ระบบใน การจัดอันดับของ Google สามารถวิเคราะห์และพิจารณาจัดอันดับการค้นหาได้แบบอัตโนมัติ จากเว็บไซต์ที่มีจำนวนมากบน Google โดยวิธีจัดอันดับนั้นมาจากการวัดค่าดัชนีการ Search และทั้งนี้ก็เพื่อการนำเสนอข้อมูลผลการค้นหาที่ถูกต้องที่สุดโดยใช้ระยะเวลาที่สั้น โดยทาง Google จะมีการปรับปรุงระบบเหล่านี้อยู่เป็นประจำเสมอ โดยผ่านการทดสอบและการประเมินที่เข้มงวด และจะมีการประกาศเกี่ยวกับการอัปเดตต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลที่แม่นยำและเป็นประโยชน์
BERT Algorithm
Algorithm ที่ชื่อว่า BERT ย่อมาจาก Bidirectional Encoder Representations from Transformers เป็นระบบ AI ของ Google ที่ใช้เพื่อช่วยให้เราเข้าใจถึงชุดคําต่าง ๆ และหมือนเครื่องมือที่ทำให้สามารถเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ (NLP) ได้ดีขึ้นโดยเป็นการสื่อถึงความหมายและความตั้งใจที่แตกต่างกัน
– ระบบการให้ข้อมูลภาวะวิกฤต (Crisis information systems)
Google ได้พัฒนาระบบนี้ก็เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในทันทีในกรณีเกิดภัยพิบัติ กรณีที่เกิดเหตุชุลมุนในวงกว้างจนอาจต้องมีการแจ้งภัยอพยพ
หรือแม้แต่งกรณีที่เป็นภัยวิกฤตส่วนบุคคล โดยทาง Google สามารถแบ่งการให้ข้อมูลการเตือนภัยได้สองกรณีหลัก ๆ ดังนี้
• กรณีภาวะวิกฤตส่วนบุคคล
ระบบจะมีการทำงานเพื่อเข้าถึงการขอความช่วยเหลือขั้นวิกฤตส่วนบุคคลทันที เมื่อมีส่งคำร้องเข้ามาโดยจะมีการต่อสายด่วนหรือการให้ข้อมูลจากองค์ที่สามารถเชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้อง
ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัวตาย การล่วงละเมิดทางเพศ การได้รับสารพิษ หรืออาการติดยาเสพติด ทั้งหมดนี้ทาง Google จะมีการเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงข้อมูลภาวะวิกฤตส่วนบุคคลใน Google Search
• กรณีการแจ้งเตือน SOS
ในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือสถานการณ์วิกฤตที่แพร่กระจายเป็นวงกว้าง ระบบการแจ้งเตือน SOS จะทำงานเพื่อแสดงข้อมูลอัปเดตจากหน่วยงานในท้องถิ่น ในประเทศ หรือในต่างประเทศ
ข้อมูลอัปเดตเหล่านี้อาจรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และเว็บไซต์สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ยกตัวอย่างเช่น กรณีน้ำท่วม ไฟป่า แผ่นดินไหว พายุเฮอร์ริเคน และภัยพิบัติอื่น ๆ เป็นต้น
– ระบบการกรองข้อมูลที่ซ้ำกันออก (Deduplication systems)
จากการค้นหาบน Google ทั่วโลกที่มีหน้าเว็บไซต์เป็นจำนวนมากเป็นเรื่องปกติที่จะมีการค้นหาที่ซ้ำกันดังนั้น ในกรณีที่มีการแสดงผลออกมาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องและอยู่ในอันดับต้ ๆ เนื่องจากมีการกดเข้าชมบ่อย อาจทำให้ผู้ใช้อาจได้ข้อมูลที่ซ้ำ ๆ กัน ดังนั้นแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนที่ไม่มีประโยชน์ ทาง Google
จึงมีการกรองข้อมูลที่ซ้ำกันออกจะทำกับตัวอย่างข้อมูลแนะนำด้วย หากข้อมูลหน้าเว็บหนึ่งได้รับการยกระดับเป็นตัวอย่างข้อมูลแนะนำ Google จะไม่แสดงผลข้อมูลซ้ำในภายหลังในหน้าแรกของผลการค้นหา ซึ่งจะทำให้ผลการค้นหามีความเป็นระเบียบและช่วยให้ผู้คนค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น
– ระบบโดเมนที่ทำงานแบบตรงทั้งหมด (Exact match domain system)
ระบบ การจัดอันดับของ Google มีการพิจารณาคำในชื่อโดเมนเป็นปัจจัยหนึ่งในการดูว่าเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการค้นหาหรือไม่ โดยระบบโดเมนของการทำงานแบบตรงทั้งหมดจะทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ให้เครดิตมากเกินไปสำหรับเนื้อหาที่โฮสต์ภายใต้โดเมนซึ่งออกแบบมาให้ตรงกับคําค้นหาที่เจาะจง
– ระบบมีการให้ข้อมูลที่มีความใหม่ (Freshness systems)
Google มีเครื่องมือที่จะคอยตรวจสอบคําค้นหาที่สมควรได้รับผลการค้นหาที่ใหม่อยู่เสมอจำนวนหลายเครื่องมือ ตัวอย่างของคําค้นหาที่คาดว่าจะได้พบ เช่น หากมีคนค้นหาเพลงใหม่ของนักร้องที่มีชื่อเสียง ผู้ใช้อาจต้องการรีวิวหรือเนื้อหาล่าสุดมากกว่าบทความเกี่ยวกับเพลงนั้น ข้อมูลของอัลบั้มนั้น ๆ หรือแม้กระทั่งข้อมูลของนักร้องที่เป็นบทความใหม่ ๆ ทั้งหมด เป็นต้น
– ระบบมีการให้เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ (Helpful content system)
Google ได้มีการออกแบบการแสดงผลของเนื้อหามาโดยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาต้นฉบับให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีความแม่นยำมากที่สุด แทนที่จะให้เนื้อหาที่ทำให้เกิดการเข้าชมผ่านเครื่องมือค้นหาเพียงเท่านั้น
– ระบบมีการวิเคราะห์ลิงก์และเพจแรงก์ (Link analysis systems and PageRank)
Google มีระบบต่าง ๆ สำหรับคอยวิเคราะห์ว่าหน้าเว็บลิงก์กันอย่างไร และเพื่อใช้ดูว่าหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร และเว็บไซต์ไหนที่เหมาะสมหรืออาจเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับข้อความค้นหาหนึ่งๆ โดยหนึ่งในระบบเหล่านั้นคือ เพจแรงก์ เป็นระบบการที่มีผลต่อการจัดอันดับหลัก ๆ ที่ใช้เมื่อ Google เปิดตัวเป็นครั้งแรก
– ระบบการให้ข่าวท้องถิ่น (Local news systems)
Google มีระบบที่ทำงานในการระบุและแสดงแหล่งที่มาของข่าวในพื้นที่เมื่อใดก็ตามที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น ผ่านฟีเจอร์ “ข่าวเด่น” และ “ข่าวท้องถิ่น”
MUM Algorithm
MUM Algorithm หรือ Multitask Unified Model เป็นระบบ AI ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ช่วยทำความเข้าใจข้อมูลของคำที่มีการใช้ในการค้นหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ Google สามารถหลีกเลี่ยงความซับซ้อนเหล่านั้นในแสดงผลการค้นหาออกมาได้ แต่ในปัจจุบัน MUM ก็ไม่ได้นำมาใช้ในการจัดอันดับทั่วไปใน Search อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีการใช้กับแอปพลิเคชันบางอย่างที่เจาะจงอีกด้วย
– การจัดอันดับของ Google มีการจับคู่ด้วยระบบนิวรัล (Neural matching)
การจับคู่ด้วยระบบนิวรัล เป็นระบบ AI ของ Google ที่ใช้ในการจับคู่ เพื่อทำความเข้าใจการนําเสนอแนวคิดในคําค้นหาและหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ให้มีความสอดคล้องกัน
– ระบบ การจัดอันดับของ Google มักจะแสดงเนื้อหาต้นฉบับ (Original content systems)
Google มีระบบที่ช่วยในเรื่องของการแสดงเนื้อหาต้นฉบับในผลการค้นหาอย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึงการระบุเว็บไซต์ที่เป็นต้นฉบับก่อนรายการที่เป็นเพียงเว็บไซต์ที่ใช้แค่การอ้างอิงเนื้อหาจากต้นฉบับดังกล่าว โดยรวมถึงการรองรับมาร์กอัป Canonical แบบพิเศษเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าหน้าเว็บไซต์ไหนคือหน้าหลัก ในกรณีหน้าเว็บไซต์ที่มีข้อมูลซ้ำนั้นมีจำนวนมาก
– ระบบการลดระดับเนื้อหาที่ใช้การอ้างอิงเป็นหลักออก (Removal-based demotion systems)
Google มีนโยบายที่อนุญาตให้นําเนื้อหาบางประเภทออกจากอันดับการค้นหาทันทีได้โดยหากมีการประมวลผลและได้รับการร้องเรียนถึงหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ Google จะมีการใช้สัญญาณดังกล่าวในการปรับปรุงผลการค้นหาและการจัดอันดับในที่สุด โดยการนำข้อมูลออกสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบหลัก ๆ ดังนี้
• การนําเนื้อหาออกตามกฎหมาย
เมื่อ Google ได้รับคำขอให้นำออกเนื่องจากมีการละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมากในเว็บไซต์ Google จะใช้จำนวนคำขอเหล่าน่านั้นในการลดระดับของเนื้อหาอื่น ๆ จากเว็บไซต์นั้นในผลการค้นหาทันที เพื่อลดโอกาสที่ผู้เข้ามาค้นหาอาจจะเจอเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ที่อาจมีอยู่ในเว็บไซต์นั้น ๆ
แต่เมื่อเทียบกับเนื้อหาต้นฉบับ Google จะมีการใช้สัญญาณของการลดระดับที่คล้ายจากการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาท ในเรื่องของการลอกเลียนแบบสินค้า โดยอาจมีการนำเว็บไซต์นั้นออกตามคำสั่งศาลในที่สุด
• การนำข้อมูลส่วนบุคคลออก
หาก Google พบเจอการนำข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากในเว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่อาจเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ ทาง Google จะลดระดับเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์นั้นทันที
นอกจากนี้ทาง Google ยังอาจใช้แนวทางในการลดระดับที่คล้ายกันกับเว็บไซต์ที่ตั้งใจรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นเพื่อกลั่นแกล้งออกเป็นจำนวนมาก และทำการปกป้องอัตโนมัติโดยป้องกันไม่ให้รูปภาพส่วนตัวซึ่งไม่ได้รับความยินยอมได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสูงอีกด้วย
– ระบบมีการประเมินประสบการณ์การใช้งานของหน้าเว็บ (Page experience system)
เพื่อให้ผู้ใช้พอใจมากยิ่งขึ้นเมื่อทำการค้นหาข้อมูล ทาง Google จึงมีระบบที่ช่วยประเมินเว็บไซต์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่ดีของเว็บไซต์นั้น ๆ อยู่เสมอ โดยจะจัดให้เว็บไซต์นั้นให้อยู่ในอันดับต้น ๆ ของการค้นหา โดยหลักเกณฑ์หลัก ๆ ที่ Google ใช้ในการประเมิน คือ ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ ความเหมาะสมที่จะใช้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการเข้าถึงเว็บไซต์
และที่สำคัญคือหากหน้าเว็บนั้นไม่มีโฆษณาคั่นที่รบกวนผู้ใช้หรือมีลักษณะที่ปลอดภัยอย่างเห็นได้ชัด กรณีนี้ถ้าหากมีการจับคู่ที่ตรงกันจำนวนมากและเนื้อหามีความเกี่ยวข้องค่อนข้างสูง Google ก็จะให้ความสำคัญกับหน้าเว็บไซต์ประเภทนี้ก่อนเสมอ
– ระบบ การจัดอันดับของ Google มีการจัดอันดับข้อความ (Passage ranking system)
การจัดอันดับข้อความเป็นระบบ AI ที่เราใช้เพื่อระบุแต่ละส่วนหรือ “ข้อความ” ของหน้าเว็บ เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าหน้าเว็บเกี่ยวข้องกับการค้นหามากน้อยแค่ไหน
– ระบบการรีวิวผลิตภัณฑ์ (Product reviews system)
หากเป็นเว็บไซต์ที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในงานวิจัยต้นฉบับ หรือการให้ข้อมูลเนื้อหาที่ถูกเขียนขึ้นจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือผู้ที่สนใจในการให้ความรู้ในหัวข้อนั้น ๆ อย่างถูกต้องแล้วนั้นจะทำทาง Google รีวิวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการให้รางวัล
RankBrain Algorithm
RankBrain Algorithm เป็นระบบ AI ที่มีหน้าที่หลักในการช่วยประมวลผลการค้นหาใน Google Search และช่วยในการจัดอันดับผลลัพธ์ของการค้นหาที่ช่วยให้เราทราบว่าคำต่าง ๆ นั้นว่ามีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดแบบไหน โดยการทำความเข้าใจเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคำและแนวคิดอื่น ๆ Google จะสามารถแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างดีถึงแม้จะไม่มีคำค้นหาที่ตรงกันทั้งหมดก็ตาม
– ระบบข้อมูลที่เชื่อถือได้ (Reliable information systems)
ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เลย ระบบจึงจะให้คำแนะนำกับเนื้อหาโดยอัตโนมัติเกี่ยวกับหัวข้อที่ข้อมูลนั้น ๆ หรือหากเมื่อระบบไม่มั่นใจในคุณภาพโดยรวมของผลการค้นหาที่ได้แสดงผลออกมา ก็จะมีการแสดงคำแนะนำที่เป็นทางลัดในการค้นหาที่อาจนำไปสู่ผลการค้นหาที่มีประโยชน์และตรงกันมากขึ้น
– ระบบความหลากหลายของเว็บไซต์ (Site diversity system)
ระบบจะความหลากหลายของเว็บไซต์ทำงานเพื่อให้ Google ไม่แสดงข้อมูลจากเว็บไซต์เดียวกันมากกว่า 2 หน้าขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีเพียงเว็บไซต์เดียวที่ได้แสดงในผลการค้นหาที่อยู่ในอันดับต้นๆ แต่ในกรณีที่ระบบรู้สึกว่าเนื้อหากับการค้นหามีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษอาจยังแสดงมากกว่า 2 หน้าได้
– การจัดอันดับของ Google มีระบบตรวจจับสแปม (Spam detection systems)
ตัวนี้ตรวจจับสแปม ซึ่งรวมถึง SpamBrain ในการจัดการกับเนื้อหาและพฤติกรรมที่ละเมิดนโยบายสแปม ระบบเหล่านี้มีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอเพื่อตามให้ทันสถานการณ์ล่าสุดของภัยคุกคามสแปม เพื่อเป็นการลดข้อความสแปมที่มีจำนวนมาก ซึ่งหากจัดการกับสแปมไม่ได้ก็จะไม่สามารถแสดงผลการค้นหาที่มีประโยชน์และเกี่ยวข้องได้
– ระบบที่เลิกใช้แล้ว (Retired systems)
ระบบนี้เป็นการที่บันทึกข้อมูลเว็บไซต์ไว้เพื่อเก็บไว้เป็นประวัติ โดยข้อมูลจะถูกรวมอยู่ในระบบต่อมาเรื่อย ๆ เพื่อเป็นอีกส่วนหนึ่งใน การจัดอันดับของ Google Search
Hummingbird Algorithm
Hummingbird Algorithm เป็นชื่อของแพลตฟอร์มการค้นหาที่ Google ได้เลือกใช้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2013 เป็นต้นมาจนถึง 2023 ปัจจุบันนี้โดยได้มีการปรับปรุงระบบมาเรื่อย ๆ และชื่อ Hummingbird นี้ก็มาจาก “ความแม่นยำและความรวดเร็ว” ที่เปรียบเสมือน “นกฮัมมิงเบิร์ด” ระบบมีการออกแบบมาเพื่อให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อมูล รวมถึงความหมายและจุดประสงค์ในการค้นหา โดยจะมีคำนึงถึงความต้องการของผู้ค้นหามากเป็นอันดับแรก
– ระบบ การจัดอันดับของ Google มีความเหมาะสมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile-friendly ranking system)
หากมีการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ในการค้นหา Google และเมื่อมีการจับคู่ที่ตรงกันจำนวนมากระหว่างคำค้นหาและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ระบบจะจัดการจัดอันดับความเหมาะสมของเว็บไซต์กับอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยจะให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่แสดงผลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ดีก่อนเสมอ
– ระบบ Page Speed (Page speed system)
ได้มีการประกาศใช้ในปี 2018 และมีการใช้มาถึงปี 2023 ปัจจุบันนี้ โดย Page Speed เคยถูกเรียกในชื่อ “Speed Update” ซึ่งความหมายของชื่อมีความสอดคล้องกับหน้าที่ โดยในกรณีที่เมื่อปัจจัยทุกอย่างอยู่ในระดับที่เท่ากันหมด ก็จะวัดที่ความเร็วกว่าของการโหลดเนื้อหา และปัจจัยนี้ก็เหมาะสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่จะปรากฎเว็บไซต์ที่มีปัจจัยนี้แรก ๆ โดยต่อมาระบบนี้ได้มีการรวมเข้ากับระบบประสบการณ์การใช้งานของหน้าเว็บไซต์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น
– ระบบ Panda (Panda system)
Panda system มีการประกาศระบบตั้งแต่ปี 2011 และมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ใช้ในการจัดอันดับหลักในปี 2015 และใช้มาถึงปัจจุบันในปี 2023 นี้ โดยมีหน้าที่หลักเพื่อดูแลให้เนื้อหาที่มีคุณภาพสูงหรือเป็นเนื้อหาต้นฉบับที่ได้ปรากฏในผลการค้นหาให้ดียิ่งขึ้น
– ระบบ Penguin (Penguin system)
ประกาศให้เริ่มใช้ระบบนี้ในปี 2012 และเคยใช้ชื่อว่า “Penguin Update” ซึ่งต่อมาได้มีการผสานรวมเข้ากับระบบการจัดอันดับหลักในปี 2016 จนถึงปัจจุบันมาเรื่อย ๆ ในปี 2023 โดยมีหน้าที่หลัก คือ เพื่อต่อสู้กับการโดนสแปมลิงก์ของเว็บไซต์
– ระบบเว็บไซต์ที่ปลอดภัย (Secure sites system)
ระบบนี้ได้มีการประกาศในปี 2014 และถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันในปี 2023 โดยระบบนี้ช่วยกระตุ้นการเติบโตของเว็บไซต์ ในกรณีที่เมื่อปัจจัยทุกอย่างอยู่ในระดับที่เท่ากันแล้ว เว็บไซต์ที่ปลอดภัยโดยจะมี HTTPS อยู่ส่วนหน้าสุดของชื่อเว็บไซต์และถึงแม้จะไม่เป็นที่นิยมแต่ เว็บไซต์นี้ก็จะถูกจัดอยู่ในอันดับที่ดีของ Google Search ดังนั้นโดยต่อมาระบบนี้ได้มีการรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสบการณ์การใช้งานหน้าเว็บไซต์ด้วย เช่นกัน
สรุปส่งท้าย ทำไมเราจึงต้องติดตามการ update ของระบบ การจัดอันดับของ Google
อย่างที่ทราบกันดีว่า Google Algorithm มีการปรับปรุงระบบอยู่เป็นประจำ เนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้ง ส่งผลให้การจัดอันดับแสดงผล มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย อาจทำเว็บไซต์ของเรา เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ รวมไปถึงกฎระเบียบ ที่ผู้ทำ SEO ก็ต้องอัปเดตอยูเสมอ หากมีการทำผิดกฎ ก็จะมีผลเสียที่ตามมา สิ่งที่ธุรกิจต้องมีคือ การเตรียมความพร้อมรับมือกับการแก้ไขปัญหา กับระบบ การจัดอันดับของ Google