Google Data Studio คือ เครื่องมือฟรีที่มีมานานแล้ว โดยมีหน้าที่เพื่อใช้ในการแสดงผลข้อมูล ในรูปแบบของรูปภาพเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจมากขึ้น โดยจะใช้ในการค้นหาข้อมูลเชิงลึกได้ จนมาถึงปัจจุบันได้ถูกรวมเข้ากับ Looker จนถูกเรียกว่า Looker Studio จนกลายเป็นอีกแรงสำคัญในการวิเคราะห์ถึงปัญหาทางธุรกิจออนไลน์
โดย Looker Studio สามารถเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลที่ได้รับอนุญาต เป็นแหล่งข้อมูลบุคคลที่สาม ยกตัวอย่างเช่น Google Ads, Facebook Ads หรือ Tableau เป็นต้น และโดยเฉพาะสำหรับการทำ SEO แล้ว การเชื่อมต่อกับ Google Analytics จะยังช่วยให้คุณมีโอกาสมากขึ้นในการที่จะพัฒนาปรับปรุง ในเรื่องของการจัดอันดับการค้นหา การเข้าชมเว็บไซต์ หรือแม้แต่การเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับเว็บไซต์คุณ
5 ทริคในการใช้ Google Data Studio ช่วยในการทำ SEO
เมื่อคุณเชื่อมระหว่าง Google DataStudio กับเครื่องมือการทำ SEO เช่น Google Analytics หรือ Search Console แล้ว มันก็จะทำให้คุณจะสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพทั่วไปของเว็บไซต์คุณเองได้เลย และยังสามารถตรวจสอบเป้าหมายของคุณได้อีกด้วย
โดยการใช้ส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบแหล่งที่มาของการเข้าชมเว็บไซต์คุณ เพื่อดูว่าผลลัพธ์การเข้าชมเว็บไซต์ของคุณมันดีหรือไม่ ดังนั้นจึงมีอีก 5 เทคนิคง่าย ๆ ในการที่คุณจะได้รู้ว่า Google DataStudio สามารถมาช่วยในเรื่องการทำ SEO ของคุณได้อย่างไร
1. การใช้วิเคราะห์ข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ (Analyze organic traffic)
เนื่องจาก Google DataStudio มีการเชื่อมต่อกับหลากหลายเครื่องมือจึงทำให้ให้มีวิธีที่วิเคราะห์ข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณได้หลากหลายวิธีเช่นกัน แต่วิธีที่ดีที่สุดในการคือการเชื่อมต่อกับเครื่องมือ Google Analytics ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.1 ให้คุณลงชื่อเข้าใช้ Data Studio ของคุณ ผ่านทาง https://datastudio.google.com/ แล้วคลิกที่คำว่า “สร้าง หรือ Create”
1.2 จากนั้นให้คุณคลิกที่ “แหล่งข้อมูล หรือ Data source”
1.3 เลือกที่เครื่องมือ “Google Analytics” ที่แสดงอยู่ในลิสต์ Data Source
ขอบคุณภาพจาก www.wordstream.com
1.4 หากคุณตั้งค่า property parameters แล้ว คุณสามารถป้อน property parameters เพื่อที่จะนำภาพ วิดีโอ หรือ URL เข้าอัตโนมัติ
1.5 จากนั้นให้คุณทำการกำหนดข้อมูลของคุณให้แคบลงด้วยตัวกรองวันที่ และยังสามารถกรองข้อมูลของคุณตามช่องทางหน้าเว็บไซต์ ประเภทอุปกรณ์ ประเทศ ได้อีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก www.wordstream.com
สิ่งที่คุณควรติดตามและให้ความสนใจอยู่เสมอ
– การติดตามผลโดยการคลิกและกด CTR
เป็นการเชื่อมต่อกับเครื่องมือ Google Search Console เพื่อตรวจสอบการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ของคุณตามช่วงเวลาที่กำหนดได้เพียงแค่คลิกและกดที่แท็บ CTR โดยผลจะแสดงออกมาเป็นกราฟแผนภูมิที่แม่นยำ จากนั้นคุณก็จะสามารถระบุหรือกำหนดวันที่ต้องการให้แสดงผลได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเปลี่ยนการแสดงผลจากรายวันเป็นรายสัปดาห์ หรือจากสัปดาห์ให้กลายเป็นเดือนได้เลย
ขอบคุณภาพจาก www.wordstream.com
– การติดตามผลแบบเฉพาะหน้าเพจ
เป็นการใช้ตัวเลือกในการเลือกหน้าเพจเพื่อที่จะตรวจสอบการเข้าชมเฉพาะหน้าเว็บนั้น ๆ หรือเป็นการตรวจสอบเพียงบางส่วนของเว็บไซต์คุณ โดยการแสดงผลจะออกมาในรูปแบบของตารางเพื่อให้เปรียบเทียบผลของแต่ละหน้าเว็บเพจที่มีความแตกต่างกัน
– การติดตามประสิทธิภาพของคีย์เวิร์ด
โดยคุณสามารถเชื่อมต่อระหว่าง Google DataStudio กับ Google Analytics หรือ Search Console เพื่อติดตามประสิทธิภาพของคีย์เวิร์ดของเว็บไซต์คุณได้ โดยถ้าหากคุณพบว่าคีย์เวิร์ดของคุณมีประสิทธิภาพต่ำ คุณจึงควรรีบแก้ไขปัญหานี้โดยใช้เครื่องมือที่จะช่วยหาคีย์เวิร์ดที่ตรงตามเป้าหมายคุณทันที
2. การใช้ตรวจสอบข้อมูลการค้นหาไซต์ (Monitor site search data)
สามารถใช้เพื่อตรวจสอบคำค้นหาที่ผู้เข้าชมได้ใช้ในการเลือกหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อที่จะช่วยคุณปรับปรุงเนื้อหาของเว็บไซต์ที่อาจยังมีปัญหาในเรื่องของคำค้นหาอยู่ จึงขอแนะนำให้คุณเพิ่มวิดเจ็ตใน Google Analytics โดยบทความ Analytics Mania นี้จะเป็นการอธิบายถึงวิธีการตั้งค่าข้อมูลเชิงลึกในเรื่องของการค้นหาไซต์ใน Google Analytics 4 (GA4) และยังอธิบายถึงวิธีการเชื่อมต่อกับ Google Data Studio
ขอบคุณภาพจาก www.wordstream.com
3. การใช้ติดตามผลความสำเร็จของเป้าหมาย (Track goal completions)
คุณสามารถใช้ในการแสดงผลความสำเร็จของเป้าหมายคุณได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องสลับไปมาระหว่างหน้าเพจหลายหน้าให้เกิดความยุ่งยาก แต่แค่เพียงคุณรวบรวมผลทั้งหมดด้วย Google Analytics คุณก็จะสามารถเห็นทั้งหมดได้จากแดชบอร์ด Data Studio และเพื่อแก้ไขในส่วนที่อาจเกิดข้อผิดพลาด จึงมีวิธีการเพิ่มเติมดังนี้
3.1 ให้คุณคลิกแท็บ Add Chart บน Google Analytics และเลือก Scorecard
ขอบคุณภาพจาก www.wordstream.com
3.2 จากนั้นเลือกตัวชี้วัดและเพิ่มเป้าหมายของคุณเข้าไป เช่นหากคุณต้องการที่จะเลือกเป้าหมายสำหรับอัตราที่จะโดนตีกลับใน Google Analytics ดังนั้น คุณควรพิมพ์เป้าหมายไปว่า ‘การลดอัตราการตีกลับให้ต่ำกว่า30%’ (และที่ต้องใส่ 30% เติมเข้าไปด้วยนั้นเป็นเพราะการเปรียบเทียบเป้าหมายจะวัดค่าออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์โดยจะต้องหารด้วยอัตราปัจจุบัน)
ขอบคุณภาพจาก www.wordstream.com
3.3 ต่อมาคุณสามารถตั้งค่าเพื่อให้การแสดงผลจากเปอร์เซ็นต์เป็นภาพแผนภูมิ แค่นี้คุณก็จะสามารถมองเห็นว่าคุณนั้นเสี่ยงกับอัตราการตีกลับมากแค่ไหน
4. การใช้ตรวจสอบแหล่งที่มาของการเข้าชมเว็บไซต์ (Investigate traffic sources)
คุณสามารถใช้ในการตรวจสอบแหล่งที่มาของการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณได้อย่างง่ายดายมาก เพื่อที่จะได้รู้ว่าแหล่งที่มาอันไหนที่จะพาให้เว็บไซต์ของคุณสำเร็จเป้าหมายได้ เพื่อในที่สุดก็จะทำให้คุณจะพบโอกาสในการสร้างแผนการตลาดแบบหลายช่องทางที่มั่นคงได้มากขึ้น
ขอบคุณภาพจาก www.wordstream.com
โดยแดชบอร์ดของคุณอาจสามารถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบการเข้าชมประเภทใดก็ได้เลยก็จริง แต่ในขณะเดียวกันถ้าคุณใช้ Google DataStudio เชื่อมต่อกับเครื่องมือ Google Analytics ก็จะสามารถรวบรวมแพลตฟอร์มส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมไว้ในที่เดียวได้เลย
วิธีการติดตามการเข้าชมจากโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย
- คุณจะต้องเชื่อมต่อกับ Google Analytics ของคุณ และไปยังข้อมูลแผนภูมิ
- เลือกแหล่งข้อมูล เช่น ติดตามโฆษณาจาก Facebook ติดตามโฆษณาจาก YouTube หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่คุณต้องการจะตรวจสอบ
- ต่อจากนั้นคุณต้องเลือกประเภทของแผนภูมิให้ดี เนื่องจากในบางแผนภูมิจะมีประโยชน์มากสำหรับการแสดงผลการเข้าชม
ยกตัวอย่างเช่น กราฟแผนภูมิ Line chart ที่สามารถเปรียบเทียบการเข้าชมตามช่วงวัยของผู้เข้าชมได้
โดยทำให้รู้ว่าคนอายุประมาณเท่าไหร่ที่มีการเข้าชมบ่อยที่สุด - คุณสามารถกรองข้อมูลอย่างละเอียดได้โดยคุณใช้ข้อกำหนด เช่น การกำหนดช่วงเวลาสำหรับตรวจสอบจำนวนผู้เข้าชมตามช่วงเวลานั้น ๆ
เทคนิคเพิ่มเติมในการสำรวจแผนภูมิและการวัดผลค่าตอบแทนของตารางเปรียบเทียบ
เทคนิคนี้จะเป็นการตรวจสอบผลการเปรียบเทียบอัตรากำไรจากการลงทุน (ROI) ในแต่ละช่วงเวลาว่ามีช่วงใดบ้างที่มีแนวโน้มว่ามีความประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัดที่สุด นอกจากนี้การวัดผลค่าตอบแทนที่เป็นการติดตามผลลัพธ์ในการลงทุนยังสามารถช่วยคุณค้นหาช่องทางที่อาจจะทำกำไรได้มากที่สุดได้ด้วย โดยมีเทคนิคง่าย ๆ ดังนี้
- เปิดการตั้งค่าข้อมูลแผนภูมิ
- เลือกประเภทแผนภูมิให้เป็นตารางหรือแผนภูมิแบบเรียงซ้อน
- จากนั้นป้อนค่าโฆษณา การแสดงผล และคลิกเป็นเมตริก
- เลือกช่วงเวลาสำหรับการเปรียบเทียบ
เพียงแค่นี้ก็จะมีการแสดงการนำเข้าข้อมูลที่ต้องการส่งไปยัง Google Analytics
5. การใช้วิเคราะห์การเชื่อมโยงของเว็บไซต์กับลิงก์อื่น (Analyze backlinks)
หากคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับที่สูงขึ้น คุณต้องให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงลิงก์ที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากคุณเชื่อมต่อเครื่องมือ SEO กับ Google DataStudio แล้วคุณก็จะสามารถตรวจสอบแหล่งอ้างอิงหรือลิงก์ที่เชื่อมอยู่กับเว็บไซต์คุณได้โดยสามารถกำหนดได้ว่าลิงก์ใดที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ของคุณมากที่สุด โดยการใช้ Google DataStudio ควบคู่ไปกับเครื่องมือ SEO ทำให้มีเคล็ดลับเพิ่มเติมดังนี้
ขอบคุณภาพจาก www.wordstream.com
การค้นหาแหล่งอ้างอิงที่มีศักยภาพสูง
คุณไม่ควรดูแค่เพียงจำนวณในการเข้าชมจากลิงก์อ้างอิงของคุณเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่คุณควรตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นของการรับส่งข้อมูลด้วย และหากคุณเห็นเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นจากลิงก์อ้างอิงล่าสุด แสดงว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้ลิงก์นั้นในการเข้าถึงและสร้างการเชื่อมโยงลิงก์เพิ่มในเว็บไซต์ของคุณ
การตรวจสอบลิงก์ตามหมวดหมู่
คุณสามารถจัดกลุ่มข้อมูลที่ส่งออกจากตัวตรวจสอบลิงก์ได้โดยการกรองจากแดชบอร์ดของคุณเพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและการอ้างอิงมากขึ้น เช่น คุณอาจยกเว้นการใช้ลิงก์ที่เก่าไปหรือลิงก์ที่อ้างอิงจากโซเชียล เป็นต้น
สรุป การเริ่มใช้ Google Looker Studio สำหรับ SEO
เนื่องจากเป็นการผสานรวมกันระหว่าง Google Data Studio กับ Looker จึงได้ทำให้ ในปัจจุบัน SEO และนักลงทุนการตลาดมีอำนาจมากขึ้นในแดชบอร์อย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงการที่หลากหลายแพลตฟอร์มได้หันมาจับมือร่วมกันมากขึ้น ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าการใช้ Google DataStudio กับ SEO ถือเป็นสิ่งที่ส่งผลดีอย่างมาก และเหมาะอย่างยิ่งหากคุณต้องการค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือใช้เพื่อที่จะนำมาปรับปรุงการเข้าชม การจัดอันดับ และการตรวจสอบประสบการณ์ของผู้ใช้เว็บไซต์ของคุณอีกด้วย