Content Calendar ใช้อย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

Picture of THAITOPSEO
THAITOPSEO
Content Calendar ใช้อย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

ในยุคที่เน้นความรวดเร็ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าการวางแผนและจัดการ Content ในแต่ละวัน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนั่นแหละ คือสิ่งที่ “Content Calendar” จะเข้ามาช่วยเติมเต็ม ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการบันทึกแผนการต่าง ๆ แต่ยังเป็นการให้ทางแนวคิดในการสร้างเนื้อหาที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ รวมถึงการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานซึ่งสามารถต่อยอดได้อย่างหลากหลาย แต่ถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่า Content Calendar เป็นเครื่องมือที่ช่วยเราได้มากเท่าไหร่ แต่การนำมาใช้ให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบนั้นจำเป็นต้องมีเทคนิคและวิธีการที่ถูกต้องมากกว่าการวางแผนปกติว่าจะลง content วันไหน ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปค้นพบความลับในการใช้งานเทคนิคดังกล่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการแผนงานให้เกิดความราบรื่นในที่สุด

ความสำคัญของ Content Calendar

Content Calendar หรือปฏิทินสำหรับการวางแผนเนื้อหา นับเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำงานในด้านการตลาดดิจิทัล เพราะนี่เปรียบเสมือนเป็นแนวทางในการจัดสรรและติดตามเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการนำไปเผยแพร่ได้อย่างดีเลยทีเดียว เป็นเรื่องที่มืออาชีพควรทำให้เป็นปกติ ไม่ว่าจะเพื่อตัวเราเองหรือง่ายต่อการนำเสนอในทีมหรือองค์กรเพื่อช่วยให้

วางแผนล่วงหน้า – ว่าเราจะเผยแพร่เนื้อหาอะไรในวันไหน ทำให้การจัดการเป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รักษาความสม่ำเสมอในการเผยแพร่เนื้อหา ทำให้ผู้ติดตามรู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะได้รับเนื้อหาใหม่ๆ และสร้างการรอคอยได้ การมีการวางแผนเนื้อหาอย่างมีระบบและสม่ำเสมอสร้างความเชื่อถือและความเป็นมืออาชีพให้กับแบรนด์

เพิ่มความมั่นใจ – ทำให้ทีมงานมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะรู้ว่าเนื้อหาไหนจะถูกเผยแพร่เมื่อไหร่ และเตรียมตัวได้ล่วงหน้าในกรณีที่อาจเกิดปัญหา

ป้องกันการซ้ำซ้อน – สามารถตรวจสอบได้ว่าเนื้อหาไหนได้ถูกเผยแพร่ไปแล้วหรือยัง ลดโอกาสที่เนื้อหาจะซ้ำซ้อนได้ อีกทั้งยังทำให้การนำเสนอเนื้อหา มีความต่อเนื่องอย่างสร้างสรรค์ได้อีกด้วย

การประสานงาน – สำหรับทีมงานที่มีหลายคน การใช้เครื่องมือนี้จะช่วยในการประสานงานและแบ่งหน้าที่ในการสร้างสรรค์ Content ได้ดี เพราะเราจะเห็นภาพรวมของการทำงานทั้งหมดตามไปด้วย

การวิเคราะห์ผล – เรื่องที่ดีอีกอย่างหนึ่งของการใช้เครื่องมือตัวนี้ก็คือ เราสามารถติดตามและวิเคราะห์ผลลัพธ์ของ Content แต่ละชิ้นได้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาปรับปรุงเวลาหรือวันในการลงเนื้อหาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

เราสามารถแบ่งการจัดการเนื้อหาออกเป็นประเภทไหนได้บ้าง?

เราสามารถแบ่งการจัดการเนื้อหาออกเป็นประเภทไหนได้บ้าง

การจัดเนื้อหาใน Content Calendar ควรจะเป็นระบบและสะดวกต่อการติดตาม ซึ่งแบ่งการจัดเนื้อหาสามารถทำได้ตามหลายแนวทาง ดังนี้

ตามเวลา

การจัดการเนื้อหา “ตามเวลา” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการสร้างและเผยแพร่เนื้อหา ซึ่งเนื้อหาออกสู่สาธารณะในเวลาที่เหมาะสมสามารถเพิ่มโอกาสในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเนื้อหารายวันเพื่อให้ผู้ติดตามได้รับความรู้และข้อมูลที่อัปเดตอยู่เสมอ หรือรายสัปดาห์ที่อาจมีเนื้อหาฉบับพิเศษ แม้กระทั่งรายเดือนที่อาจมีการเน้นวางโปรโมชั่น ไปจนถึงการวางเนื้อหาตามวันหยุด, เทศกาล, หรือวันสำคัญอื่นๆ เพื่อใช้วันเหล่านั้นให้สร้างผลกระทบได้มากที่สุด ก็เป็นอีกเรื่องที่ใช้ได้เช่นกัน โดยเห็นได้เลยว่าการวางแผนตามนี้จะง่ายและไม่ซับซ้อนอะไร แต่สิ่งที่ต้องสังเกตคือความสอดคล้องต่อเหตุการณ์นั่นเอง

ประเภทของเนื้อหา

เมื่อพูดถึงเนื้อหาในโลกดิจิทัล เรามักเห็นได้ถึงการนำเสนอผ่านประเภทต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อสื่อสารกับผู้ติดตาม ประกอบไปด้วย บทความ, วิดีโอ, อินโฟกราฟิก, โพสต์สั้นๆ, พอดคาสต์, E-book, แบบสอบถาม, รีวิว และอื่น ๆ นี่คือประเภทเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เราเห็นได้บ่อย โดยการใช้ Content Calendar ได้อย่างถูกต้องคุณจะต้องเจอกับการแบ่งประเภทการลงเนื้อหาให้เหมาะสมและถูกวันอีกด้วย จึงจะทำให้ภาพรวมของธุรกิจของคุณดูดีขึ้นและมีมิติมากขึ้น

เป้าหมายทางการตลาด

เป้าหมายทางการตลาดเป็นแนวทางหลักที่ใช้กำหนดแผนการทำงานของทีมการตลาด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ต้องการ การมีเป้าหมายชัดเจนทำให้ธุรกิจสามารถเน้นย้ำทิศทาง และปรับปรุงแผนการตลาดให้เหมาะสม โดยเราสามารถแบ่งออกได้เช่น การเพิ่มความรู้จักแบรนด์, สร้างความสนใจ, สร้างยอดขาย, เพิ่มการแชร์, เสริมสร้างฐานลูกค้า, เพิ่มการเข้าถึงตลาด, หรือเพื่อการสร้างความไว้วางใจ สิ่งเหล่านี้คือผลลัพธ์ทางการตลาดที่เราอาจพิจารณาสื่อหรือเนื้อหาของเราได้ว่าควรตอบโจทย์เป้ามหายทางการตลาดอย่างไร และนำมาใช้เผยแพร่ได้ในช่วงเหตุการณ์ที่สมควร

หมวดหมู่หรือหัวข้อ

การแบ่งเนื้อหาตามหมวดหมู่หรือหัวข้อทำให้เนื้อหามีระบบ ชัดเจน และสามารถไปถึงเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอีกแง่หนึ่งที่เราสามารถทำให้การวางแผนงานของเรามีความหลากหลายได้เข่นกัน ยกตัวอย่างเช่น สุขภาพ, ธุรกิจ, เทคโนโลยี, ท่องเที่ยว โดยการแบ่งหมวดเช่นนี้จะทำให้เราสามารถจัดการได้ตามแผนงานว่าในแต่ล่ะช่วงเราควรใช้เนื้อหาแบบไหนเพื่อให้เหมาะสมและสามารถทำให้เนื้อหาเกิดความสมดุลได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเสนอเกี่ยวกับวาไรตี้ที่จะต้องมีเนื้อหาที่หลากหลาย

อิงกลุ่มเป้าหมาย

เรียกได้ว่าเป็นการแบ่งตาม Persona เพื่อทราบถึงความต้องการและความสนใจของกลุ่มเป้าหมายและจัดเนื้อหาเพื่อเสนออย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น อายุ, เพศ, อาชีพ, แหล่งที่อยู่อาศัย และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เรารู้ได้ว่าเราควรจัดเนื้อหาอย่างไรให้เสิร์ฟผู้ชมได้ตรงตามเวลาที่พวกเขาต้องการ

ช่องทางการเผยแพร่

ปัจจุบันการทำการตลาดออนไลน์จะพยายามกระจายช่องทางการเข้าถึงไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้หลากหลาย ตึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ตัวแพลตฟอร์มเดียวเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของการแบ่งเนื้อหาตามช่องทาง เช่น เว็บไซต์, โซเชียลมีเดีย, อีเมล, หรือหมวดโฆษณาช่องทางอื่น ที่ยังต้องจัดด้วยว่าการลงเนื้อหาแบบไหนจะเหมาะสมกับช่องทางไหนมากที่สุด

เหตุการณ์หรือกิจกรรม

การแบ่งเนื้อหาตามกิจกรรมหรือเหตุการณ์พิเศษ เช่น วันหยุด, ธรรมะ, โปรโมชันพิเศษ, หรือเทศกาลต่างๆ จะทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าเราจะทำอะไร และต้องการให้เนื้อหาออกมาเป็นแบบไหน ซึ่งเหล่า Creator ส่วนมากอาจมีการวางแผนนำเสนอกันเป็นรายปีเพื่อล็อกวันเหล่านี้ไว้ในการเสนอเนื้อหาที่พิเศษ

การวางแผน Content Calendar

การวางแผน Content Calendar

การวางแผน Content Calendar เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญสำหรับทีมการตลาด เพื่อให้สามารถแผนกิจกรรมการสร้างเนื้อหาและเผยแพร่ได้อย่างระบบ โดยนอกเหนือจากเราจะได้ประเภทของเนื้อหามาแล้วเรายังต้องมีการดูด้วยเช่นกันว่ากว่าที่จะใส่ข้อมูลเข้าไปในเครื่องมือเหล่านี้สิ่งที่เราต้องนำมาจัดก็จะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 เรื่อง ดังนี้

  1. การกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์
    เริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายหลักของเนื้อหา เราควรรู้ก่อนว่าหัวข้อที่เรากำลังจะเขียนลงไปนั้นได้บอกถึงอะไร มีเป้าหมายอย่างไรทางธุรกิจ โดยในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่หลายคนอาจคิดแค่ว่าตัวเองอยากเสนอเรื่องอะไรแล้วใส่ลงไป แต่ความจริงแล้ว เรายังต้องเขียนจุดประสงค์ที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนอีกด้วยว่าเราจะวัด KPI จาก Content เหล่านั้นได้อย่างไรให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด
  2. การวิเคราะห์ตลาดและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
    ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตลาด เพื่อทราบถึงแนวโน้ม, ความต้องการ, และปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายมี คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้เรากำหนดกรอบการทำงานได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อคุณบอกว่าการนำเสนอเนื้อหาควรมีผลที่เป็นไปในทางบวกต่อธุรกิจ นี่ก็คือโจทย์สำคัญที่คุณเข้าใจลูกค้าของคุณว่าพวกเขาต้องการอะไร และเราก็เลือกที่จะให้เขาได้อย่างตรงจุดพอดี นี่คือสิ่งที่เรียกว่าการเรียบเรียงแผนงาน ซึ่งคุณจำเป็นต้องรู้ว่าควรจะนำเอา content ตัวเองไปอยู่ใน Position ไหนเพื่อให้ผู้ชมสามารถที่จะ Impact มากที่สุด เพื่อสามารถตอบสนองและสร้าง ความสัมพันธ์ได้ดี
  3. การกำหนดช่วงเวลาและระยะเวลาของเนื้อหา
    กำหนดช่วงเวลาในการเผยแพร่เนื้อหา โดยพิจารณาจากความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด โดยการกำหนดระยะเวลาในการสร้างเนื้อหาอาจจะระบุเป็น วันที่เริ่มต้น, วันที่สิ้นสุด, หรือระยะเวลาในการอัปเดตเนื้อหา โดยพิจารณาความถี่ในการเผยแพร่ เช่น รายวัน, รายสัปดาห์, หรือรายเดือน เพื่อให้สามารถสร้างความสนใจและความสัมพันธ์กับผู้ติดตามได้อย่างต่อเนื่อง

เมื่อทั้ง 3 เรื่องมารวมกันจะทำให้เราเห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่าในแต่ละวัน เราควรที่จะเสนอเรื่องอะไรแบบไหน และจัดตารางอย่างไรเพื่อให้การนำเสนอ Content เป็นไปได้อย่างลื่นไหลและสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด

ติดตามวัดผลการใช้ Content Calendar

ติดตามวัดผลการใช้ Content Calendar

การติดตามและวัดผลของ Content Calendar เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ทราบว่าแผนการตลาดที่เราวางไว้ได้ทำงานอย่างไร และเนื้อหาที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยสามารถดูได้จากด้านต่างๆ ดังนี้

  1. ผู้เข้าชมเว็บไซต์ – ตรวจสอบจำนวนผู้เข้าชม, เวลาที่ใช้ในการเข้าชม, และหน้าเว็บไซต์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดผ่านเครื่องมือเช่น Google Analytics เพื่อวัดผลได้ว่าเราสามารถที่จะทำ content ได้ตรงจุดหรือไม่
  2. การแสดงผลบนโซเชียลมีเดีย – ตรวจสอบจำนวนการแชร์, ไลก์, และความคิดเห็นที่เนื้อหาบนโซเชียลมีเดียเช่น Facebook, Instagram, Twitter ผ่านเครื่องมือวิเคราะห์จะทำให้เรารู้ว่า Content ของเรามีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับผู้ชม
  3. การเข้าถึงข้อมูล – ดูการดาวน์โหลด, การสมัครสมาชิก, หรือการส่งความคิดเห็นจากผู้ใช้งานเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรานำเสนอ ในจุดนี้ค่อนข้างที่จะเป็นรูปธรรมสำหรับการคาดหวังผลลัพธ์ทางธุรกิจเบื้องต้น และเป็นอีกจุดหนึ่งที่นักการตลาดสามารถที่จะเลือกนำมาปรับปรุงแก้ไขได้
  4. ความสนใจและปฏิสัมพันธ์ – ดูจากการตอบกลับของผู้ใช้งาน เช่น การร่วมสนทนา, การแสดงความคิดเห็น, หรือแม้แต่การส่งคำถามผ่านช่องทางติดต่อ โดยอย่าลืมว่าการใส่ Call to Action เข้าไปจะช่วยให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์กับเราได้มากขึ้น
  5. Conversion Rate – วัดว่าผู้เข้าชมที่เข้ามาจากเนื้อหาของเรานั้นได้ดำเนินการตามที่เราต้องการหรือไม่ เช่น การสั่งซื้อสินค้า, การสมัครสมาชิก, หรือการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม เรียกได้ว่าเป็นปลายทางของการทำการตลาดที่จะชี้วัดผลสำเร็จได้ดีทีเดียว

สรุป: การใช้ Content Calendar ให้ได้ผลอยู่ที่การวางแผนอย่างรัดกุม

การตลาดในยุคปัจจุบันนั้นมีความซับซ้อนและการแข่งขันมากขึ้น เราไม่สามารถหวังว่าจะสร้างเนื้อหาขึ้นมาแล้วโพสต์ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการวางแผนซึ่งไม่ได้เกิดผลดีหรือการติดตามผลที่คาดหวังได้เลยจากการทำเช่นนั้น ซึ่งนับเป็นโชคดีที่เรามี Content Calendar เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการและวางแผนเนื้อหาอีกตัวหนึ่งที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก โดยปัจจุบันก็มีเครื่องมือให้เราใช้อย่างหลากหลาย เพื่อช่วยการวิเคราะห์และเข้าใจความต้องการและปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย กำหนดเนื้อหาสิ่งที่จะรองรับกับความต้องการของตลาดที่ชัดเจน และการเตรียมตัวสำหรับการติดตามและวัดผลเพื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ได้

และเมื่อเราสามารถวางแผนเนื้อหาอย่างรัดกุม การติดตามและวัดผลจะเป็นเสมือนเครื่องมือในการตรวจสอบและปรับปรุงการตลาดเนื้อหาของเราให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เราสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีคุณภาพ และตอบรับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างตรงจุด

Search
Categories