มารู้จักความหมายของ Subdomain แบบง่าย ๆ ที่ทำให้คุณได้เข้าใจว่ามันมีผลอย่างไรต่อการทำ SEO

Picture of THAITOPSEO
THAITOPSEO
มารู้จักความหมายของ Subdomain แบบง่ายๆ ที่ทำให้คุณได้เข้าใจว่ามันมีผลอย่างไรต่อการทำ SEO

คำว่า Subdomain (ซับโดเมน) เชื่อว่ามีบางคนยังไม่ค่อยคุ้นหูกับคำนี้เท่าไหร่นัก ถ้าเป็นคำว่า Domain ก็ว่าไปอย่าง เราเชื่อว่าทุกคนต่างรู้จักกันเป็นอย่างดีกับคำ ๆ นี้ ถ้า Domain คือที่อยู่ของเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนกับที่อยู่ของบริษัท ดังนั้นซับโดเมนก็เปรียบเสมือนบริษัทลูกของบริษัท ที่เปิดขึ้นสำหรับทำธุรกิจเครือย่อยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักโดยเฉพาะ และการเกิดขึ้นของซับโดเมนนี่แหละนำมาสู่คำถามถึงการวัดประสิทธิภาพในการทำ SEO ว่าซับโดเมนนี้มีผลต่อการจัดอันดับคะแนน Domain Authority (DA) หรือไม่ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับซับโดเมนรวมถึงปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับคำ ๆ นี้ให้คุณเข้าใจได้อย่างถ่องแท้

Subdomain คืออะไร

โดเมนย่อย หรือที่เรียกกันว่า Subdomain (ซับโดเมน) เป็นหน้าเพจโดเมนที่แยกออกจากจากเพจโดเมนหลักอีกทีหนึ่ง ซึ่งประโยชน์ของซับโดเมน คือ ช่วยแบ่งหมวดหมู่เนื้อหาในเว็บไซต์ให้ดูเป็นระเบียบให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถอ่านข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งสะดวกกับการเข้ามาอ่านของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ และ สะดวกต่อทีมพัฒนาเว็บไซต์ในการแบ่งทีมการทำงานออกเป็นสองฝั่งอย่างชัดเจน


Subdomain มีผลต่อการทำ SEO อย่างไร

Subdomain มีผลต่อการทำ SEO อย่างไร


ก่อนอื่นเราจะขออธิบายให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บคะแนนค่า Domain Authority (DA) สักเล็กน้อย ว่ามันมีหลักเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ ระบบ MOZ จะมีหลักเกณฑ์การให้คะแนน DA โดยพิจารณาจาก จำนวนการ Backlink หรือพูดแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ การแชร์เว็บไซต์ไปสู่สาธารณะ และ การที่เว็บไซต์ของคุณถูกอ้างอิงในเนื้อหาของเว็บไซต์อื่น, จำนวนครั้งที่เครื่องมือ Search Engine ตรวจสอบคุณภาพหน้าเพจของเว็บไซต์คุณ, อายุของโดเมน ซึ่งคุณสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ Domain Authority ได้


คะแนน DA เกี่ยวข้องยังไงกับการทำ SEO?

เพราะว่าเวลา Google จะทำการจัดอันดับเว็บไซต์ในแต่ละครั้ง บางครั้งจะใช้คะแนน DA ในการอ้างอิงเพื่อพิจารณาอันดับเว็บไซต์ ฉะนั้นถ้าเว็บไซต์ไหนได้คะแนน DA สูง ก็มีแนวโน้มว่า Google จะนำค่า DA นี้มาใช้อ้างอิงเพื่อพิจารณาอันดับเว็บไซต์


แล้วการที่เว็บไซต์มีซับโดเมน ส่งผลยังไงต่อการเก็บคะแนน DA ?

ในการเก็บคะแนน DA ระบบจะพิจารณาเก็บคะแนนแต่ละโดเมนเป็นหลักซึ่งนับคะแนนจะเป็นจำนวนเต็มบวก ฉะนั้นถ้าเว็บไซต์มี โดเมนย่อยระบบจะคิดคะแนนแยกอีกทางหนึ่ง คือจะไม่เอาคะแนนใน Domain หลัก มาคิดรวมกับคะแนนในโดเมนย่อย เพราะระบบเก็บข้อมูลโดยใช้จำนวนเต็มบวก เก็บคะแนนแยกเฉพาะโดเมน ไม่เอามาบวกรวมกัน เพราะระบบถือว่าซับโดเมน เป็นอีกเว็บไซต์หนึ่งไปเลย เท่ากับว่าแทนที่เว็บไซต์ของคุณจะได้ค่าคะแนน DA แบบเต็ม ๆ ก็ต้องถูกแบ่งคะแนนไปให้ซับโดเมนอื่นอีก ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพในการทำ SEO เราขอแนะนำให้คุณใช้ Subdirectory จะดีมากกว่า


ข้อแตกต่างระหว่าง Subdomain และ Subdirectory

ข้อแตกต่างระหว่าง Subdomain และ Subdirectory


หลังจากที่เราได้พาคุณไปรู้จักกับข้อมูลเบื้องต้นของตัวซับโดเมน รวมถึงความเกี่ยวข้องของซับโดเมนในการทำ SEO แล้ว หัวข้อนี้เราจะพาคุณมาแยกความแตกต่างระหว่าง Subdomain กับ Subdirectory กัน ว่าทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร

1. ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน

ซับโดเมนเปรียบเสมือน การสร้างเว็บใหม่ ส่วน Subdirectory เปรียบเสมือนการดึงข้อมูลจากโฟลเดอร์ในระบบมาเปิดในเว็บเดิม ถ้าคุณอยากจำให้ง่ายกว่านั้นโดยไม่ต้องสับสน คุณจำแค่เพียงว่า ซับโดเมนคล้ายกับการสับเว็บไซต์เป็นสองส่วน และ Subdirectory คล้ายกับการค้นหาข้อมูลที่เราต้องการในเว็บไซต์เดิม เพราะ Directory แปลว่า นามานุกรม หรือ รายชื่อที่ถูกเรียงเป็นระเบียบ คล้ายกับแฟ้มข้อมูล

ตัวอย่างความแตกต่างระหว่าง Subdomain กับ Subdirectory

ภาพตัวอย่าง Domain หลัก ของเว็บ Kapook

จากภาพนี้คือตัวอย่าง Domain หลักของเว็บไซต์ข่าวชื่อดังอย่าง Kapook โดยในหน้าเพจหลักจะหมวดหมู่เนื้อหาที่เป็นซับโดเมนอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าลองคลิกที่ “ผลบอลสด” จะได้ดังภาพนี้

ภาพตัวอย่าง Subdomain ของเว็บไซต์ Kapook

เมื่อเข้ามาแล้ว นี้คือตัวอย่างซับโดเมนของเว็บไซต์ข่าว Kapook ที่จะเป็นหมวดหมู่ผลบอลรายวัน โดยความแตกต่างของ Domain หลักและซับโดเมนเลยคือ การแบ่งโดเมนที่ชัดเจน สังเกตได้ที่ URL ของเว็บไซต์ว่า Domain หลักของเว็บไซต์ Kapook คือ https://www.kapook.com/ ต่อเมื่อกดเข้าหมวดหมู่ที่เป็นซับโดเมน URL จะเป็น https://football.kapook.com/ เรียกได้ว่าความแตกต่างของ Domain หลัก และซับโดเมน คือการเพิ่มขึ้นมาข้างหน้าของโดเมนนั้น ๆ



ต่อไปลองไปรู้จักกับ Subdirectory กันต่อเลยดีกว่า

Domain หลักของ THAITOPSEO

นี้คือภาพตัวอย่าง Domain หลักของเว็บไซต์ THAITOPSEO ที่เป็นหน้าหลักในการเข้าหมวดหมู่ต่าง ๆ ของเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น ผลงาน, ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท, บทความ หรือช่องทางการติดต่อ


Subdirectory ของ THAITOPSEO

และภาพนี้คือตัวอย่าง Subdirectory ของ THAITOPSEO ในส่วนของบริการยิงแอดโฆษณา Google Ads ซึ่ง Subdirectory จะเปิดหน้าขึ้นมาทับหน้าเพจโดเมนหลัก ไม่ได้แบ่งและเปิดเป็นหน้าเว็บใหม่ สังเกตได้ง่าย ๆ Subdirectory จะยังคงโดเมนเดิมไว้ และเพิ่มเติมส่วนท้ายแทนเท่านั้น


2. การสร้างเว็บไซต์และการรักษาความปลอดภัย

ซับโดเมนมีการสร้างเว็บไซต์ที่ไม่ยุ่งยากเท่า Subdirectory เพราะทีมสร้างสามารถแบ่งงานการทำได้เสมือนการสร้างสองเว็บไซต์แล้วนำมาเชื่อมโยงกัน ส่วน Subdirectory จะมีการสร้างเว็บไซต์ที่ยุ่งยากกว่า มีความซับซ้อนในการสร้างมากกว่าซับโดเมน เพราะการเขียนโค้ดดึงข้อมูลไปมาในระบบซึ่งมันยุ่งยากกว่ามาก ส่วนในเรื่องของความปลอดภัย Subdirectory มีความปลอดภัยมากกว่า ซึ่ง Subdirectory จะเหมาะกับเว็บไซต์ของบริษัทที่เป็นมหาชน หรือ เว็บไซต์ที่มีนโยบายการรักษาความปลอดภัยที่สูง เพราะเว็บไซต์เหล่านี้จำเป็นต้องปกป้องข้อมูลภายในไม่ให้โดนผู้ไม่หวังดีแฮกเจาะระบบมาแก้ไขข้อมูล และในทางกลับกันนั่นเอง กรณีที่เว็บไซต์เกิดปัญหา Subdirectory ก็มีการแก้ไขระบบซึ่งยากกว่า และ ใช้เวลามากกว่าซับโดเมนนั่นเอง

3. ประสิทธิภาพของเว็บไซต์

ตามหลักการ Core Web Vitals มองว่าเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ ตามแบบฉบับที่อัลกอริทึ่มของ Google ต้องการ คือ เว็บนั้นควรมีความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไม่เกิน 2.5 วินาที ซึ่งตัวซับโดเมนนั้นมีความเร็วในการดาวน์โหลดที่รวดเร็วกว่า Subdirectory เพราะหน้าเพจที่ถูกเปิดขึ้นมาใหม่ไม่ได้ผูกติดกับเซิร์ฟเวอร์หลัก ส่วน Subdirectory จะมีการดาวน์โหลดที่ช้ากว่าซับโดเมน เพราะหน้าเพจถูกเชื่อมโยงกับเซิร์ฟเวอร์หลัก ทำให้ต้องใช้เวลาในการค้นหาและดาวน์โหลดเนื้อหามาเพื่อแสดงผล

4.การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดอันดับ

การเก็บข้อมูลเพื่อจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google ตัวซับโดเมนจะเก็บข้อมูลได้ยากกว่า Subdirectory เพราะซับโดเมน เสมือนการสร้างเว็บไซต์ใหม่ที่ไม่ได้รวมข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์เดิม ซึ่งบางครั้งผู้เข้าชมเว็บไซต์อาจจะใช้เวลามีปฏิสัมพันธ์กับ กับซับโดเมนมากกว่า ทำให้เว็บไซต์หลักเสียคะแนนการมีส่วนร่วมของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ไปได้เลย

ตางรางสรุปข้อแตกต่างระหว่าง Subdomain และ Subdirectory

ตางรางสรุปข้อแตกต่างระหว่าง Subdomain และ Subdirectory

แล้วตกลงควรเลือก Subdomain หรือ Subdirectory ดีล่ะ ?

ไม่ว่าจะเป็นซับโดเมน หรือ Subdirectory ทั้งหมดต่างมีข้อดีและข้อจำกัดแต่ละแบบ เราแนะนำให้คุณลองชั่งน้ำหนักตามปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณ ว่ารูปแบบข้อมูลเหมาะกับซับโดเมน หรือ Subdirectory ซึ่งข้อมูลที่เหมาะกับซับโดเมน คือข้อมูลปลีกย่อยที่มีเนื้อหาเยอะ หรือ เนื้อหาในข้อมูลเป็นเนื้อหาเชิงเทคนิคที่จำเป็นต้องต้องให้ผู้เยี่ยมชมสามารถกดเข้าร่วมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ เช่น กราฟ, แบบฟอร์มกรอกข้อมูล,ตารางรวบรวมไฟล์เอกสาร เป็นต้น

  2. พิจารณาศักยภาพทีมผู้สร้างเว็บไซต์ ว่าพวกเขาสามารถสร้างเว็บไซต์ที่ตอบสนองเนื้อหาตามที่คุณได้วางแผนไว้หรือเปล่า เพราะการสร้างเว็บไซต์ก็เหมือนกับการทำธุรกิจระยะยาวที่จำเป็นต้องการพัฒนาและอัพเดตอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่เว็บไซต์คุณเกิดปัญหาคุณก็สามารถปรึกษาทีมผู้สร้างเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว


สรุป การทำความเข้าใจกับ Subdomain ที่ส่งผลยังไงต่อการทำ SEO

ซับโดเมน คือ โดเมนย่อยที่แยกออกมาจากโดเมนหลักอีกเว็บหนึ่ง เสมือนเป็นการสร้างเว็บสองเว็บเพื่อให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ สามารถสะดวกต่อการเข้าไปอ่าน ซึ่งซับโดเมนมีผลต่อการทำ SEO ในแง่ของการเก็บคะแนนค่า DA ของระบบ MOZ เพราะระบบจะเก็บคะแนนแยกเป็นเว็บไซต์ ไม่นำมารวมกัน ทำเว็บไซต์ของเราแทนที่จะได้คะแนนค่า DA เต็ม ๆ จำต้องถูกแบ่งคะแนนไปให้อีกเว็บไซต์หนึ่ง ฉะนั้นเราขอแนะนำให้คุณทำ Subdirectory ดีกว่า เพราะมันทำให้คุณได้คะแนน DA มากกว่า แต่คุณในฐานะผู้ที่สนใจศึกษาการทำบทความ SEO สามารถเลือกได้ว่าจะทำเว็บไซต์แบบซับโดเมน หรือ Subdirectory โดยพิจารณาจากเนื้อหาบทความ SEO และ ทีมสร้างเว็บไซต์ของคุณ เป็นหลัก

Search
Categories