เว็บไซต์นับได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลและทำให้เป็นที่รู้จัก แต่การจะให้เว็บไซต์เหล่านี้ได้ถูกพบเห็นนั้นต้องพึ่งหลักการทำ SEO กระบวนการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ถูกใจเครื่องมือค้นหา เพื่อขึ้นบนหน้าผลการค้นหา ซึ่งในหลักการทำ SEO จำเป็นต้องมีการสร้างเนื้อหาประกอบหน้าเว็บไซต์เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งาน และให้เครื่องมือค้นหาเข้ามาเก็บข้อมูลนำไปจัดอันดับเว็บไซต์ แต่มักมีหนึ่งในปัญหาที่หลายเว็บไซต์ประสบพบเจอแบบไม่รู้ตัว คือ “ปัญหาเนื้อหาซ้ำกัน” ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ผลเสียของมันคือทำให้อันดับเว็บไซต์ลดลงได้ ซึ่งส่งผลต่อการทำ SEO โดยตรง
ดังนั้นจึงต้องรู้จักหนึ่งในวิธีแก้ไขและป้องกันปัญหานี้ หรือที่เรียกกันว่า Canonical Tag วิธีป้องกันปัญหาเนื้อหาซ้ำกัน ซึ่งในบทความครั้งนี้จะพาไปทำความรู้กับวิธีการนี้ให้มากขึ้น รวมถึงวิธีการใช้งาน และข้อควรระวังในการใช้งานที่ควรรู้ก่อนใช้งานจริง
Canonical tag คืออะไร
Canonical tag (หรือในอีกชื่อ “rel=canonical”) เป็นชุดคำสั่งโค้ดแท็กที่ใช้ภายใน HTML ของเว็บไซต์ โดยตัวแท็กนี้ทำหน้าที่ในการบ่งบอ กกับเครื่องมือค้นหาที่เข้ามาเก็บข้อมูลว่าหน้าเว็บดังกล่าวที่ใช้แท็กนี้เป็น หน้าเว็บที่มีเนื้อหาเป็น “ต้นฉบับ” หรือ “หน้าหลัก” โดยแท็กนี้มักจะมีการใช้งานในเว็บที่มีเนื้อหาซ้ำกันหรือคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ หน้าเว็บเพจ เพื่อป้องกันปัญหาซ้ำซ้อนกันในเว็บไซต์ที่อาจจะส่งผลเสียต่อการทำ SEO ได้
ทำไมถึงต้องใช้ Canonical tag
เว็บไซต์ในปัจจุบันมักมีปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวเสมอ นั้นคือปัญหาซ้ำซ้อนกันในหลาย ๆ หน้าเว็บ โดยเกิดได้หลายกรณี ซึ่งส่งผลให้เครื่องมือค้นหาอย่าง Google เกิดความสับสนและเลือกจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ไม่ถูก จนส่งผลเสียต่อการทำ SEO ที่ทำให้อันดับเว็บตกลงแทนได้ ดังนั้น Canonical tag จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างหมดจด พร้อมยังมอบประโยชน์ด้านการใช้งานให้แก่เว็บไซต์อีกด้วย มาลองดูประโยชน์ของแท็ก Canonical กันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
1. ระบุเนื้อหาต้นฉบับ
เว็บไซต์บางเว็บมักจะหน้าเว็บเพจที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันหรือซ้ำกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้งาน URL PARAMETERS ที่ทำให้เข้าถึงเว็บไซต์ได้ผ่านทาง www และไม่ผ่าน www หรือ http และ https ซึ่งก่อให้เกิด URL ที่มีจำนวนมาก แต่เนื้อหาซ้ำกันหมด จนส่งผลเสียต่อการทำ SEO
ดังนั้นการใช้งานแท็ก Canonical จะช่วยระบุได้ทันทีว่าหน้าเว็บใดคือหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเป็นต้นฉบับ ซึ่งทำให้เครื่องมือค้นหาอย่าง Google ที่เข้ามาเก็บข้อมูลรู้ทันทีว่าหน้าเว็บไหนคือหน้าหลักที่จะใช้อ้างอิงและเข้าไปเก็บข้อมูล เพื่อจัดอันดับเว็บไซต์ต่อไป
2. ประโยชน์ในเชิง SEO
Canonical Tag ไม่ได้เพียงแค่ช่วยป้องกันปัญหาเนื้อหาซ้ำกันบนเว็บไซต์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการทำ SEO โดยเฉพาะส่วนเนื้อหาด้วย เพราะแท็กนี้จะช่วยป้องกันการลดคะแนนด้านการทำ SEO ของเว็บไซต์ที่เกิดจากปัญหาเนื้อหาซ้ำกัน และช่วยให้เครื่องมือค้นหามั่นใจในการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณต่อไปได้
แต่อย่างไรก็ดีในการใช้งานแท็ก Canonical ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวังด้วยเช่นกัน เพราะการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง หรือตรวจสอบให้ดี จะกลายเป็นส่งผลเสียต่อการทำ SEO แทนได้
Canonical tag ควรนำมาใช้งานตอนไหน ?
แน่นอนว่าการใช้งาน Canonical tag มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขและป้องกันปัญหาเนื้อหาซ้ำหรือคล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ พร้อมทำระบุว่าหน้าเว็บใดเป็นเนื้อหาที่เป็นต้นฉบับ หรือหน้าเว็บหลักที่ต้องการนำไปจัดอันดับ โดยบางคนอาจจะสงสัยว่า จะรู้ได้ไงว่าแท็กนี้ควรใช้งานเมื่อใด มาลองดูกรณีต่าง ๆ ที่ควรใช้งานแท็ก Canonical กันเลยดีกว่า ว่ามีตอนไหนบ้าง
1. เนื้อหาซ้ำกัน (Duplicate content) หลายหน้าเว็บไซต์
เรียกได้ว่าเป็นกรณีพื้นฐานที่ควรจำเป็นต้องใช้งานแท็ก Canonical อย่างยิ่ง ไม่ว่าเว็บไซต์นั้นจะเกิดปัญหาเนื้อหาซ้ำกัน จากกรณีใดก็ตาม ทั้งการคัดลอกเนื้อหา มาสร้างหน้าเว็บรองบ้าง, การสร้าง Landing Page ที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันบ้าง หรือการเข้าถึงเว็บไซต์ผ่าน URL ที่มีทั้งแบบ www และไม่ผ่าน www การใช้งานแท็กนี้จะช่วยระบุเนื้อหาต้นฉบับบนหน้าเว็บได้ทันที ทำให้เครื่องมือค้นหารู้ว่าหน้าเว็บนี้ควรเข้าไปเก็บข้อมูล และนำมาจัดอันดับ ส่วนหน้าเว็บที่เหลือที่มีเนื้อหาคล้ายหรือซ้ำกัน จะไม่สนใจและไม่ทำการเก็บข้อมูล
2. เว็บไซต์ E-commerce ที่มีหน้าสินค้าหลากหลาย และเนื้อหาเหมือนกัน
หน้าเว็บไซต์ E-commerce มักมีหน้าเว็บสินค้าหลายหน้าเว็บ และมีเนื้อหาประกอบอยู่ด้วยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินค้าที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน เช่น สี, ขนาด หรือรุ่นต่าง ๆ ซึ่งเว็บไซต์ E-commerce มักจะมีการสร้างหน้าเว็บสินค้าเหล่านี้โดยการคัดลอกเนื้อหามาใช้แบบเดียวกัน และเปลี่ยนในจุดบางจุดเพียงนิดเดียว ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเนื้อหาซ้ำซ้อนหรือคล้ายคลึงกันได้ ในกรณีแบบนี้แท็ก Canonical จะช่วยระบุหน้าสินค้าหลัก ที่มีเนื้อหาเป็นต้นฉบับ และทำให้เครื่องมือค้นหาอย่าง Google ไม่เกิดความสับสนในการจัดอันดับหน้าเว็บสินค้า
3. URL PARAMETERS
บางเว็บไซต์อาจมีการติดตั้งหรือใช้งานเครื่องมือบางอย่าง เช่น URL PARAMETERS เพื่อใช้สำหรับหน้าเว็บที่มีการ เรียงลำดับ, การกรอง ,การค้นหา หรือเปลี่ยนแปลงไปตามการใช้งานของผู้เข้าชม ซึ่งทำให้เนื้อหาบนหน้าเว็บที่ดูเหมือนกันไปหมด แต่มี URL ที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเนื้อหาซ้ำกันบนหน้าเว็บเพจหลาย ๆ หน้าบนเว็บไซต์เดียวกันได้ การใช้งานแท็ก Canonical จะช่วยระบุหน้าเว็บใดที่เป็นหน้าเว็บหลักได้ในทันที เพื่อป้องกันปัญหาเนื้อหาซ้ำกันที่ทำให้หน้าเว็บถูกลดอันดับลงได้
วิธีใช้งาน Canonical tag แบบเบื้องต้น
เมื่อได้รู้แล้วว่า Canonical tag มีประโยชน์และควรใช้งานในตอนไหนไปแล้ว ต่อไปหากอยากใช้งานแท็กดังกล่าว วิธีการนั้นค่อนข้างง่าย แต่ต้องใช้งานด้วยความระมัดระวังเช่นกัน โดยการใช้งานจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบดังนี้
1. ตั้งค่าโดยตรงผ่าน HTML
การตั้งค่าแท็ก Canonical ผ่าน HTML ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่เพิ่มแท็ก <link> ไปยังส่วน <head> ของหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการระบุว่าเป็นหน้าเว็บหลัก หรือเนื้อหาต้นฉบับเท่านั้น
<link rel=”canonical” href=”URL” />
จากตัวอย่างข้างต้น URL (สีแดง) คือ URL ของหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการระบุเป็นแหล่งต้นฉบับ หรือหน้าเว็บหลักที่ต้องการให้เครื่องมือค้นหาเข้ามาเก็บข้อมูลแล้วนำไปจัดอันดับเว็บไซต์ ทั้งนี้ควรใส่ URL แบบเต็ม และไม่ควรใช้แบบย่อโดยเด็ดขาด
2. ตั้งค่าผ่านปลั๊กอิน Yoast
หากเว็บไซต์ของคุณเป็นรูปแบบ WordPress และมีการติดตั้งปลั๊กอินอย่าง Yosat SEO อยู่ด้วย การใช้งานแท็ก Canonical จะง่ายขึ้นในทันที โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
- เปิดหน้าเว็บหรือโพสต์ที่คุณต้องการเข้าไปตั้งค่าในหน้า Dashborad ของ WordPress
- เลื่อนหน้าจอลงมายังที่แถบเครื่องมือ Yoast SEO (อยู่ด้านล่างของเนื้อหา)
- ไปที่แท็บ “Advanced”
- ในส่วนของเมนู “Canonical URL” ใส่ URL ของเว็บไซต์ที่คุณต้องการระบุเป็นแหล่งต้นฉบับลงไป แล้วทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพียงแค่นี้ก็เสร็จสิ้นการใช้งานแท็กนี้แล้ว
ข้อควรระวังในการใช้งาน Canonical tag
การใช้งาน Canonical Tag เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับเว็บไซต์ที่ทำ SEO ในการแก้ไขปัญหาเนื้อหาซ้ำกัน เพื่อให้เว็บไซต์ถูกจัดอันดับให้ดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจนำไปสู่ปัญหาการจัดอันดับของเครื่องมือได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การใช้งานแท็กนี้ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวังและให้ความสำคัญกับข้อควรระวังต่าง ๆ ดังนี้
การตั้งค่าไม่ถูกต้อง
แท็ก Canonical ควรถูกเพิ่มไปยังส่วน <head> ของ HTML หน้าเว็บไซต์เท่านั้น ไม่ควรนำไปวางในส่วนของ <body> หรือส่วนอื่น ๆ ของเว็บไซต์ เพราะจะทำให้เครื่องมือค้นหาไม่เจอการใช้งานแท็กนี้ และอาจทำให้เว็บไซต์มีการทำงานที่ซับซ้อน หรือซ้อนทับกับแท็กอื่น ๆ ได้
การใช้งานร่วมกับแท็กอื่น ๆ
ข้อควรระวังอย่างหนึ่งในการใช้งาน Canonical Tag คือการไม่ควรนำไปใช้งานร่วมกับแท็กอื่น ๆ ที่มีฟังก์ชันคล้ายคลึงกัน ยกตัวอย่างเช่น ‘noindex’ แท็กคำสั่งที่บอกเครื่องมือค้นหาว่าหน้าเว็บนี้ไม่ควรนำไปจัดอันดับบนหน้าผลการค้นหา การใช้งานแท็กร่วมกันอาจทำให้เครื่องมือค้นหาอย่าง Google ที่เข้ามาเก็บข้อมูลเกิดความสับสนว่าควรทำอย่างไรดี หากเจอการใช้งานแท็กที่ซ้อนทับกัน
เลือก URL ที่เหมาะสม
ในการตั้งค่าแท็ก Canonical ควรเลือก URL ที่เป็นเว็บหลักหรือเนื้อหาต้นฉบับที่เหมาะสม และต้องการให้เครื่องมือค้นหานำไปจัดอันดับ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ URL ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ หรือ URL ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ รวมไปถึงควรใส่ URL รูปแบบเต็มที่ไม่ใช่รูปแบบย่อ ยกตัวอย่างเช่น https://www.thaitopseo.co.th/seo/
บทสรุป Canonical tag เครื่องมือสำคัญในการป้องกันปัญหาเนื้อหาซ้ำกัน
เว็บไซต์ส่วนใหญ่มักเจอกับปัญหาเนื้อหาซ้ำกันแบบไม่รู้ตัว ซึ่งมันส่งผลเสียต่อเว็บที่ทำ SEO และต้องการให้หน้าเว็บถูกจัดอันดับ Canonical tag จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะมาช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาเนื้อหาซ้ำกัน ด้วยการระบุว่าหน้าเว็บใดมีเนื้อหาที่เป็นต้นฉบับ และเป็นหน้าเว็บที่จะให้เครื่องมือค้นหาอย่าง Google เข้ามาเก็บข้อมูล ซึ่งจะช่วยป้องกันการลดคะแนนของ SEO และเพิ่มความน่าเชื่อถือในการจัดอันดับของเว็บไซต์ นอกจากนี้แท็ก Canonical ยังช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดการใช้งาน URL ที่หลากหลาย แต่เนื้อหาเหมือนกันได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใช้งานผ่านทาง www และไม่ผ่าน www แต่ถึงกระนั้นการใช้งานแท็กนี้ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง ตรวจสอบให้แน่ใจทุกครั้งก่อนใช้งาน เพราะหากแท็กทำงานอย่างไม่ถูกต้อง จะกลายเป็นส่งผลเสียต่อการทำ SEO แทนได้เช่นกัน
สรุปให้เข้าใจง่ายเลย Canonical tag ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเนื้อหาซ้ำกันเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO ของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสการถูกจัดอันดับ และปรากฏบนหน้าผลการค้นหา