Broken Link (ลิงก์เสีย) ศัตรูของผู้ใช้งานและการทำ SEO

Picture of THAITOPSEO
THAITOPSEO
Broken Link (ลิงก์เสีย) ศัตรูของผู้ใช้งานและการทำ SEO

ลิงก์ (Link) เป็นสิ่งเชื่อมโยงแต่ล่ะเว็บไซต์เข้าหากันและกัน เป็นเหมือนดั่งเส้นทางพิเศษที่ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์อีกแห่งได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ลิงก์ยังเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งกับการทำ SEO เพราะมันช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ รวมไปถึงเพิ่มยอดเข้าชม (Traffic) ให้กับเว็บไซต์ได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ที่ทำ SEO อยู่จึงควรรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Broken Link (ลิงก์เสีย) หนึ่งในศัตรูที่ร้ายกาจและแอบเงียบอยู่ในเว็บไซต์ แล้วเจ้าลิงก์เสียนี้คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการทำ SEO รวมไปถึงมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ในบทความครั้งนี้เราจะพาไปหาคำตอบกันแบบครบถ้วนเลย

Broken Link คืออะไร?

Broken Link คืออะไร


Broken Link (ลิงก์เสีย) คือ ลิงก์ที่ไม่สามารถใช้งานได้ หรือลิงก์ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังหน้าเว็บที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะกดคลิกหรือกดรีเฟรชหน้าจอก็ไม่สามารถปรากฏหน้าเว็บที่ต้องการจากลิงก์ได้ โดยหากกดคลิกลิงก์แล้วพบว่าหน้าเว็บไซต์ไม่แสดงผล หรือขึ้นข้อความว่า “404 Not Found” หรือข้อความต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าหน้าเว็บนั้นไม่มีอยู่แล้ว ให้สันนิษฐานได้ทันทีเลยว่านั้นคือ ลิงก์เสีย

นอกจากนี้สาเหตุการเกิดลิงก์เสียนั้นมีหลายปัจจัยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้วยเรื่องเว็บถูกบล็อก เว็บถูกปิด หรือเกิดการปิดกั้นไม่ทางใดทางหนึ่ง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีสาเหตุหลัก ๆ อยู่ 3 สาเหตุได้ต่อไปนี้

  • การย้ายหรือลบหน้าเว็บไซต์: เมื่อหน้าเว็บไซต์ที่ลิงก์ไปหาถูกย้ายหรือถูกลบ จะทำให้ลิงก์นั้นเสียได้ในทันที

  • การเปลี่ยน Domain หรือ URL: URL ของเว็บไซต์ที่เป็นลิงก์ปลายทางมีการเปลี่ยนแปลง ก็ย่อมทำให้เกิดปัญหาลิงก์เสียได้เช่นกัน

  • URL ของลิงก์ไม่ถูกต้อง: ทุกการลิงก์ไปว่าจะภายในเว็บไซต์หรือภายนอกเว็บไซต์ หากมีการใส่ URL ที่ไม่ถูกต้อง ย่อมทำให้เกิดปัญหาลิงก์เสียได้เสมอ


ผลเสียที่กระทบต่อการทำ SEO ของ Broken Link

ผลเสียที่กระทบต่อการทำ SEO ของ Broken Link


Broken Link (ลิงก์เสีย) นับเป็นหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นได้เสมอกับทุกเว็บไซต์ ไม่ว่าวันใดวันหนึ่งย่อมเจอปัญหานี้อย่างแน่นอน โดยลิงก์เสียนับเป็นหนึ่งในปัญหา ย่อมต้องหมายถึงมันส่งผลกระทบหรือผลเสียอย่างแน่นอน โดยผลเสียที่กระทบต่อการทำ SEO มีดังต่อไปนี้


การลดลงของอันดับเว็บไซต์

เครื่องมือค้นหาอย่าง Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก รวมไปถึงการนับลิงก์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ ดังนั้นการมีลิงก์เสียเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่าเว็บไซต์ของคุณไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ตามหลักการที่เครื่องมือค้นหาต้องการ ซึ่งอาจส่งผลให้เว็บที่มีลิงก์เสียนั้นถูกลดการจัดอันดับลงได้ หากยังไม่แก้ไขปัญหานี้

ความน่าเชื่อถือที่ลดหาย

ลิงก์นับเป็นหนึ่งในปัจจัยในการทำ SEO ที่ช่วยบ่งบอกว่าเว็บไซต์นั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ยิ่งมีลิงก์เยอะ ยิ่งได้ความน่าเชื่อถือเยอะ แต่การมีลิงก์ที่เสียอยู่ในเว็บ นั้นย่อมบ่งบอกว่าเว็บไซต์ไม่ได้มีการอัปเดต หรือดูแลแต่อย่างใด ซึ่งจะทำให้เครื่องมือค้นหาอย่าง Google และผู้ใช้งานมองว่าเว็บไซต์ไม่มีความน่าเชื่อถือได้ในทันทีที่มีการพบลิงก์เสีย

เกิดประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดี

ลองคิดและสมมติในมุมมองของผู้ใช้งานที่เข้าเว็บไซต์แล้วกดเข้าลิงก์ใดลิงก์หนึ่ง แต่กลับพบว่าลิงก์ปลายทางไม่ปรากฏขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกผิดหวังและเกิดประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีกับเว็บนั้นได้ จนอาจจะเลือกไม่เข้าใช้งานหรือเข้าชมเว็บไซต์นั้นอีกเลย เพราะเว็บไซต์นั้นไม่มีความน่าเชื่อถืออีกต่อไปแล้ว ซึ่งการทำแบบนั้นย่อมส่งผลเสียต่อการทำ SEO อย่างแน่นอน

Bounce Rate

Bounce Rate คืออัตราการที่ผู้ใช้งานเข้าชมเว็บไซต์แล้วทำการออกจากหน้าเว็บไซต์ทันทีโดยไม่ได้เข้าชมหน้าเว็บอื่น ๆ ซึ่งลิงก์เสียนั้นเป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีให้กับผู้ใช้งานจนอาจจะเลือกปิดหน้าเว็บนั้นหนีไปได้ทันที ซึ่งจะเพิ่มอัตรา Bounce Rate ของเว็บไซต์ และเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อเครื่องมือค้นอย่าง Google และการทำ SEO ของเจ้าของเว็บไซต์


เครื่องมือค้นหา Broken Link

เครื่องมือค้นหา Broken Link


การแก้ไข Broken Link (ลิงก์เสีย) นับเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของเว็บไซต์ที่ทำ SEO จำเป็นต้องทำอย่างยิ่งและโดยด่วน เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพและเป็นมิตรกับผู้ใช้งานและเครื่องมือค้นหา ดังนั้นการค้นหาและเช็กลิงก์เสียจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ โดยการใช้งานเครื่องมือที่เหมาะสมในการตรวจเช็กและจัดการลิงก์เสียมีดังต่อไปนี้


Ahrefs Broken Link Checker

หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่ายและสามารถใช้งานเบื้องต้นได้ฟรีในการตรวจสอบลิงก์เสียภายในเว็บไซต์ของคุณ พร้อมทั้งแสดงลิงก์ที่ชี้ไปยังเว็บไซต์ของคุณที่เป็นลิงก์เสียอีกด้วย โดยการใช้งานนั้นง่ายมาก เพียงกดเข้าที่หน้าเว็บไซต์ Ahrefs Broken Link Checke เอา URL ของ Domain เว็บไซต์ใส่ลงในช่อง แล้วกด “Check Broken Link” ก็จะได้ผลลัพธ์แสดงว่ามีลิงก์เสียใดบ้าง

ahref

ที่มา : https://ahrefs.com/broken-link-checker

Broken Link Checker (Plugin)

Broken Link Checker เป็นปลั๊กอินที่สามารถใช้กับเว็บไซต์ที่เป็น WordPress ได้เท่านั้น โดยเป็นตัวปลั๊กอินที่สามารถตรวจสอบลิงก์เสียได้ โดยการใช้งานนั้นง่ายมาก เพียงเข้าไปหลังบ้านเว็บไซต์ WordPress กดคลิกที่ Plugin > Add News > ค้นหา Broken Link Checker หรือเข้าที่เว็บไซต์ Broken Link Checker แล้วกดติดตั้ง
โดยหลังติดตั้งแล้วกดเข้าใช้งาน ระบบจะรายงานลิงก์เสียที่มีอยู่ภายในเว็บไซต์ โดยจะมีโลโก้ สัญลักษณ์ตกใจ หรือตัวอักษรสีแดงที่บ่งบอกอย่างชัดเจน ว่าลิงก์เหล่านั้นคือลิงก์เสีย เมื่อกดคลิกเข้าไปแล้ว เราสามารถ Edit แก้ไข URL ได้ในทันที


Google Search Console

Google Search Console เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่ายและฟรีจากทาง Google ในการตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณว่ามีลิงก์เสียหรือไม่ โดยการตรวจเช็กลิงก์เสียภายในเว็บไซต์จากเครื่องมือนี้มีวิธีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่กดคลิกไปที่ Google Search Console > Crawl > Crawl Errors แล้วจะมีรายงานลิงก์ต่าง ๆ พร้อมลิงก์ที่เสียขึ้นมา รวมถึงสาเหตุที่เกิดลิงก์เสียด้วย โดยเครื่องมือจะแนะนำวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมให้ในทันที ซึ่งผู้ใช้งานสามารถกดแก้ไขตามความเหมาะสมของตัวเอง หรือเครื่องมือก็ย่อมได้


วิธีแก้ไข Broken Link

วิธีแก้ไข Broken Link


Broken Link นับเป็นหนึ่งในปัญหาที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะมันจะช่วยแสดงถึงความรับผิดชอบของเจ้าของเว็บไซต์ รวมไปถึงการใส่ใจในการจัดการและดูแลเว็บ นอกจากนี้การแก้ไขลิงก์เสียจะช่วยลดผลเสียที่กระทบต่อการทำ SEO ที่มีผลต่อเครื่องมือค้นหาและผู้ใช้งานอีกด้วย ดังนั้นวิธีแก้ไขลิงก์เสียจะขึ้นอยู่กับประเภทของลิงก์ที่เสียด้วยเช่นกันดังนี้

  • Backlink: หากคุณตรวจสอบผ่านเครื่องมือและค้นพบว่าลิงก์ที่เสียเป็น Backlink ที่มาจากเว็บไซต์ภายนอก ควรรีบทำการติดต่อไปยังเจ้าของเว็บไซต์เพื่อแจ้งให้ปรับปรุงและแก้ไข URL ของลิงก์ให้ถูกต้อง

  • Internal Link: หากเกิดปัญหาลิงก์เสียภายในเว็บไซต์ของตัวเองอย่าง Internal Link หรือ External Link ควรรีบปรับปรุงและแก้ไข URL ให้ถูกต้อง หรือทำการลบลิงก์ที่ไม่จำเป็นออกไปในทันที รวมไปถึงการปรับปรุงโครงสร้างลิงก์ไม่ให้ซับซ้อนในการเข้าถึงมากจนเกินไป


วิธีป้องกัน Broken Link (ลิงก์เสีย) ในอนาคต

วิธีป้องกัน Broken Link (ลิงก์เสีย) ในอนาคต


ปัญหา Broken Link (ลิงก์เสีย) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะทำไปนานแค่ไหน ปัญหานี้ย่อมต้องเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นการป้องกันปัญหานี้แบบเบื้องต้นจะพอช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเว็บไซต์ได้ โดยวิธีการป้องกันปัญหาลิงก์เสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตมีดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบลิงก์เป็นประจำ: เจ้าของเว็บไซต์หรือคนดูแลเว็บควรต้องหมั่นตรวจสอบลิงก์ภายในเว็บไซต์อยู่เป็นประจำ โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบลิงก์เสียเช่น Broken Link Checker หรือ Ahrefs

  • ใช้การเปลี่ยนทาง (Redirects): เมื่อมีการย้ายหรือเปลี่ยนแปลง URL ของหน้าเว็บเพจภายในเว็บไซต์ของตัวเอง ควรตั้งค่าการเปลี่ยนทางไปยังหน้าใหม่ให้เรียบร้อยด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลิงก์เสีย

  • ระวังการลิงก์ไปภายนอก: การลิงก์ไปภายนอกเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้กับเว็บไซต์ที่ทำ SEO ในการอ้างอิงข้อมูลหรือที่มา ดังนั้นก่อนที่จะลิงก์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ควรทำการตรวจสอบว่าเว็บไซต์ที่จะทำการลิงก์ไปนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน และมีความเสถียรดีพอหรือไม่

  • ปรับปรุงและอัปเดตเว็บไซต์: ผู้ดูแลหรือเจ้าของเว็บไซต์ควรต้องทำการปรับปรุงและอัปเดตเว็บไซต์อยู่เป็นประจำอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเว็บที่ทำ SEO ควรปรับปรุงและอัปเดตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติและถูกต้อง


บทสรุป Broken Link ปัญหาลิงก์เสียที่หลายคนมองข้าม

Broken Link หรือลิงก์เสีย คือลิงก์ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังหน้าเว็บที่ต้องการได้ ทำให้ผู้ใช้งานพบปัญหาในการเข้าถึงเนื้อหาหรือข้อมูลที่ต้องการได้ ปัญหาลิงก์เสียเป็นปัญหาเล็ก ๆ ที่หลายคนที่ทำเว็บและทำ SEO มักมองข้าม สนใจแต่เพียงการใช้งานลิงก์เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ แต่กลับไม่ให้ความสำคัญกับการใช้งานลิงก์ การจัดการ และการดูแล ซึ่งปัญหาลิงก์เสียยังส่งผลกระทบต่อการทำ SEO โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ และประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ลดลงไปได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการตรวจสอบและแก้ไขลิงก์เสียจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่เป็นประจำ เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณนั้นยังสามารถแสดงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานและเครื่องมือค้นหา

Search
Categories