เลือก Web hosting ให้ดี ก็จะส่งผลดีกับการทำ SEO

Picture of THAITOPSEO
THAITOPSEO
เลือก Web hosting ให้ดี ก็จะส่งผลดีกับการทำ SEO

จุดเริ่มต้นของการทำ SEO คือการทำหน้าเว็บไซต์ให้เป็นไปตามหลักของ Search Engine อย่าง Google แต่ก่อนจะเริ่มทำเว็บไซต์สักหน้าเว็บหนึ่งขึ้นมา สิ่งสำคัญที่ต้องมีก่อนเลยคือเซิฟเวอร์ของเว็บไซต์ เพราะการทำงานของเว็บไซต์ต้องพึ่งพาการฝากข้อมูลไว้บนเซิฟเวอร์ ที่จะคอยรับส่งไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตมาให้ผู้ใช้งานได้ แต่เราจะตามหาเซิฟเวอร์มาใช้งานได้อย่างไร มารู้จักกันกับ Web hosting ผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ไว้สำหรับรับฝากเว็บไซต์ ที่จะมาเป็นเสาหลักค้ำให้กับเว็บไซต์ของคุณ และหากเลือกได้ดีจะส่งผลดีต่อการทำ SEO ได้ด้วย

Web hosting คืออะไร?

Web hosting คือ รูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต หรือผู้ทำเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยให้ผู้ทำเว็บไซต์มาฝากเว็บไซต์ของตนเองไว้กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้เว็บไซต์นั้นออนไลน์อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม.

how-does-web-hosting-work

ภาพตัวอย่างการทำงานของเว็บไซต์และเซิฟเวอร์
ที่มา: hostinger

เรารู้ดีว่าการทำเว็บไซต์สักเว็บหนึ่งขึ้นมานั้น จำเป็นต้องมีการฝากฝังฐานข้อมูลต่าง ๆ ของเว็บไว้บนเซิฟเวอร์ เพื่อที่เวลามีผู้ใช้งาน (User) บนโลกอินเทอร์เน็ตเข้าเว็บไซต์ จะได้รันไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ของเว็บไซต์มาให้ผู้ใช้งานได้เห็นหน้าเว็บได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้ทำเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงเลยคือการหาเซิฟเวอร์ของเว็บไซต์ให้ได้ก่อน ซึ่งเราสามารถหาผ่านได้กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ หรือที่เรียกกันว่า Web hosting



การหา Web hosting ต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง

การหา Web hosting ต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง


ผู้ให้บริการหรือ Hosting เว็บไซต์นั้นมีเปิดให้บริการอยู่เยอะ และกระจายตามภูมิภาคย่างมาก แต่สิ่งสำคัญในการที่จะหาเซิฟเวอร์ที่เป็นเสมือนที่อยู่ของเว็บไซต์ได้นั้น ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เป็นหลัก เพื่อให้การทำงานของเว็บไซต์นั้นมีประสิทธิภาพ


1. เครื่องเซิฟเวอร์ (Server)

ปัจจัยสำคัญในการเลือกเซิฟเวอร์ที่ดีให้เว็บไซต์คือ เซิฟเวอร์ต้องมีประสิทธิภาพ มีความเสถียร ต้องมี Uptime ให้เกิน 99% โดยไม่อ้างอิงแค่จากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (PC) แต่เพียงอย่างเดียว รวมไปถึงหน่วยประมวลผลที่รวดเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ไม่ต้องรอเว็บโหลดนาน


2. ที่อยู่ (Location)

สิ่งต่อมาจากเครื่องเซิฟเวอร์ นั้นคือที่อยู่ของเซิฟเวอร์ เราจำเป็นต้องเลือกตัวเซิฟเวอร์ที่อยู่ใกล้ผู้ทำเว็บไซต์ เพราะหากอยู่ไกลกันเกินไป การรับส่งข้อมูลในการแสดงผลจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน รวมไปถึงที่อยู่เว็บไซต์ต้องอยู่ใน Data Center เครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม. พร้อมทั้งมีผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยด้านเซิฟเวอร์ด้วยเช่นกัน


3. ระบบที่รองรับ

ปัจจัยต่อมาในการเลือกเซิฟเวอร์คือ ภาษาที่ใช้ในเว็บไซต์ เว็บไซต์ของคุณใช้ภาษาอะไรในการเขียนโค้ดพัฒนาเว็บไซต์ และเซิฟเวอร์ที่เลือกรองรับภาษาดังกล่าวหรือไม่ เพราะถ้าเลือกเซิฟเวอร์ที่ไม่รองรับภาษาเว็บไซต์ของเรา การทำงานของเว็บมีปัญหาแน่นอน


4. ความปลอดภัย

เซิฟเวอร์ของเว็บไซต์ที่ดีคือสามารถป้องกัน Spyware, Spam, Viruses, การโจมตีแบบ DDos ได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้ตัวเว็บไซต์นั้นปลอดภัย ทั้งกับผู้ทำและผู้เข้าชมเว็บไซต์ รวมไปถึงข้อมูลต่าง ๆ ของเว็บที่ฝากไว้กับเซิฟเวอร์


5. ระบบสำรองข้อมูล

ผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ที่ดี ต้องมีการคอยสำรองข้อมูลของเว็บไซต์ให้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันปัญหาข้อมูลเว็บไซต์หายจากการโจมตีบนโลกอินเทอร์เน็ต หรือปัญหาทางเทคนิคที่เกิดจากเซิฟเวอร์


6. การบริการ

สุดท้ายคือการเลือกผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ที่ต้องมีประสบการณ์ และเชี่ยวชาญในด้านของการให้บริการเซิฟเวอร์อย่างแท้จริง รวมไปถึงการให้บริการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากตัวเซิฟเวอร์ได้ด้วย เพราะเราเอาเว็บไซต์ ที่เปรียบเสมือนตัวเราเอง ไปฝากไว้กับเซิฟเวอร์ที่เสมือนบ้านคน ก็ต้องการอยู่กับคนที่ซัพพอร์ตเราได้อย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน



รูปแบบของ Web hosting ที่มีให้เลือก

รูปแบบของ Web hosting ที่มีให้เลือก


Hosting ที่เปิดให้บริการอยู่นั้นมีหลายรูปแบบ ตามการใช้งานของเว็บไซต์และเซิฟเวอร์ ดังนั้นเราจึงควรเลือกรูปแบบเซิฟเวอร์ให้เข้ากับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อทำให้เว็บไซต์เราแสดงประสิทธิภาพได้ถึงที่สุด


1. Shared Hosting

รูปแบบที่เรียบง่าย และมีราคาประหยัดต่อการใช้งาน เพราะเป็นเซิฟเวอร์รูปแบบการแชร์กันใช้งาน คือหนึ่งเซิฟเวอร์ จะมีหลายเว็บไซต์มาร่วมใช้พื้นที่ของเซิฟเวอร์ร่วมกัน รวมไปถึงหน่วยความจำ หรือหน่วยประมวลผลและพื้นที่จัดเก็บด้วย ดังนั้นหากมีการใช้งานเว็บไซต์ที่อยู่บนเซิฟเวอร์นี้เป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้เว็บไซต์ช้าลงได้เช่นกัน

ข้อดีของ Shared Hosting

  • ราคาประหยัด เหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก
  • ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคนิคอะไรมาก เพราะเซิฟเวอร์จะจัดการเอง
  • ไม่ต้องดูแล รักษาเซิฟเวอร์มากนัก

ข้อเสียของ Shared Hosting

  • เข้าถึงการตั้งค่าของเซิฟเวอร์ได้น้อย
  • หากมีเว็บใดเว็บหนึ่งในเซิฟเวอร์ Shared Hosting มีผู้เข้าชมเยอะ อาจจะส่งผลให้เว็บอื่นในเครือข่ายเซิฟเวอร์ช้าลงได้

ดังนั้นรูปแบบเซิฟเวอร์นี้จึงเหมาะกับเว็บไซต์ส่วนบุคคที่ไม่ต้องการเน้นความเร็วของ Bandwidth มากเท่าไร หากคุณไม่ซีเรียสกับความเร็วโหลดมาก Shared Hosting ถือเป็นตัวเลือกที่ดีใช้ได้


2. Virtual Private Server (VPS) Hosting

รูปแบบ VPS hosting นี้ ยังคงการให้เว็บไซต์แชร์พื้นที่กันบนเซิฟเวอร์ แต่มีข้อแตกต่างที่ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ ตัวเซิฟเวอร์ จะสร้างเซิฟเวอร์ย่อยหรือเซิฟเวอร์เสมือนแยกมาให้กับเว็บไซต์โดยเฉพาะโดยเว็บไซต์ที่ใช้งาน จะได้ใช้งานเซิฟเวอร์เสมือนได้อย่างเต็มที่เหมือนกับเป็นเซิฟเวอร์ของตัวเองเพียงคนเดียว

ข้อดีของ VPS Hosting

  • พื้นที่เซิฟเวอร์สำหรับเว็บไซต์หนึ่งโดยเฉพาะ
  • การเข้าชมของเว็บไซต์อื่นที่ใช้บริการในเซิฟเวอร์เดียวกัน ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเว็บไซต์เรา
  • การเข้าถึงพื้นที่เซิฟเวอร์ได้ง่าย
  • การปรับแต่งใช้งานเองได้อย่างหลากหลาย

ข้อเสียของ VPS Hosting

  • ผู้ทำเว็บไซต์ ต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคนิคเป็นอย่างมาก
  • ราคาที่ค่อนข้างสูง และอาจจะมีเพิ่มจากการต้องจากนักพัฒนามาเพื่อจัดการเซิฟเวอร์เสมือน จึงอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายโดยรวมที่สูง

VPS Hosting จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเว็บไซต์ขนาดกลาง ร้านค้า E-Commerce ที่มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการจัดกลางเซิฟเวอร์ได้อย่างอิสระ


3. Cloud Hosting

Cloud Hosting รูปแบบการให้บริการที่เน้นเครื่องเซิฟเวอร์ย่อย หลายจำนวน แต่เชื่อมต่อกันเป็นเหมือนเครื่อข่ายเซิฟเวอร์ การทำงานของรูปแบบนี้จะเด่นในเรื่องการป้องกันปัญหา ตัวอย่างเช่น หากเครื่องเซิฟเวอร์ใดเซิฟเวอร์หนึ่งเสียหาย หรือประสบปัญหาจนใช้งานไม่ได้ เครื่องเซิฟเวอร์อื่นในเครือข่ายก็จะมาทำหน้าที่และดูแลเว็บไซต์แทนให้

ข้อดีของ Cloud Hosting

  • ลดโอกาสในการหยุดทำงานและความล้มเหลวของตัวเครื่องเซิฟเวอร์
  • ป้องกันการโจมตีแบบ DDos ได้เป็นอย่างดี
  • ทรัพยากรของเซิฟเวอร์ไม่ได้ถูกจำกัดโดยเครื่องเดียว แต่มีหลายเครื่องทำให้เว็บไซต์ยึดหยุ่นได้ในเรื่องขนาดพื้นที่ที่ใช้งาน

ข้อเสียของ Cloud Hosting

  • ราคาที่ค่อนข้างแพง


4. WordPress Hosting

รูปแบบเซิฟเวอร์ตัวนี้ถูกทำมาให้เหมาะกับการใช้งาน WordPress เพราะจะทำให้การทำเว็บไซต์บน WordPress ของคุณโหลดได้เร็วขึ้น และลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ที่ทำด้วยอย่างอื่นก็ยังสามารถมาใช้บริการนี้ได้เช่นกัน

ข้อดีของ WordPress Hosting

  • ราคาต่ำ ประหยัดเหมาะกับผู้เริ่มต้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ที่ทำบน WordPress
  • สามารถแก้ปัญหาที่เกิดบน WordPress ได้เป็นอย่างดี
  • สามารถติดตั้งปลั้กอินต่าง ๆ บน WordPress ได้ล่วงหน้า

ข้อเสียของ WordPress Hosting

  • ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ได้ทำบน WordPress


5. Dedicated Hosting

รูปแบบให้บริการเซิฟเวอร์ที่ให้เซิฟเวอร์จริงสำหรับแต่ละเว็บไซต์โดยเฉพาะ ไม่ได้มีการแชร์กับเว็บไซต์อื่น โดยสามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ภายในเซิฟเวอร์ รวมไปถึงการเลือกระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่ต้องการได้เลย เรียกได้ว่าเป็นเซิฟเวอร์ของคุณโดยเฉพาะเลย

ข้อดีของ Dedicated Hosting

  • ควบคุมการตั้งค่าต่าง ๆ ของเซิฟเวอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • มีความน่าเชื่อถือสูง
  • เข้าถึงฐานข้อมูลของเซิฟเวอรืได้

ข้อเสียของ Dedicated Hosting

  • ค่าใช้จ่ายสูง เหมาะกับเว็บไซต์ขนาดใหญ่
  • จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคและจัดการกับเซิฟเวอร์ได้


ทำไม Web hosting ถึงมีส่งผลต่อการทำ SEO

ทำไม Web hosting ถึงมีส่งผลต่อการทำ SEO


คำเปรียบที่กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราอยู่ในจุดที่ดี ทำอะไรก็จะดีไปหมด” คงไม่เกินจริงกับการทำเว็บไซต์ เพราะเว็บที่มีการเลือกใช้งานเซิฟเวอร์จาก Web hosting ที่ดี จะทำให้การทำงานภายในเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ที่ทำ SEO จะยิ่งต้องเลือกให้ดีเลยทีเดียว เพราะเลือกได้ดี ก็จะส่งผลดีต่อการทำ SEO ด้วย


เซิฟเวอร์ดี เว็บไซต์ดี Page Speed ก็ดีตามด้วย

ปัจจัยหนึ่งที่ Search Engine อย่าง Google ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือการโหลดหน้าเว็บไซต์ (Page Speed) ที่รวดเร็ว ยิ่งเร็วตามเกณฑ์ของ Google เท่าไรก็ยิ่งดี เพราะมันจะมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้เข้าชมเว็บ อีกทั้งหากหน้าเว็บไซต์มีการโหลดที่ช้า ไมว่าจะเป็นหน้าเว็บ ไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ภาพ วิดีโอ หรือคลิปเสียง จะส่งผลเสียต่อคะแนนการจัดอันดับบนผลการค้นหา (SERP) ได้ด้วย


ยอด Traffic และประสบการณ์ของผู้ใช้งาน

ผลอันต่อเนื่องจาก Page Speed ในมุมมองของผู้ใช้งาน หากเว็บไซต์มีการโหลดหน้าเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว แสดงสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการได้ทันที จะสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน รวมไปถึงสร้างยอด Traffic ให้กับเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ยอด Traffic อาจจะมาเพิ่มได้มากขึ้นอีก อันเนื่องจากผู้ใช้งานอาจจะแวะกลับมาใช้งานเว็บไซต์เราอีกครั้ง เพราะรู้ว่าเว็บไซต์เรามอบประสบการณ์ที่ดีให้ได้


คะแนนของเว็บไซต์

หากเพียงคิดแต่ว่าเว็บไซต์ต้องมียอดการเข้าถึงหรือยอด Traffic เยอะ ๆ แล้วจะดี ขอปฏิเสธได้เลย รู้หรือไม่ว่าการที่เว็บไซต์มียอดการเข้าถึงที่เยอะ แต่ในจำนวนนั้นมีผู้ใช้งานเข้าชมเว็บไซต์ของเราเพียงแปปเดียว และกดออกจากเว็บเราไป จะส่งผลเสียต่อคะแนนของเว็บไซต์ ซึ่งมันจะไปลดอันดับบนยอดผลการค้นหา (SERP) ได้เช่นกัน ดังนั้นการทำเว็บไซต์คุณต้องคำนึงถึงการทำ Page Speed เพื่อสร้างการโหลดหน้าเว็บให้เร็วทันใจ และเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานด้วย เพื่อสร้างการใช้งานอันยาวนานบนเว็บให้แก่ผู้เข้าชม


สรุปการเลือก Web hosting ให้ดี จะส่งผลดีต่อการทำ SEO

ปัจจัยเริ่มต้นของการทำเว็บไซต์ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือต้องมีเซิฟเวอร์ แต่การจะมีและหาเซิฟเวอร์ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เราจึงต้องหันมาใช้บริการ Web hosting ผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ในการรับฝากข้อมูลของเว็บไซต์ แต่กระนั้นผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ และรูปแบบการทำงานของเซิฟเวอร์มีให้เลือกหลากหลาย ดังนั้นคุณต้องเลือกเซิฟเวอร์ให้เหมาะกับเว็บไซต์ของคุณ เพราะหากเลือกผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ที่ดีได้ การทำงานของเว็บไซต์เราจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเมื่อเว็บมีประสิทธิภาพ การทำ SEO ก็จะออกมาดีด้วยได้เช่นกัน

Search
Categories