep linking
คือการสร้าง hyperlink ที่ส่งเข้าไปใน specific page หรือส่งไปที่รูปภาพในหน้าเว็บไซต์ต่างๆโดยตรง แทนที่จะส่งไปที่หน้าหลักหรือ home page เราเรียก links เหล่านั้นว่า deep links และการส่ง links (ด้วย anchor text ที่ดี) มาที่หน้าต่างๆของเว็บไซต์ช่วยให้ rank ของเว็บดีขึ้นด้วย
การใช้ deep links เพื่อเชื่อมไปสู่ mobile app ก็กำลังเป็นที่นิยม คุณคงเคยเจอเหมือนกันแหละ เวลาที่คุณกดที่ไป links ของร้านค้าแล้วมันส่งคุณตรงมาที่ app ของร้านเลย โดยไม่ต้องผ่าน web browser
Do-follow link
เป็นการทำ links ที่เชื่อมโยงเว็บไซต์หนึ่งไปอีกเว็บไซต์หนึ่งโดยปล่อยให้อันดับเว็บ (PR) นั้นสามารถไปตาม links ยังปลายทางได้ เท่ากับว่า links นั้นช่วยสร้างทั้ง PR และ backlink ให้กับเว็บไซต์ปลายทางได้ด้วย วิธีดูก็คือสังเกตที่ HTML ว่ามีคำว่า rel=”nofollow” อยู่หรือเปล่า ถ้าไม่มีก็แสดงว่าเป็น do-follow
Domain name (and hosting)
Domain คือที่อยู่เฉพาะของคุณบน internet ยกตัวอย่างเช่น domain ของเว็บไซต์นี้คือ thaitopseo.co.th
ส่วน Hosting หรือ web host คือที่ๆ Domain เว็บไซต์ของคุณถูกเก็บหรือตั้งอยู่ใน hosting นั่นเอง ซึ่งคุณจำเป็นต้องมีพื้นที่จัดเก็บให้พอเพียงกับข้อมูลเนื้อหารวมถึงรูปภาพต่างๆในเว็บไซต์ของคุณ
Duplicate content
หากในเว็บไซต์ของคุณมี 2 หน้าที่มีเนื้อหาเหมือนกันหรือคล้ายกันมากๆ แสดงว่าคุณมี duplicate content ซึ่งเราเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อ SEO และ google ไม่ชอบสิ่งนี้
Keywords
คำนี้สื่อได้หลายความหมาย แต่ในมุมของ SEO แล้ว keywords หมายถึง คำหรือวลีที่อยู่ในหน้าเว็บไซต์หรือหน้าที่กำหนดและส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการทำ SEO
ยกตัวอย่างเช่น ผมกำลังเขียนบทความเกี่ยวกับ “การเลือกอุปกรณ์ทำสวนที่ดีที่สุด” main keywords ของผมควรจะเป็น “อุปกรณ์ทำสวน” นี่เป็นคำที่ผมต้องการให้ไปติดอันดับเพราะผมต้องการให้คนที่สนใจในอุปกรณ์ทำสวนค้นหาคำว่า “อุปกรณ์ทำสวน” แล้วเจอผมบน google
หรืออย่างการที่ผมเขียนบทความเกี่ยวกับคำศัพท์นี้ขึ้นมา main keywords ของผมควรจะเป็นคำว่า “คำศัพท์ SEO” เพื่อที่จะให้ผู้คนค้นเจอผมเมื่อต้องการหาบทความเกี่ยวกับคำศัพท์อ่าน เป็นต้น
Keyword density
หรือจะเรียกบ้าน ๆ ว่าความหนาแน่นของ keywords ก็ได้ วิธีคำนวนก็คือ ดูว่าเราใช้ keywords คำนี้บ่อยแค่ไหนในบทความ โดยนับจำนวนครั้งที่เราใส่ keywords นี้เข้าไปในบทความมาหารด้วยจำนวนคำทั้งหมดในบทความแล้วคูณด้วย 100 คุณจะก็จะได้ % ที่คุณใช้คำๆนี้
หลักการนี้เคยถูกเชื่อว่ามีผลต่อการ SEO มาก่อน ยิ่งมีคำ ๆ นั้นมากก็แสดงว่ามันสมควรได้เป็น keywords ที่จะเอาไปจัดอันดับใน search engines แต่ดูว่าเหมือนปัจจุบันเจ้า search engines จะมีวิธีที่ซับซ้อนกว่านี้และวิธีนี้อาจจะใช้ไม่ได้ผลดีเหมือนเมื่อก่อนแล้ว
Keyword stuffing
คือการใช้คำที่ไม่เป็นธรรมชาติซ้ำมาซ้ำมามาก ๆ สมมุติว่าคุณกำลังอ่านบทความใด ๆ อยู่ คุณอาจสังเกตได้ว่า คำว่า “เช่น” “และ” “หรือ” จะปรากฏอยู่บ่อยๆซึ่งมันดูเป็นธรรมชาติ แต่หากเปลี่ยนเป็นคำว่า “ปฏิทินดูดาว” หรือคำว่า “เครื่องเพาะเห็ดอัตโนมัติ” มาปรากฏซ้ำ มันออกจะดูจงใจไปหน่อย โดยเฉพาะเมื่อบทความนั้นดูไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งวิธีนี้มักจะถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่ม Keyword density ให้กับคำที่ต้องการ
ในขณะที่ผมเชื่อว่าการใช้ Keyword density ไม่ได้ช่วยได้ดีเหมือนเมื่อก่อน การใช้วิธีเขียนยัดเยียดคำซ้ำลงไปมาก ๆหรือ Keyword stuffing ก็เหมือนกัน เครื่องมือตรวจจับของ google รู้ทันคุณและไม่ชอบสิ่งนี้แน่นอน
Latent Semantic Indexing (LSI)
LSI keywords คือ keywords ที่ให้ความหมายคล้าย ๆ กับ main keywords ของคุณ แต่ถูกถ่ายทอดด้วยภาษาที่ดูเป็นธรรมชาติมากกว่า อย่างเช่น ถ้าคีย์เวิรด์หลักของคุณคือ “อุปกรณ์ทำสวน” และคุณใช้คำนี้บ่อยๆในบทความของคุณ ก็จะดีมากถ้าคุณใส่คำเสริมที่ให้ความหมายคล้ายๆหรือส่งเสริมกันเข้าไป เช่น ต้นไม้ สวน ผัก การปลูกต้นไม้ การทำสวน เป็นต้น
LSI keywords นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเมื่อคุณพยายามจะไต่ rank ใน search engines เพราะเมื่อบทความของคุณกำลังถูกวิเคราะห์และมองหา keywords อยู่ เจ้า LSI keywords เหล่านี้จะเป็นตัวสนับสนุนและช่วยเสริมให้เนื้อหาในบทความของคุณดูสมจริงและทำให้รู้ว่าคุณพูดถึงเรื่องนี้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าคีย์เวิรด์ของคุณเป็นการสุ่มคำขึ้นมาโดยบังเอิญ
Linkbait
เหมือนกับการตกปลาด้วย links นั่นแหละ การสร้างเนื้อหาหรือพาดหัวอะไรที่กำลังเป็น viral content หรือเป็นกระแสอยู่ เพื่อดึงดูดให้มีการสร้าง links มากๆ การสร้าง linkbait เป็นสิ่งที่ยากถึงแม้ในหลักการมันอาจจะดูง่ายก็ตาม คุณอาจจะลองสร้างเนื้อหาอะไรที่ดูน่าตลกหรือมีคุณภาพ ไม่ก็แจกอะไรฟรี ๆ อาจะจะทำในรูปของ text, VDO, รูปภาพ หรือเสียงก็ได้
Link building
คือการสร้าง backlinks ส่งกลับมายัง page ของคุณ นับเป็นหลักที่สำคัญที่สุดในการทำ SEO เลยก็ว่าได้ ผมเชื่อว่าข้อนี้ทุกคนคงรู้อยู่แล้วละ การสร้างลิงค์มีทั้ง การแลก links, การซื้อ link แต่ที่ดีที่สุดคือการทำให้ links เข้ามาที่เว็บไซด์ของคุณโดยธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีคนเห็นว่าเว็บไซต์ของคุณดีจริงๆ
Link farm
เป็นเหมือนเครือข่ายของเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงแต่ละเว็บเข้าหากันด้วย links เพื่อเพิ่มอันดับเว็บไซด์และค่า PageRanks
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการสร้าง link farm คุณอาจจะสร้างเว้บไซต์ขึ้นมา 4 วํบ โดยให้แต่ละเว็บอยู่บน server ที่ต่างกัน จากนั้นคุณใส่ link จากเว็บ 1 ไปเว็บที่ 2,3,4 และก็ใส่ link จากเว็บที่ 2 ไปยังเว็บที่ 1,3,4 ทำแบบนี้กับทั้ง 4 เว็บ หลักก็คือส่ง link จากทุกเว็บไซต์ไปยังทุกเว็บไซต์ที่คุณมี
4 เว็บไซต์อาจจะดูธรรมดาๆและไม่ได้ช่วยอะไร แต่ถ้าลองได้ทำมาเป็นร้อยหรือพันเว็บไซต์ (ซึ่งคงยากที่จะมีใครทำถึงขั้นนั้น) พลังของมันจะเพิ่มขึ้นมหาศาลเลยละครับ แต่แต่แต่ นี่คือตัวอย่างของการทำ black hat SEO นะครับ อย่าได้ลองเชียวถ้าคุณยังไม่อยากให้เว็บของคุณโดนลงโทษหรือโดนแบน
Link sculpting
จากการใช้ link “nofollow” attribute คุณสามารถทำให้ลิงค์เหล่านั้นไม่มีนัยยะในมุมของ SEO ได้ดังนั้นการใช้เทคนิคในการทำ dofollow และ nofollow จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบหรือ “sculpt” PageRank ได้ แต่ปัจจุบันนี้หลายคนเชื่อว่าเทคนิคนี้ไม่มีผลอะไร เพราะว่า google ได้ ปรับเปลี่ยนวิธีที่จะจัดการกับ nofollow link แล้ว
Meta description
เป็นคำอธิบายย่อๆของ blog, page หรือ post เพื่อแสดงบน search engines เมื่อมีคนค้นหาเจอเว็บของคุณอยู่ในหน้าแสดงผลการค้นหา (SERP) เพื่อให้รู้ว่าหน้านี้ของคุณเกี่ยวกับอะไร โดยที่คำอธิบายนี้จะไม่ได้แสดงอยู่บนหน้าเว็บจริงๆของคุณ โดยที่ Meta description นี้จะแสดงผลอยู่ที่ 2 บรรทัด คุณจึงไม่ควรเขียนสั้นหรือยาวเกินไป และควรใส่ keywords ลงไปด้วย เพราะมันมีส่วนช่วยในการจัดอันดับอยู่บ้าง
โดยวิธีการทำงานก็คือเมื่อมีคนค้นหาข้อความบน google ข้อความนี้จะช่วยให้การประมวลผลว่าเว็บไซต์ไหนควรได้แสดงผลบ้างและในอันดับเท่าไร การแสดงผล บนหน้าgoogle จะมี 2 แบบคือ
- ถ้า meta description ของเว็บไซต์ประกอบด้วย “ข้อความหลัก” ที่ user ค้นหา กูเกิ้ลจะนำมาแสดงผลเป็น meta description
- ถ้า meta description ไม่มี “ข้อความหลัก” ที่ user ค้นหา กูเกิ้ลก็จะแสดงผลเนื้อหาบางส่วนที่มีอยู่ในเว็บไซต์แทน
และถ้าคุณเขียนเว็บไซต์ด้วย WordPress คุณสามารถตั้งค่า meta description ได้เองด้วย plugin “All In One SEO Pack” ด้วยนะครับ
Meta keywords
หรือก็คือคำหลักที่แต่ละ blog, page หรือ post ใช้บน search engines ซึ่งในปัจจุบัน หลายๆคนคิดว่า search engines ส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับส่วนนี้แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม การใส่ keywords ที่เหมาะสมลงไปสักหน่อย ก็ไม่ได้เสียหายอะไรใช่ไหมละครับ และเหมือนเดิมถ้าคุณเขียนเว็บไซต์ด้วย WordPress คุณสามารถตั้งค่า meta keywords ของแต่ละหน้าได้เองด้วย plugin “All In One SEO Pack” ได้ครับ
Meta tags
ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ meta description และ meta keywords ซึ่งจะอยู่ในส่วน HEAD ของ HTML การใส่ meta tags นี้ไม่ได้ใส่เพื่อ user แต่เป็นการใส่เพื่อหวังผลจาก search engines เพื่อช่วยให้เครื่องมือค้นหาเหล่านั้นเข้าใจว่าหน้าเว็บไซต์ของเรานั้นเกี่ยวกับอะไรบ้าง อย่าลืมใส่กันด้วยนะครับ
Natural links
หมายถึง links ทั้งหมดที่ส่งเข้ามาที่เว็บไซต์ของคุณโดยธรรมชาติ โดยที่คุณไม่ได้สร้างมันขึ้นมายกตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณเขียนบทความหรือโพสต์สิ่งที่ดีหรือเป็นที่สนใจของคนมากๆ มักจะมีคนแชร์หรือส่งลิงค์มาที่เว็บของคุณ เราเรียก links เหล่านั้นว่า natural links
Nofollow
เป็นทางเลือกในการสร้าง link แบบหนึ่ง โดยทั่วไปในการสร้าง link พวกมันมักจะถูกตั้งค่าเป็น follow link เพื่อให้ search engine ติดตาม link ไปดูว่ามาจากที่ไหนและทำให้เว็บไซต์นั้นได้รับคะแนนไปด้วย แต่หากเราเลือกเป็น nofollow จะเป็นการบอกกับ search engines ว่าไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องตาม link นี้ไป การสร้าง nofollow link ก็แค่เพิ่ม extra attribute เข้าไปใน HTML link แบบนี้ครับ rel=”nofollow”
ยกตัวอย่างเช่น <a href=”http://wikipedia.org/” rel=”nofollow”>Wikipedia
Off-page SEO
ส่วนประกอบของการทำ SEO มี 2 อย่างคือ “on-page” และ “off-page” ในส่วนของ off-page คือการกระทำทุกขั้นตอนที่คุณทำนอกเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้อันดับดีขึ้น หรือที่เรารู้กันหลักๆเลยก็คือการสร้าง link นั่นแหละครับ
On-page SEO
ส่วน On-page ก็คือทุกขั้นตอนที่คุณทำบนเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้อันดับดีขึ้น เช่น การปรับแต่งโครงสร้าง HTML, tags, description ต่างๆเพื่อให้เว็บของคุณโหลดได้เร็วขึ้น การเช็ค keywords density การปรับแต่งโครงสร้างของ links ภายในเว็บไซต์ เป็นต้น
Organic search
การค้นหาแบบ organic หมายถึงเวลาที่คุณไปที่ google และใส่คำหรือวลีที่ต้องการค้นหา และกดปุ่ม search
Organic search results (natural search results)
เมื่อคุณค้นหาใน google จะพบว่าผลการค้นหาที่แสดง จะมี 2 ตำแหน่ง คือผลที่แสดงทางซ้าย และทางขวา ส่วนของผลที่แสดงทางซ้ายมือของคุณคือผลการค้นหาแบบ organic ซึ่งเป็นผลที่เราทุกคนมุ่งหวังให้ user ค้นเจอเรานั่นเอง (ใช่แล้ว เราทำ SEO เพื่ออยากให้เว็บแสดงผลตรงนี้แหละ) ส่วนผลที่แสดงทางขวาเรียกว่า paid results ซึ่งมาจากการจ่ายเงินให้ google หรือเรียกว่า AdWords ads นั่นเอง
PageRank
หรือเรียกสั้นๆว่า PR เป็นอัลกอลิทึ่มที่สร้างโดย Larry Page (1 ใน 2 ผู้ที่ก่อตั้ง google) เพื่อคำนวนความสำคัญของเว็บไซต์ (หรือเรียกว่าการประมาณจะดีกว่า) ไม่มีใครรู้แน่นอน 100% ว่าเจ้า PR นี้ทำงานอย่างไรหรือคำนวนอย่างไร เพราะว่า google ไม่ค่อยเปิดเผยเรื่องนี้สักเท่าไร
อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่เป็นที่เชื่อถือกันทุกวันนี้ คือการมีส่วนที่คำนวนมาจากจำนวของ backlinks ที่เว็บไซต์ได้รับ และค่า PR ของเว็บไซต์ที่ link มาหา ดังนั้นยิ่งคุณมี link มากเท่าไรและเพจที่ส่งlink มาให้คุณมี PR สูงๆ คุณก็จะได้รับค่า PR ที่ดีขึ้นไปด้วยจึงไม่น่าแปลกใจที่เพจที่มีค่า PR ยิ่งสูง ส่วนมากจะเป็นที่นิยมและรู้จัก เช่น google.com มีค่า PR 10 ส่วน facebook และ yahoo ก็มีค่า PR 9 เช่นกัน
txt
เป็นชื่อไฟล์อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อ SEO เพราะเป็นการบอกกับ search engines ว่าตรงไหนในเว็บไซต์เป็นพื้นที่จำกัดสำหรับพวกเขา อาจฟังดูแปลกๆแต่ที่จริงแล้วสำคัญมากนะครับ ประโยชน์ของมันก็เช่น คุณสามารถยกเว้นหน้า admin ออกจากการถูก index ได้ (เช่นส่วนของ wp-admin สำหรับ WordPress blog) และคุณยังสามารถป้องกันไม่ให้ search engines เห็น content ซ้ำๆในเว็บไซต์ได้ด้วย
Sandbox, supplemental index
เชื่อกันว่า google มี second index ที่เรียกว่า sandbox (supplement index) หรือที่คุณอาจเคยได้ยินเรื่องหลุมทรายของ google มาก่อนเพราะว่าเว็บไซต์ที่เกิดใหม่ไม่ใช่ว่าจะได้ไปขึ้นอยู่หน้า main index เสมอไป บางเว็บจะถูกใส่อยู่ใน sandbox รอจนเวลาที่ใช่ที่ google จะให้เว็บไซต์นั้นๆ ไปแสดงอยู่ที่หน้า main index ซึ่งหมายความว่าเว็บไซต์ที่กำลังอยู่ใน sandbox จะไม่ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นตอนนี้และไม่รู้ว่าจะอยู่ อย่างนั้นนานเท่าไรด้วย เพราะ google มองว่าเว็บใหม่บางเว็บดูคล้ายสแปม
ถ้าคุณไม่อยากให้เว็บไปอยู่ในหลุมทรายนี้ ควรทำเว็บให้ดูเป็นธรรมชาติ มีบทความที่ดี ไม่ใช่ไปก๊อบบี้เค้ามา และก็ไม่ควรเร่งรีบทำ link หรืออะไรๆเร็วเกินไปครับ
Search engine
หรือเครื่องมือค้นหาเป็น software application ทำหน้าที่หลักคือค้นหาคำหรือวลีที่ user ใส่เข้าไป โดยอาศัย Algorithm เพื่อประมวลผลว่าเว็บไซต์ไหนควรขึ้นมาแสดงผลในอันดับเท่าไรบ้างและ algorithm นั้นไม่เป็นที่เปิดเผยซะด้วย และ search engine ที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่นิยมสุดก็คือ google นั่นเอง
SEM
ย่อมาจาก Search Engine Marketing หรือการทำการตลาดผ่านทางเครื่องมือค้นหา ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์หรือทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ขึ้นไปอยู่ในอันดับต้นๆของ search engine ซึ่งจะได้ผลแบบ organic หรือ 2.จ่ายเงินให้กับ search engine เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับอยู่ในด้านของ “sponsored listings” เรียกว่าการซื้อโฆษณาที่ต้องจ่ายเงินตามที่ถูกคลิก (PPC : paid per click)
Sitemap
Sitemap คือ รายการที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหน้าเพจที่อยู่ในเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งอาจมีรูปแบบเป็นแผนผังหรือเรียกว่าเป็นแผนที่ของเว็บไซต์ หน้าเพจทั้งหมดในเว็บไซต์จะถูกรวบรวมไว้ในรายการนี้ ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถทราบได้ว่ามีหน้าเพจกี่หน้าและหน้าเพจแต่ละหน้ามีเนื้อหาอะไรบ้าง
นอกจากนี้ผู้เข้าชมยังสามารถเข้าถึงหน้าเพจต่าง ๆ ผ่านทางลิงก์ที่เชื่อมโยงไปยังแต่ละหน้าได้อย่างสะดวก หรือเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า Sitemap ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทั่วไปที่เพิ่งเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ สามารถมองภาพรวมของเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณได้อย่างง่ายดายและสะดวกมากขึ้น
SEO
ย่อมาจาก Search Engine Optimization เป็นวิธีการปรับปรุงอันดับเว็บไซต์ใน search engines ให้ดีขึ้น หากคุณจะทำ SEO ควรทำคุ่กันทั้ง on-page และ off-page SEO ขั้นตอนการทำนั้นอาจเปลี่ยนไปได้ทุกวัน อะไรที่เคยทำได้ผลวันนี้อาจจะใช้ไม่ได้พรุ่งนี้ SEO จึงไม่ใช่งานที่ทำครั้งเดียวจบ แต่เป็นงานที่ต้องขยันทำต่อเนื่อง
SERP
ย่อมาจาก Search Engine Results Page ใช้เรียกหน้าการแสดงผลการค้นหาของ keywords ต่างๆบน google หรือ
เครื่องมือค้นหาอื่นๆ
Spider (crawler, bot, robot)
เป็นส่วนหนึ่งของ software ที่ใช้ท่องเว็บไซต์ เพื่อค้นหาและตรวจสอบเว็บไซต์ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเว็บต่างๆ บ้าง และส่งข้อมูลกลับไปที่ google หรือเครื่องมือค้นหาอื่นๆ เพื่อให้ index และจัดอันดับเว็บไซต์ต่างๆ
Supplemental result
หรือที่เรียกว่าผลลัพธ์เสริม คือ URL ที่อยู่ใน google supplemental index (เช่น sandbox) เป็นเหมือนฐานข้อมูลที่สองของ google ที่ถูกมองว่ามีความสำคัญน้อยกว่า หน้าข้อมูลเหล่านี้จะได้มาแสดงผลในหน้าค้นหาหลักก็ต่อเมื่อข้อมูลใน main index มีไม่พอ
Title tag
ทุกๆหน้าจะมี title tag อยู่ ส่วนที่ user สามารถมองเห็น title tag ก็คือตรง title bar บนบราวเซอร์ ตัวอย่างเช่น title tag ในหน้าที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้คือ “คำศัพท์ SEO ไม่รู้ไม่ได้แล้ว“ นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบอกให้ search engines รู้ว่าหน้าไหนเกี่ยวกับอะไรบ้าง คุณจึงควรใช้เวลาสักนิดเพื่อเขียนให้แต่ละหน้าในเว็บของคุณมี title tag ที่ดี
URL (URI)
URL หรือ Uniform Resource Locator หรือที่เรียกว่า “ที่อยู่เว็บ” คือข้อความที่ใช้ในการระบุตำแหน่งของทรัพยากรบนอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ หน้าเว็บ ไฟล์ หรือทรัพยากรอื่น ๆ เช่น โปรโตคอล เว็บไซต์ พาธ และข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรนั้นได้ง่ายและถูกต้อง เรียกง่าย ๆ ว่า คือ address เฉพาะของแต่ละ web page นั่นเอง
Voice Search
หมายถึงการค้นหาข้อมูลบนเว็บโดยใช้เสียงพูดแทนการพิมพ์ข้อความ เช่น การใช้เจ้าหน้าที่เสมือนอย่าง Siri หรือ Google Assistant เพื่อถามคำถามหรือค้นหาข้อมูลที่ต้องการ บนอุปกรณ์เช่นสมาร์ทโฟน อุปกรณ์เสียงเช่นทีวีที่รองรับการควบคุมด้วยเสียง หรืออุปกรณ์เสียงอื่น ๆ ซึ่งเทคโนโลยี Voice Search ใช้การรู้จำและเข้าใจเสียงพูด ทำให้เครื่องมือหรือแอปพลิเคชันสามารถแปลงเสียงพูดเป็นข้อความและทำการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ บทความ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำถามหรือคำสั่งที่ใช้พูดออกมา
การใช้งาน Voice Search มีประโยชน์ในเรื่องของความสะดวกสบาย และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพิมพ์ นอกจากนี้ยังช่วยผู้ใช้งานที่มีความจำกัดในการใช้งานคีย์บอร์ดเนื่องจากสามารถใช้เสียงพูดได้ง่ายกว่าการพิมพ์ โดยคุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับ Voice Search ได้เพิ่มเติมที่นี่
White hat SEO
ตรงข้ามกับ black hat SEO เลยละครับ สำหรับ White hat SEO เป็นขั้นตอนการทำ SEO ที่ search engines แนะนำให้คุณทำได้ แน่นอนว่ามันไม่มีอะไรอ้างอิงอย่างเป็นทางการสำหรับการทำ SEO ดังนั้นคุณจึงต้องฝึกฝน หมั่นหาข้อมูล และอ่าน SEO blogs ต่างๆ อยู่เสมอ และลองดูข้อมูล in-house google อย่างเช่น Official Google Blog บ้าง
XML sitemap
เป็นไฟล์ประเภทหนึ่ง (มักจะใช้ชื่อ sitemap.xml) มีหน้าที่คือทำให้ search engines รู้แผนผังเว็บไซต์ของแต่ละ URL ที่อยู่ในเว็บของคุณ เพื่อช่วยให้เว็บถูกเก็บ index ได้รวดเร็วขึ้น (ถ้าคุณใช้ WordPress จะมี plugin ชื่อ Google XML Sitemaps ช่วยให้สะดวกขึ้น)
Zero-Click Search
มีความหมายถึงผลลัพธ์ใด ๆ ก็ตามที่ Google แสดงให้คุณเห็นโดยไม่ส่งคุณไปยังเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น หากคุณค้นหาอายุของคนดังที่คุณชื่นชอบ Google จะแสดงคำตอบให้คุณ โดยที่คุณไม่ต้องคลิกเว็บไซต์ใดเลย แต่จะปรากฏอยู่บนหน้าการค้นหาแบบทันที
พร้อมหรือยังกับการนำ “คำศัพท์ SEO” เพื่อใช้ในการสื่อสาร
อย่างที่เรารู้กันว่าการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับการทำ SEO มีมากมายหลายอย่าง ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่แต่เป็นคำที่มีความเฉพาะ เป็นศัพท์เทคนิคที่มีรายละเอียดมากมาย โดยการที่คุณได้เรียนรู้คำศัพท์ดังกล่าวจะช่วยให้คุณสามารถสื่อสารได้เข้าใจตรงกันมากยิ่งขึ้น หากคุณจำเป็นที่จะต้องติดต่อกับนักทำ SEO หรือนักพัฒนาเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณ คำเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากเพื่่อให้คุณได้ศึกษาและเรียนรู้ในอนาคต
โดยทั้งหมดนี้ คือเยกตัวอย่างคำศัพท์ง่าย ๆ ที่คุณสามารถพบเจอได้ทั่วไป ซึ่งคำศัพท์แต่ล่ะคำจะพูดถึงอะไรบ้างในเชิงลึกนั้น ก็ต้องฝากติดตามกันในตอนต่อไป หากคุณถูกใจบทความของเราคุณสามารถกดติดตาม bookmark ของเว็บไซต์ Thaitop ไว้เพื่อไม่พลาดความรู้ดี ๆ สำหรับการทำ SEO แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้าครับ