มาทำความรู้จักกับ Google Analytics ที่จะมาทำให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงเส้นชัยมากขึ้น

Picture of THAITOPSEO
THAITOPSEO
Google Analytics

Google Analytics หรือ (GA) เป็นบริการของ Google สามารถใช้งานได้ฟรี ใช้เพื่อสำหรับเก็บสถิติผู้เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์ และนำมาวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อโฆษณา การหาสิ่งที่ผู้เข้าเยี่ยมชมให้ความสนใจ หรือเนื้อหาอื่น ๆ บนเว็บไซต์ของเรา และจะแสดงผลในลักษณะกราฟิก เพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์เข้าถึงข้อมูลทางสถิติของตัวเองแบบ Real-Time


ประโยชน์ของ Google Analytics

ประโยชน์ของ Google Analytics

Google Analytics จะมีประโยชน์ในเชิงธุรกิจอย่างมาก เนื่องจากถูกออกแบบมา เพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถรับทราบข้อมูลเชิงสถิติ เกี่ยวกับผู้ที่เข้ามาใช้บริกา รเว็บไซต์ของตัวเอง ข้อมูลดังกล่าวจะครอบคลุม ช่องทางการเข้าถึงเว็บไซต์ ( Acquistion Report), ลักษณะผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ (Audience Report), พฤติกรรมของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ (Behavior Report) รวมทั้งสถิติการเข้าชมในแต่ละหน้าเว็บไซต์ (Conversion Report) เพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถนำมาข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาใช้วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการตลาดให้ดียิ่งขึ้น

วิธีการติดตั้งและใช้งาน

วิธีการติดตั้ง Google Analytics


สำหรับผู้ที่สนใจอยากใช้ GoogleAnalytics มาเก็บข้อมูลสถิติเว็บไซต์ของตัวเองสามารถเข้าไปติดตั้งได้ด้วยตนเอง โดยวิธีการติดตั้งดังนี้

1. พิมพ์ในช่อง URL

http://www.google.com/analytics/ ซึ่งติดตั้งง่ายและไม่มีค่าใช้จ่ายนอกจากนี้สามารถผูกกับบัญชี Google Ads เพื่อช่วยวิเคราะห์ภาพรวมของการทำโฆษณาได้ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น

2. Sign in

เข้าใช้งานด้วยบัญชีของ Gmail เพื่อสร้างบัญชี หลังจากนั้นกดปุ่ม Start measuring เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไป

3. ระบบจะพามาสู่หน้า Create account

ซึ่งหน้านี้เป็นส่วนที่สำคัญมากจะประกอบไปด้วยรายละเอียดย่อย 3 ส่วน ดังนี้

  • Account setup
  • Measure tab
  • Property Setup

4. การสร้างบัญชี Account setup

เราต้องระบุ Account name ลงไป ขอแนะนำว่าควรใส่ชื่อองค์กรที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ลงไป ซึ่งหนึ่ง Account name อาจมีหลายเว็บไซต์ก็ได้ เมื่อระบุ Account name แล้ว ในส่วนของ Data Sharing Setting ให้กดเลือกทั้งหมด เพราะระบบมันสามารถแชร์ข้อมูลกับ adwords account (เครื่องมือเพื่อใช้ทำการโฆษณาออนไลน์บนเครือข่ายของ Google) และ Benchmark (เกณฑ์การเปรียบเทียบบริบททางธุรกิจว่าองค์กรมีความโดดเด่นเรื่องอะไร)

5. การเลือกเมนู Measure tab

ในส่วนนี้เราต้องเลือกว่า อยากจะให้การนำเสนอข้อมูลถูกนำเสนอผ่าน Measure tab แบบใด เช่น เว็บไซต์, แอปพิเคชั่น, หรือ ทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เมื่อเลือกเสร็จก็ไปสู่หน้า Property setup

6. การตั้งค่า Property Setup ให้กรอกข้อมูลดังนี้

  • Website Name : ช่องนี้ให้ใส่ชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการ
  • Website URL : ช่องนี้ให้ใส่ URL ของเว็บไซต์ ใส่แค่ .com หรือ .co.th
  • Industry Category : ช่องนี้ให้เลือกประเภทธุรกิจหรือเนื้อหาของเว็บไซต์เรา เช่นเราเป็นเว็บไซต์ขายของก็เลือก shopping
  • Time Zone : เลือกประเทศที่ตั้งของธุรกิจ

เมื่อกรอกข้อมูลครบหมดแล้วให้กดที่ Create ด้านล่างสุด จะมีหน้าต่าง pop up ขึ้นมาให้กด Checkbox เพื่อยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการใช้งาน แล้วกด I Accept

7.เมื่อกด I accept แล้วก็จะเข้ามายังหน้า Property

ซึ่งในหน้านี้จะมีส่วนที่เรียกว่า Tracking Code อยู่ เราจะต้อง copy โค้ดนี้ไปแปะไว้ทุกหน้าในเว็บไซต์ของเรา ตรงนี้หากเราทำเองไม่ได้ ให้ส่ง code นี้ไปให้คนที่ทำเว็บไซต์ของเราติดตั้งให้ เท่านี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อย หลังติดตั้งโค้ดเสร็จข้อมูลจะยังไม่เข้าทันทีอาจจะต้องรอสักพักหนึ่ง เพื่อให้google มันอัพเดตระบบให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน

วิธีการใช้งาน Google Analytics

คุณสามารถดูผลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก GoogleAnalytics ได้ดังนี้

  1. เมื่อเปิดเข้ามายังบัญชีที่ได้สมัครเอาไว้หน้าแรก หน้าเว็บก็บอกข้อมูลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงลึก เวลาที่คนกดเข้าชม ผู้ใช้งานมาจากช่องทางไหน และอยู่พื้นที่ใด
  2. การแสดงผลข้อมูล เว็บเพจที่กำลังใช้งานอยู่ (อยู่ซ้ายมือบนสุดของหน้าจอ) บ่งบอกได้ว่าผู้ใช้งานกำลังอยู่ใน Property และแอปพลิเคชันใด
  3. หากอยากเปลี่ยนเว็บเพจ คลิกตรงข้อมูลเว็บไซต์แล้วเลือกเว็บเพจอื่นได้
  4. รายงานผล สิ่งที่เราจะสามารถดูได้จากการรายงานผลของ GoogleAnalytics คือ

4.1 Audience Report

คือ ข้อมูลที่รายงานผลผู้เข้าชมเว็บไซต์ในรูปแบบข้อมูลเชิงภูมิประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ เมืองที่อยู่อาศัย หรือ ความสนใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์

4.2 Acquistion Report

คือ ข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นช่องทางธรรมชาติ (Organic), ช่องทางโฆษณา, ช่องทาง Social Media หรือช่องทางอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อมายังเว็บไซต์ของเรา

เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมว่ามีผู้ใช้งานทั้งรายเก่าและรายใหม่รับรู้และแล้วเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้มากแค่ไหน เข้าถึงได้จากแคมเปญอะไร

และยังสามารถแสดงข้อมูลของผู้เข้าชมได้ด้วยว่ามาจาก คีย์เวิร์ดอะไร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการตัดสินใจเลือกช่องทางในการทำการตลาด

4.3 Behavior Report

คือ รายงานที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลว่าเว็บไซต์ของเรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์มากน้อยแค่ไหน

ทั้งยังช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมการเข้าใช้งานในแต่ละหน้าเว็บไซต์ได้ว่าผู้ใช้งานเข้าหรือออกจากหน้าเว็บไซต์อะไรบ้าง

แต่ละหน้าเว็บไซต์ถูกโหลดขึ้นมากี่ครั้ง อยู่ในหน้าเว็บไซต์นั้นนานแค่ไหน รวมถึงยังสามารถบอกความเร็วเฉลี่ยในการโหลดแต่ละหน้าเว็บไซต์ได้อีกด้วย

4.4 Conversion Report

คือ รายงานเพื่อใช้วิเคราะห์ความสำเร็จของจุดมุ่งหมายที่เราตั้งไว้ ยกตัวอย่างเช่น การลงทะเบียนบนเว็บไซต์ การสั่งซื้อสินค้าและการชำระเงินบนเว็บไซต์

ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ได้ด้วยว่าตั้งแต่เริ่มเข้าเช้างานเว็บไซต์จนกระทั่งผ่านขั้นตอนทั้งหมด

จนมาจบที่กระบวนการซื้อขายนั้นใช้เวลาเท่าไร ลำดับการเข้าชมแต่ละหน้าเว็บไซต์เป็นอย่างไร และใช้หน้าเวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์ไหนมากหรือน้อยที่สุด

คีย์เวิร์ดลับน่ารู้ที่จะมาช่วยค้นหาข้อมูลใน Google ให้ง่ายขึ้น

คีย์เวิร์ดลับของ Google Analytics

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องการอยากเขียนบทความ SEO ลงบนเว็บไซต์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึงพาการใช้ระบบ GoogleAnalytics มาช่วยแสดงผลการค้าหาบทความที่ผู้คนสนใจใน Google เพื่อที่คุณจะได้วางแผนเขียนบทความแนว SEO ของคุณให้ติดอันดับบนเว็บไซต์ ซึ่งเราก็มีคีย์เวิร์ดลับฉบับเข้าใจง่ายและจำเป็นมาช่วยให้การค้นหาข้อมูลของคุณใน google ให้ง่ายขึ้น

1 .พิมพ์เครื่องหมายคำพูด และพิมพ์สิ่งที่ค้นหา “สิ่งที่ต้องการค้นหา” ลงบน Google ผลลัพธ์ที่ได้คือ ระบบ GoogleAnalytics จะตัดคีย์เวิร์ดคำที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่คุณต้องการจะค้นหาไม่ให้แสดงผลออกมา ทำให้คุณเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการจะค้นหาได้มากขึ้น

2. พิมพ์คำว่า Site: ระบุสิ่งที่คุณกำลังค้นหา ลงบน Google ผลลัพธ์ที่ได้คือ ระบบ GoogleAnalytics จะเชื่อมโยงสิ่งที่คุณค้นหาไปยังเว็บไซต์เฉพาะของสิ่งนั้น

3. พิมพ์คำว่า Allintitle:สิ่งที่คุณกำลังจะค้นหา ลงบน Google ผลที่ได้รับคือ ระบบ Googl Analytics จะประมวลสิ่งที่คุณค้นหา ว่ามีผู้คนที่ค้นหาเรื่องเดียวกับคุณอยู่กี่คน และแสดงผลการค้นหาด้านบนสุดของเว็บไซต์ทั้งหมด เพื่อให้คุณสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า บทความ SEO ของคุณจะมีแนวโน้มเข้าไปติดอันดับการค้นหาในเว็บไซต์มากน้อยแค่ไหน

4. พิมพ์คำว่า Block url: ชื่อองค์กร.com ลงบน Google ผลที่ได้รับคือ ระบบ GoogleAnalytics จะแสดงผลเว็บบล็อคที่เกี่ยวข้องกับองค์กรที่คุณกำลังค้นหา เพื่อให้คุณเพื่อให้คุณได้เข้าถึงข้อมูลหลักที่จำเป็นมากขึ้น

สรุป การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล Google Analytics

GoogleAnalytics คือเครื่องมือที่ช่วยเจ้าของเว็บไซต์เก็บข้อมูลผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยรายงานผล ผ่านการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ผ่านการแสดงสถิติรูปแบบกราฟิก ซึ่งข้อมูลรายงานผลประกอบด้วย

  1. ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์เกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการเข้าถึงเว็บไซต์ของผู้เยี่ยมชม
  3. ข้อมูลรายงานพฤติกรรมของผู้เยี่ยมชมที่เข้ามาในเว็บไซต์
  4. วิเคราะห์ความสำเร็จของเป้าหมายที่เราได้วางเอาไว้ใน GoogleAnalytics เพื่อให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถนำรายงานผลที่ผ่านการวิเคราะห์ด้วย GoogleAnalytics มาช่วยในการวางแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
Search
Categories