Keyword Cannibalization ปัญหาภายในที่กัดกินการทำ SEO

Picture of THAITOPSEO
THAITOPSEO
keyword cannibalization1

นักการตลาดทั่วไปที่หันมาสนใจเรื่องการทำเว็บไซต์ต้องรู้จักเกี่ยวกับ SEO ในระดับหนึ่งแล้วอย่างแน่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ On Page, Off Page, Keyword , URL ของหน้าเว็บเพจหรือเว็บไซต์ และการเขียน Content ที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าชม สิ่งเหล่านี้ล้วนทำขึ้นเพื่อให้ระบบ Search Engine อย่าง Google ค้นหาเจอและจัดอันดับหน้าเว็บไซต์เราให้ขึ้นบนยอดการค้นหา (SERP) และแน่นอนในการทำเว็บไซต์สักเว็บหนึ่งขึ้นมาต้องพึ่งการทำ SEO ที่มาคอยช่วยผลักดันและเนื้อหาภายในเว็บไซต์ต้องมี Keyword คอยกำกับว่าแต่ละหน้าเว็บว่าเกี่ยวข้องกับอะไร แต่ถ้าหากในหนึ่งเว็บไซต์มีหลายหน้าเว็บเพจที่ใช้ Keyword ตัวเดียวกันซ้ำหลายหน้าละจะเป็นยังไง? ไหน ๆ เล่ามาถึงจุดนี้แล้วก็จะพูดถึงเรื่อง Keyword Cannibalization กันไปเลย เพราะมันเกี่ยวข้องกับการใช้ Keyword ตัวเดียวกันซ้ำในหลายหน้าเว็บเพจ และบทความนี้จะพาไปดูว่ามันคืออะไร แล้วทำไมผู้ที่ทำ SEO ถึงต้องรู้จักกับมัน

Contents hide

Keyword Cannibalization คืออะไร

Keyword Cannibalization ให้แปลตรงตัวเลยคือการกัดกินคำ Keyword กันเองในหลักการทำ SEO ที่ผู้ทำต้องระบุ Keyword ลงในบทความหรือหน้าเว็บเพจ เพื่อให้ Search Engine หาเจอนั้น เป็นหลักการพื้นฐานของ SEO อยู่แล้ว แต่หากมีการใช้ Keyword ตัวเดียวกันซ้ำกันในหลายหน้าเว็บเพจจะทำให้เกิดปัญหานี้ ซึ่งมันคือการที่หลายหน้าเว็บเพจใช้ Keyword เดียวกันซ้ำกันหลายหน้าเว็บเพจ จนระบบการค้นหาอย่าง Search Engine สับสนว่าควรจะเลือกอันไหนดี ยกตัวอย่างเช่น

เว็บไซต์คุณทำเกี่ยวกับ “หนังสือ” แล้วในแต่ละหน้าเว็บเพจของเว็บไซต์คุณดันใช้ Keyword ว่า “หนังสือ” แบบเดียวกันหมดทุกหน้าเว็บเพจ เวลามีคนมาทำการค้นหาเกี่ยวกับคำว่า “หนังสือ” แทนที่หน้าแสดงผลลัพธ์ (SERP) จะขึ้นหน้าเว็บคุณเป็นหลายรายการแบบที่คุณหวังไว้ จะถูกปัดตกเหลือเพียงรายการเดียว เพราะ Google จะต้องทำการเลือกเพียง Keyword เดียวที่เนื้อหาภายในเว็บดูมีความสำคัญและเป็นประโยชน์จากหลายหน้าเว็บเพจบนเว็บไซต์ นี้แหละครับที่เรียกว่าปัญหา

และแน่นอนว่าปัญหานี้มักเกิดกับคนทำ SEO ทั้งหลายแบบไม่รู้ตัวเพราะมักคิดว่าการใส่ Keyword ให้ชัดเจนเพียงตัวเดียวกันในหลายหน้าเว็บเพจจะทำให้หน้าเว็บไซต์คุณขึ้นอยู่บนยอดการค้นหา (SERP) ได้หลายรายการอย่างแน่นอน แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะระบบ Search Engine อย่าง Google มีระบบคัดกรองหน้าเว็บเพจต่าง ๆ ที่มี Keyword ตัวเดียวกันในเว็บไซต์ของคุณให้เหลือเพียงอันเดียวที่สำคัญไปแสดงบนการค้นหา เรียกได้ว่าปัญหานี้นอกจากจะทำให้ต้องแข่งขันกับเว็บไซต์อื่นแล้ว ยังต้องมานั่งแข่งขันกันเองในเว็บไซต์ตัวเองอีก

ทำไมถึงไม่ควรทำ Keyword Cannibalization และผลเสียที่ตามมา

ตัวอย่าง book



ขึ้นต้นด้วยคำว่า ปัญหา ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงและไม่ทำอยู่แล้ว ปัญหา Keyword Cannibalization ทำให้นักการตลาดที่ทำ SEO จำนวนมากประสบปัญหานี้แบบไม่รู้ตัว บางคนมองว่าทำตามหลักการ SEO ได้ดีแล้ว มีการใส่ Keyword ตัวเดียวกันที่ชัดเจนแล้วในหลายหน้าเว็บเพจของเว็บไซต์ จนพึงพอใจที่เว็บไซต์ของคุณได้ขึ้นยอดการค้นหาที่ลำดับ 5-6 แต่ไม่ได้คิดถึงในจุดที่ว่าเว็บไซต์คุณอาจกำลังประสบปัญหานี้เลยก็ได้ และแน่นอนเมื่อรู้ตัวจะพบว่าสายไปแล้วเพราะกว่าจะทำการตรวจสอบก็ต้องเรียกได้ว่ารื้อทั้งเว็บไซต์เพื่อหาต้นตอ มาลองดูกันเลยว่าทำไมถึงไม่แนะนำให้ใช้ Keyword เดียวกันซ้ำหลายหน้าและผลเสียที่จะเกิดขึ้น

1. หน้าเว็บเพจมีสิทธิ์ในการแข่งขันที่น้อยลง

แรกเริ่มเดิมทีหน้าเว็บเพจหน้าหนึ่ง ควรจะมี Keyword เพียงตัวเดียว เพื่อใช้ในการแสดงว่าเป็นอะไร แต่ถ้าหากหลายหน้าเว็บเพจในเว็บไซต์คุณ ดันมี Keyword ที่เหมือนกันหมดละ ระบบแสดงการค้นหาของ Search Engine อย่าง Google จะเกิดความสับสน และจำเป็นต้องเลือกจากหลายหน้าเว็บเพจให้มาแสดงได้เพียงแค่อันเดียว และหน้าเว็บเพจอื่นถูกปัดตกลงไป ผลที่เกิดขึ้นคือหน้าเว็บเพจที่ถูกปัดตกจากการค้นหา จะไม่มีพลังมากพอที่ไปแข่งขันใน Keyword นั้น ๆ เพราะจะถูกอีกหน้าเว็บเพจที่ได้รับเลือกแย่งสิทธิ์ไปเรียบร้อยแล้ว เรียกได้ว่านอกจากจะถูกปัดตกแล้ว พลังในแข่งขันกับเว็บอื่นก็น้อยลงไปด้วย

2. คุณกำลังทำให้ Anchor Text และลิงค์ในเว็บเพจของคุณไม่มีผล

Anchor Text ทำหน้าที่เป็นข้อความที่ฝังลิงก์ไปยังเว็บต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่มี Keyword เดียวกันในหลายหน้าเว็บเพจอาจจะเกิดผลเสียระหว่าง Backlink และ Internal link กันเอง ทำให้น้ำหนักของการโฟกัสของลิงก์ที่เข้ายังแต่ละหน้าเว็บต้องกระจายไปให้หน้าเว็บเพจอื่น ๆ ที่ใช้ Keyword คำเดียวกัน

ยกตัวอย่าง หากคุณใช้ Keyword ว่า “ห้องสมุด” และเว็บไซต์คุณมีหลายหน้าเว็บเพจที่ใช้ Keyword เดียวกัน เมื่อมีการใช้งาน Backlink มายังเว็บคุณโดยคำที่เกี่ยวข้องกับ Keyword นี้ แทนที่หน้าเว็บเพจนั้นจะได้น้ำหนักความน่าเชื่อถือจากการเข้าถึงเพียงหน้าเดียว กลับกลายเป็นต้องแบ่งไปให้หน้าเว็บเพจอื่น ๆ ที่ใช้ Keyword เดียวกันอีก

3. Google อาจลดคะแนนหน้าเว็บเพจคุณได้

หลักการทำงานของระบบค้นหา Search Engine อย่าง Google คือเข้าใจว่าแต่ละหน้าเว็บเพจนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร โดยการอ่าน Keyword ดังนั้นการที่หลายหน้าเว็บเพจของเว็บไซต์ดันมีการใช้ Keyword ตัวเดียวกันหมด Google จะพยายามเลือกมาแค่อันเดียว และมองว่าหน้าเว็บเพจอื่นที่ใช้ Keyword ตัวเดียวกันและไม่ได้รับเลือกนั้นเป็นการสแปม Keyword จึงอาจทำให้ Google ต้องหักลดคะแนนของหน้าเว็บเพจไป และหากโดนมากเยอะ คงไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอน

4. การแย่งชิง Keyword เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าหน้าเว็บมีคุณภาพที่แย่

แน่นอนต่อให้คุณมีหลายหน้าเว็บเพจในเว็บไซต์ของคุณที่ใช้ Keyword ตัวเดียวกัน และมีเนื้อหาภายในเว็บที่มีคุณภาพมากแค่ไหน Google จะมองว่าเว็บไซต์นั้นมีเนื้อหาภายในเว็บที่ยืดเยื้อจนเกินไป เพราะมี Keyword เดียวกันหลายหน้าจนเกินไป และอาจมองว่าหน้าเว็บเพจบางหน้านั้นมีเนื้อหาที่ไม่ได้ตรงกับ Keyword ที่ใส่มา

5. การจัดอันดับของเว็บไซต์คุณมีปัญหาอย่างชัดเจน

หากการใช้ Keyword ตัวเดียวกันซ้ำในหลายหน้าเว็บเพจ แทนที่แต่ละหน้าเว็บเพจในเว็บไซต์ของคุณจะได้แข่งขันกับเว็บไซต์อื่น กลับกลายเป็นว่าต้องมาแข่งขันกันเองในเว็บไซต์ เรียกได้ว่าเว็บต้องเหนื่อย x2 ไปอีก เพราะกว่าจะต้องผ่านการแข่งขันภายในเว็บไซต์ตัวเองไปให้ได้แล้ว พอผ่านก็ต้องมาเจอเว็บไซต์อื่นอีก อันดับที่จะขึ้นบนยอดการค้นหาคงไปได้ไม่ไกลเท่าไรนัก

การระบุ Keyword ให้แตกต่างและชัดเจน ช่วยลดปัญหา Keyword Cannibalization ได้

การระบุ keyword



การแยก Keyword แต่ละหน้าเว็บให้แตกต่างและมีความชัดเจนในตัวคำ เรื่องนี้อาจจะต้องกลายเป็นเรื่องพื้นฐานอีกขั้นสำหรับคนที่ต้องการเรียนรู้และทำ SEO ต่อให้เว็บไซต์คุณจะทำเรื่องอะไรสักอย่าง การกำหนด Keyword ที่แตกต่าง ตรงตามหน้าเนื้อหาเว็บ และไม่ซ้ำหน้าเว็บเพจอื่น หรือการใช้ Long Tail Keyword จะมาช่วยลดการเกิดปัญหาการแย่งชิงอันดับของ Keyword ที่ใช้ลงไปได้

ยกตัวอย่างเช่น คุณทำเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหนังสือและกำหนด Keyword เป็น “Book” และหน้าหลักของเว็บไซต์ใช้ Keyword นี้ เวลาสร้างเนื้อหาภายในเว็บขึ้นมาใหม่ หรือการขึ้นหน้าเว็บเพจใหม่พยายามอย่าใช้ Keyword เดียวกัน สร้างความแตกต่างตามเนื้อหา ตัวอย่างจะเป็น ถ้าคุณเขียน Content เกี่ยวกับหนังสือการ์ตูนและสร้างหน้าเว็บเพจใหม่ไว้ลงเนื้อหา อย่าใช้ Keyword คำว่า “Book” ที่ซ้ำกับหน้าเว็บหลัก ให้สร้าง Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ Book ที่มีความแตกต่างเป็น “Cartoon Book” เป็นต้น (แต่ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่าคำดังกล่าวที่ระบุมามียอดอันดับการค้นเป็นอย่างไร)

*ตัวอย่างการระบุ Keyword ให้ชัดเจนและแตกต่างในหมวดหมู่เดียวกันไม่ให้ซ้ำกัน

keyword cannibalization4

วิธีแก้ปัญหาหากพบว่าเจอ Keyword Cannibalization

วิธีแก้ปัญหา



หากคุณเริ่มทำ SEO กับเว็บไซต์ไปแล้วพึ่งมาสังเกตเห็นว่า เว็บไซต์คุณกำลังประสบปัญหา Keyword Cannibalization วิธีแก้ไขปัญหานี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาตั้งแต่ทำเว็บไซต์มาและจุดแต่จุดที่เป็นปัญหา เรามาลองดูกันเลยว่าวิธีแก้ใดบ้างที่คุณจะเอาไปใช้ได้

ปรับโครงสร้างเว็บไซต์ และสร้างหน้าเว็บไซต์หลักให้ชัดเจน

คนส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาการชิงกันของ Keyword มักไม่มีหน้าเว็บไซต์หลักที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลก่อนกระจายไปหน้าเว็บเพจต่าง ๆ จึงทำให้ต้องมาใช้ Keyword ตัวเดียวกัน ดังนั้นการปรับโครงสร้างเว็บไซต์ให้มีการสร้างหน้าเว็บไซต์หลักเพื่อกระจายไปยังหน้าเว็บเพจอื่น ๆ (พร้อมทั้งระบุ Keyword ที่ต่างกันด้วยนะ) จะช่วยแก้ปัญหาได้

รวมเนื้อหาให้เหลือเพียงหน้าเว็บเพจเดียว

หากในเว็บไซต์หรือหน้าเว็บเพจคุณมีเนื้อหาและ Keyword เดียวกันอยู่สองหน้า และมีเนื้อหาภายในเว็บใกล้เคียงกัน วิธีการแก้แบบง่าย ๆ เลยคือการนำมามัดรวมกันให้เหลือเพียงหน้าเดียว แต่การรวมเนื้อหาให้เหลือเพียงหน้าเว็บเพจเดียว ต้องพิจารณาดูด้วยว่าหน้าเว็บเพจไหน มีการใช้งานที่เข้าถึงผู้ชมได้มากกว่า ให้เลือกหน้าเว็บนั้นเป็นหลัก และดูส่วนข้อมูลว่าตรงไหนมารวมกันได้ อีกทั้งต้องทำการเก็บสำรองข้อมูลของอีกหน้าเว็บเพจหนึ่งไว้ เผื่อเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

หา Keyword ใหม่ ๆ มาใช้งาน

วิธีที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดแล้ว โดยการกำหนด Keyword ขึ้นมาใหม่ โดยพิจารณาจากเนื้อหาภายในเว็บด้วยว่าสามารถใช้ Keyword ใดได้บ้าง ซึ่งการใช้ Keyword ใหม่ ๆ มาช่วยในการระบุแต่ละหน้าสามารถพิจารณาได้ตามรายการดังต่อไปนี้

  • อันดับของ Keyword
  • URL ของหน้าเว็บเพจ
  • หัวข้อ / เนื้อหา
  • ยอดการเข้าชมในแต่ละหน้าเว็บเพจ
  • Conversion

ใช้งาน Redirect 301 ในการรื้อใหม่ทั้งหมด

บางครั้งปัญหา Keyword Cannibalization อาจจะกัดกินเว็บไซต์ของคุณไปนานแล้ว จนไม่รู้ว่าต้นตอหรือจุดไหนต้องทำการแก้ไข วิธีการสุดท้ายที่เราจะแนะนำคือการใช้งาน Redirect 301 ในการโยกย้าย URL ไปที่ใหม่ แล้วจัดการรื้อแก้ไข Keyword ตามโครงสร้างของเว็บ ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องระบุ Keyword ใหม่ให้ชัดเจน และแตกต่างด้วย ไม่งั้นการรื้อถอนทำใหม่ก็จะไม่ได้ช่วยอะไรเลย


สุดท้ายแล้วในการทำ SEO การใส่ Keyword ตัวเดียวกันในหลายหน้าเว็บเพจ บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพื่อเร่งให้ Google ได้เห็น แต่ในความเป็นจริงมันทำให้เกิดปัญหาการแย่งชิงอันดับของ Keyword ขึ้นมาได้ ซึ่งผลกระทบที่ตามมาล้วนนับว่าร้ายแรงกับการทำ SEO เป็นอย่างมาก แถมเป็นปัญหาที่หลายคนมักไม่รู้ตัว และกว่าจะรู้ตัว เว็บไซต์คุณก็ตกอันดับยอดการค้นหา หรือไม่ก็อาจจะสายเกินไปที่จะทำการแก้ไขได้ ดังนั้นทางที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ พยายามสร้างและระบุ Keyword ในแต่ละหน้าเว็บเพจให้ชัดเจน และแตกต่างกัน วิธีการนี้นอกจากจะช่วยลดปัญหาได้แล้วยังช่วยให้เว็บไซต์คุณมีเนื้อหาที่เป็นหมวดหมู่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Search
Categories