จะดีแค่ไหน ถ้าในวันนี้คุณมีเครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้การใช้งานบนแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลมีเดียของคุณเฉียบขาดมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการทำธุรกิจ การบริการ หรือการสร้างสรรค์เนื้อหาต่าง ๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ชมได้อย่างอยู่หมัด โดยนักการตลาดหลายคนเชื่อว่าเมื่อไรก็ตาม ที่เรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับบางอย่างได้มากพอ นั่นหมายความว่าเราจะสามารถที่ทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าตัวไหนที่จะขายดี เนื้อหาแบบไหนที่คนชอบดู หรือแม้แต่จะเลือกทางไหน ที่ทำให้รู้ว่าลูกค้ากำลังคิดอะไรและเจอกับปัญหาแบบใดอยู่ ซึ่ง Kalodata นี้เองที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์เรื่องนี้ได้อย่างยอดเยี่ยมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับแพลตฟอร์ม Tiktok โดยเฉพาะ
Kalodata คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง และเหมาะกับใคร?
Kalodata เป็นแพลตฟอร์มที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2565 เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล Data บน TikTok โดยตรงซึ่งในตอนนั้นมีผู้ใช้บริการเริ่มต้นไปมากถึง 1,000 User ด้วยการให้บริการข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นยอดวิว, ยอดไลก์, ยอดแชร์, ยอดผู้ติดตาม, รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับครีเอเตอร์ ไปจนถึงข้อมูลของสินค้าและบริการที่ถูกโปรโมตผ่าน TikTok ทำให้เจ้าสิ่งนี้กลายเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการและนักการตลาดที่ต้องการเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้ TikTok ได้เป็นอย่างดี โดยมีข้อมูลที่สามารถช่วยให้พวกเขาสามารถวางแผนกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้อย่างแม่นยำ ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถวิเคราะห์ตลาดในไทยได้เท่านั้น แต่ยังสามารถข้อมูลวิเคราะห์ได้ถึง 6 ประเทศเลยทีเดียว (ในอนาคตอาจมีมากกว่านี้)
เรียกได้ว่าแพลตฟอร์มนี้เหมาะกับกลุ่มผู้ประกอบการและนักการตลาดที่ต้องการใช้ TikTok (สามารถอ่าน “TIKTOK กับการโปรโมทธุรกิจ” ได้ที่นี่ คลิก) เป็นช่องทางในการขยายธุรกิจเพื่อหา Insights เพิ่มโดยข้อมูลดังกล่าวจะตอบโจทย์ 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่
ผู้ขาย: เป็นบุคคลหรือองค์กรที่ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือบริการอยู่บนแพลตฟอร์ม Tiktok มีความคาดหวังในการจำหน่ายสินค้าให้ได้ตามเป้าหมาย
ครีเอเตอร์: บุคคลหรือองค์กรที่สร้างสรรค์เนื้อหา เช่น วิดีโอ รูปภาพ บทความ ฯลฯ เป็นผู้ที่ให้ความรู้หรือความบันเทิง มีจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานให้ดูหรือมีปฏิสัมพันธ์กับช่องมากที่สุด
เอเจนซี่: องค์กรที่ให้บริการด้านการตลาดหรือประชาสัมพันธ์ ผู้ที่พยายามมองหาความต้องการของกลุ่มลูกค้าและเชื่อมโยงให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำธุรกิจร่วมกัน
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็สามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากแพลตฟอร์มนี้ในการวิเคราะห์ความนิยมของสินค้า, ความสำเร็จของแคมเปญ, หรือเพื่อหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนี่คือสิ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้ TikTok และวางแผนการตลาดที่เหมาะสม ทั้งยังสามารถวัดผลความสำเร็จของแคมเปญการตลาดที่ทำไปควบคู่กันได้ด้วย
หลักการทำงานของ Kalodata มีส่วนช่วยในเรื่องอะไรบ้างบน Tiktok?
การทำงานในองค์ประกอบหลักของแพลตฟอร์มนี้จะประกอบด้วยหลายส่วนที่ทำงานร่วมกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจและใช้ประโยชน์จากข้อมูลบน TikTok ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะสังเกตได้ว่าเราสามารถนำไปช่วยได้ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis): ฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเห็นภาพรวมของผลประกอบการของเนื้อหาที่พวกเขาเผยแพร่ รวมถึงการวิเคราะห์ความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมของผู้ชมได้อย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดการนำไปต่อยอดพัฒนาการช่องทางการทำ Tiktok ได้ดีขึ้น
การติดตามเมตริก (Metrics Tracking): ติดตามข้อมูลเชิงลึกที่บอกเกี่ยวกับการดูวิดีโอ, การคลิกไลค์, การแชร์, และคอมเมนต์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจถึงการตอบรับของผู้ชม โดยในส่วนนี้จะช่วยทำให้ Creator สามารถปรับแต่ง Content ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การพยากรณ์แนวโน้ม (Trend Forecasting): แพลตฟอร์มนี้ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์เพื่อทำนายแนวโน้มกระแสที่กำลังมาแรง ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาที่ตรงตามความต้องการของตลาดอย่างทันท่วงที
การจัดการเนื้อหา (Content Management): จัดการและวางแผนเนื้อหาได้ภายในแพลตฟอร์ม เพื่อให้การปล่อยวิดีโอเป็นไปอย่างราบรื่นและมีระบบ โดยคุณสามารถดูข้อมูลได้ค่อนข้างลึก ซึ่งจะมีผลกับการคิด Content ในอนาคต
การทำงานร่วมกับข้อมูลจากแพลตฟอร์มอื่น (Integration with Other Platforms): สามารถนำข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกไปยังแพลตฟอร์มอื่น เพื่อการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมมากขึ้น
การปรับเปลี่ยนการตั้งค่า (Customizable Settings): ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการตั้งค่าเพื่อให้ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าการแจ้งเตือนหรือการรายงานข้อมูล ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการจัดการ Content หรือสรุปรายงาน
การสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support): ช่วยในการตัดสินใจโดยการเสนอข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงเนื้อหาตามข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ ช่วยในเรื่องของการนำไปประยุกต์กับการทำการตลาดใหม่ ๆ หรือการสร้างแคมเปญต่าง ๆ ได้ตามสถานการณ์
ด้วยองค์ประกอบหลักเหล่านี้เราบอกได้เลยว่าแพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ผู้ใช้ TikTok จากหลากหลายกลุ่มสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์และสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะนี่คือเครื่องมือสำคัญที่ได้บอกทุกอย่างที่คุณควรรู้ไว้ให้อย่างครอบบคลุม
ฟีเจอร์หลักของ Kalodata ที่เปลี่ยนโลกการทำ Tiktok ของคุณให้ดีขึ้น
หากคุณเคยใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ Data มาก่อน คุณอาจรู้สึกปวดหัวกับการนั่งมองตัวเลขต่าง ๆ จนตาลาย แต่สำหรับฟีเจอร์ของ Kalodata เป็นสิ่งที่แตกต่างและมีความเรียบง่ายมากกว่านั้นเนื่องจากมันได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างลื่นไหลที่สุดพร้อมมีบทเรียนให้เราได้เรียนรู้ว่าควรใช้เครื่องนี้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยสามารถแบ่งฟีเจอร์ออกเป็น 7 ส่วนหลัก ๆ ได้ดังนี้
1. หน้าหลัก
สำหรับหน้านี้จะเป็นภาพรวมของแพลตฟอร์มเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะไปที่ไหนโดยจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วนใหญ่ ๆ นั่นก็คือ
1.1 การเรียนรู้
เป็นส่วนที่จะแนะนำผู้ใช้มือใหม่ว่า “จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจใน TikTok ด้วย Kalodata ได้อย่างไร?” โดยในส่วนนี้จะประกอบไปด้วยการแนะนำบทเรียนต่าง ๆ พร้อมมีการอัปเดตความรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเตรียมความพร้อมก่อนลงมือทำจริง
1.2 การติดตาม
ในกรณีที่เราทำการติดตามช่องใน Tiktok ไว้ ส่วนนี้ก็จะทำหน้าที่ปักหมุดช่องดังกล่าวเพื่อให้เราสามารถเข้าไปดูได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องกดค้นหา เพื่อดูความเคลื่อนไหวและปฏิสัมพันธ์ในช่องดังกล่าวว่ามีการทำอะไรบ้างในแต่ละวัน มีการอัปโหลดวิดีโอหรือไลฟ์ตอนไหน รวมถึงไม่พลาดกับการจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่ร้านค้าจัดไว้ให้
1.3 ไลฟ์และวิดีโอยอดนิยม
ในส่วนนี้จะทำการแนะนำไลฟ์และวิดีโอยอดนิยมจากการจัดอันดับของยอดผู้เข้าชมหรือยอดขาย เพื่อให้เรารู้ว่าเทรนด์ในตอนนี้กลุ่มตลาดกำลังสนใจเรื่องอะไรหรือสนใจใคร เพื่อนำมาต่อยอดในการเลือกสินค้าหรือ influencer ได้ถูกต้อง
ประเทศและหมวดหมู่
2. ประเทศและหมวดหมู่
ภาพรวมของหน้านี้จะบอกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับหลายส่วนที่ปลีกย่อยออกไปเยอะพอสมควรเรียกได้ว่าเป็นการสำรวจ insights ที่จะช่วยคุณสามารถกำหนดได้ว่าอยากรู้อะไร โดยประกอบไปด้วย
2.1 รายได้แยกตามประเทศ
คือข้อมูลที่จะแสดงสัดส่วนของรายได้ในแต่ละประเทศว่าประเทศไหนมีการเติบโตหรือยอดขายเป็นอะไร พร้อมการวิเคราะห์แนวทางการเติบโตของประเทศนั้น ๆ ว่าจะมีการเติบโตไปมากแค่ไหน อาจถูกใช้เพื่อเป็นการเปรียบให้เห็นภาพของเทรนด์ที่จะถูกแลกเปลี่ยนกันระหว่างประเทศในอนาคต
2.2 ค้นหาหมวดหมู่ที่มีศักยภาพ
เป็นส่วนที่มีหลายองค์ประกอบให้เราเลือก ไม่ว่าจะเป็นหมวดหมู่เช่น เสื้อผ้าสตรีและชุดชั้นใน, แฟชั่นชาวมุสลิม, เครื่องประดับแฟชั่นกีฬาและกิจกรรมกลางแจ้ง, สิ่งทอและเครื่องตกแต่งที่ใช้วัสดุผิวนุ่ม, ความงามและของใช้ส่วนตัว เป็นต้นซึ่งมีมากมายให้เลือก รวมไปถึงการสำรวจ รายได้ของร้าน, อัตราการเติบโตของรายได้, รายได้เฉลี่ยของร้านค้าเดียว, ระดับหมวดหมู่, อัตราส่วนรายได้ของร้านค้า 3 อันดับแรก, อัตราส่วนรายได้ของร้านค้า 10 อันดับแรก เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ แต่ต้องบอกว่าข้อมูลส่วนนี้เราจำเป็นต้อง “อัปเกรดเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม” ถึงจะดูได้แบบเต็ม ๆ
3. ร้านค้า
ในส่วนของร้านค้านับเป็นฟีเจอร์เด็ดที่หลายคนต้องชอบ เนื่องจากมันได้ตอบโจทย์ด้วยข้อมูลที่ค่อนข้างจะครบครันสำหรับการนำไปวิเคราะห์เพื่อต่อยอด ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่หาสินค้าหรือคนที่ต้องการวิเคราะห์ธุรกิจของตัวเอง ซึ่งจะทำการเลือกได้เลยว่าคุณอยากดูข้อมูลจากหน้าร้านในหมวดอะไร ซึ่งจะมีข้อมูลธุรกิจตามตัวอย่างดังนี้
3.1 ข้อมูลประวัติย้อนหลัง
เป็นการค้นหาว่าคุณได้ติดตามเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงไปแล้วกี่ครั้ง โดยเจาะรายละเอียดไปพร้อมกันด้วยว่า ในร้านที่เราเลือกดูพวกเขาสามารถทำกำไรพร้อมสร้างผู้ติดตามไปแล้วเท่าไรในแต่ละวัน
3.2 กลยุทธ์การขาย
จัดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์เพื่อบอกว่าร้านดังกล่าวมีการใช้กลยุทธ์อย่างไรในการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนที่เข้ามาจากการไลฟ์หรือลงวิดีโอก็ตาม โดยเรายังสามารถกดเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยว่าเราใช้กลยุทธ์เชิงลึกแบบไหนที่ดึงดูดผู้คนได้ดีในแต่ละ Content พร้อมตัวชี้วัดอีกหลายอย่างที่บอกว่า Content ของเราประสบความสำเร็จมากแค่ไหน ทั้งยังบอกถึงที่มาของรายได้จากทั้งบัญชีของตัวเองหรือพันธมิตรด้วย
3.3 กลยุทธ์สินค้า
ตัวบ่งบอกภาพรวมว่าช่องที่เปิดอยู่นั้น “ขายอะไร” โดยจะทำการแสดงสินค้าต่าง ๆ พร้อมรายได้ให้เห็นต่อหน่วยอย่างชัดเจน สินค้ายอดนิยมต่าง ๆ ว่ามีการจัดโปรโมชั่นอย่างไร ซึ่งจะทำให้เราสามารถนำไปต่อยอดการเสนอสินค้าได้ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น
4. ครีเอเตอร์
ในหน้านี้คือข้อมูลสำหรับครีเอเตอร์ (Creator) เพื่อใช้ในการหาเทรนด์การตลาดรวมถึงไลฟ์หรือวิดีโอที่กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในกรณีที่คิดไม่ออกว่าจะทำ Content อะไรดี หรืออยากที่จะเสาะหารูปแบบของการนำเสนอที่คนส่วนใหญ่ชอบ ในหน้านี้จะค่อนข้างตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว แต่ในทางกลับกันข้อมูลชุดนี้ก็จะสามารถวัดความนิยมรวมถึงรายละเอียดของครีเอเตอร์ได้เช่นกันว่าติดตลาดมากแค่ไหน เพื่อให้เอเจนซี่สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อเลือกใช้ในฐานะ Reviewer, influencer หรือ Collabs กับแบรนด์ต่าง ๆ ได้ด้วย
5. สินค้า
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าติดกระแสตอนนี้ ฟีเจอร์ของแพลตฟอร์มนี้ก็จัดเต็มพร้อมให้คุณได้ใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะนี่คือการเจาะข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงเพื่อให้ธุรกิจของคุณอยู่เหนือกว่าคู่แข่ง โดยการศึกษาจากตลาดได้ว่าตอนนี้ใครกำลังสนใจสินค้าแบบใด และควรสร้าง content แบบไหนขึ้นมาตอบโจทย์ ช่วยให้คุณวิเคราะห์แนวโน้มได้อย่างเฉียบขาดพร้อมรู้เหตุผลด้วยว่าทำไมในแต่ละรายการถึงได้รับความนิยมและมียอดขายอย่างไรในช่วงเวลาต่าง ๆ โดยเครื่องมือนี้จะดึงข้อมูลให้คุณอย่างละเอียดเพื่อวิเคราะห์ที่มาที่ไปและแนวโน้มได้อย่างน่าสนใจ
6. ไลฟ์
การไลฟ์เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะทำให้ช่องของคุณออกสู่สายตาของผู้ชมได้มากขึ้น และที่สำคัญ tiktok ก็ดูจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ไม่น้อยทีเดียว โดยสำหรับฟีเจอร์นี้จะเป็นการบอกค่าต่าง ๆ ของคนที่ไลฟ์อยู่ว่ามีแนวโน้มขายสินค้าได้มากเท่าไร จำนวนผู้ชมเป็นอย่างไร มีการติดตามมากขึ้นแค่ไหน ไปจนถึงฟังก์ชันเด็ดอย่างการอัดหน้าจอไลฟ์ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อจะช่วยให้คุณสามารถศึกษาวิธีการไลฟ์ของคนที่คุณติดตามไว้ดูย้อนหลังได้
นอกจากนี้ฟีเจอร์ดังกล่าวยังแสดงสินค้าด้วยว่าในขณะที่ช่องกำลังไลฟ์พวกเขามีการปักสินค้าใดไว้ที่ตะกร้าและยังแสดงยอดขายด้วยว่าในขณะไลฟ์นั้น ช่องดังกล่าวได้ทำเงินไปแล้วเท่าไร ทำให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลาว่าอะไรจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การไลฟ์มีความนิยมขึ้นหรือลงในขณะนั้น
7. วิดีโอ
วิดีโอเรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของรูปแบบการนำเสนอบน Tiktok เลยก็ว่าได้ จึงไม่แปลกถ้าหากว่าฟีเจอร์นี้จะมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ที่จะช่วยบอกคุณได้ว่าสถานการณ์ภาพรวมทั้งของช่องที่คุณกำลังทำอยู่หรือตัววิดีโอที่คุณลงไปมีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับผู้ใช้งาน ที่สำคัญในฟีเจอร์นี้ยังมีระบบช่วยแสดงด้วยว่าวิดีโอตัวไหนที่ผ่านการยิง Ads แล้วยังสามารถหาข้อมูลได้อีกว่าเจ้าของคลิปได้ทำการตลาดด้วยกลยุทธ์แบบไหนเพื่อให้คลิปมีความโดดเด่นและถูกนำเสนอมากขึ้น
โดยรวมแล้วจะเป็นการบอกสถานะเบื้องต้นของวิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นการประเมินดูผู้เข้าชม การสร้างรายได้ แนวโน้มที่วิดีโอจะถูกเสนอ หรือการใช้งานฟังก์ชันย่อย เช่น การหยิบวิดีโอที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบให้คุณได้ดูด้วยว่ามีเนื้อหาคล้ายคลึงกันอย่างไร หรือแม้แต่ฟังก์ชันการวิเคราะห์เวลาที่จะลงคลิป ว่าช่วงไหนมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็อยู่บน ฟีเจอร์นี้ด้วย พูดได้เลยว่ามีความครบเครื่องพอที่จะทำให้เราสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Kalodata มีความคุ้มค่ามากแค่ไหนในการใช้งาน
Kalodata อาจมีความคุ้มค่าอย่างมากสำหรับ Content Creator ที่ใช้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มหลักในการตลาดและสื่อสารกับผู้ติดตาม เนื่องจากมีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างลึกซึ้ง ด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลายของแพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้สร้าง Content สามารถติดตามแนวโน้ม, ความนิยมของเนื้อหา, และพฤติกรรมของผู้ชมได้ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อหาและการเติบโตของช่องได้
แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราอาจต้องกลับมาดูที่เรื่องของจุดประสงค์เช่นกันว่า ความคุ้มค่าของแพลตฟอร์มขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง เพราะถ้าหากคุณเป็นผู้ที่ทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซใน TikTok สิ่งนี้คือสิ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ข้อมูลล่วงหน้าเพื่อจับทิศทางตลาดได้ ด้วยการเห็นถึงปัจจัย เช่น งบประมาณในการตลาด, ขอบเขตของคอนเทนต์ที่ต้องการสร้าง, และความสามารถในการใช้ข้อมูลที่ได้มาเพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิผล
สำหรับบางคนนี่อาจเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น เพราะมองว่าคุณสมบัติพื้นฐานของ TikTok เองก็เพียงพอแล้วสำหรับการสร้างและวิเคราะห์คอนเทนต์ของพวกเขา แต่ท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่รุนแรงในบางครั้งเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องมือเหล่านี้เอง ที่จะทำให้เรากุมความได้เปรียบเพื่อสามารถเห็นเส้นทางที่จะไปต่อได้มากกว่าคนอื่น
อนาคตของ Kalodata จะเป็นอย่างไร ส่งผลกระทบมากแค่ไหนกับ Tiktok
Kalodata มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ทำให้ผู้ประกอบการและนักการตลาดจึงต้องการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้ เพื่อนำไปใช้ในการขยายธุรกิจของตนบนแพลตฟอร์มนี้ และด้วยการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้ TikTok บอกได้เลยว่านี่คือการยกระดับประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด รวมไปถึงการวิเคราะห์คู่แข่งที่ทำให้ แพลตฟอร์มนี้กำลังจะกลายเป็นแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลที่ครบวงจรที่ล้ำไปมากกว่าเดิม
ที่สำคัญเลยก็คือ ด้วยการวางเมตริก (Metrics) ใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาเติมเต็มการวิเคราะห์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มันจะกลายเป็นกุญแจที่ช่วยให้เกิดการเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้ TikTok อย่างลึกซึ้งช่วยส่งเสริมการเติบโตของ TikTok ไปอีกด้านเพื่อให้ผู้ประกอบการและนักการตลาดหันมาใช้งานแพลตฟอร์มนี้มากขึ้น ทำให้ TikTok เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กันไปได้ด้วย
บทสรุป: Kalodata ตัวช่วยที่พลาดไม่ได้สำหรับผู้ใช้ Tiktok
เรียกได้ว่ายังมีฟีเจอร์อื่น ๆ ที่มีการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งเรามองว่า Kalodata นั้นเหมาะกับทั้งมือใหม่และมืออาชีพ เพราะจุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้คือการย่อยข้อมูลต่าง ๆ ให้เราแบบง่ายที่สุดเพื่อที่จะดูภาพรวมได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีการสนับสนุนการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งบทความความรู้ คลิปวิดีโอ หรือแม้แต่การมีโรงเรียน Kalo ให้เราได้ศึกษาข้อมูลอีกมากมาย
ที่สำคัญเรายังสามารถการติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยตรงเพื่อรับคำแนะนำต่าง ๆ ในเชิงลึกได้ และด้วยความครบเครื่องแบบนี้เองที่ทำให้ผู้ใช้งานต่างเห็นว่า แพลตฟอร์มนี้จะเป็นอีกหนึ่งในส่วนสำคัญที่นักการตลาดให้ความสนใจและจะช่วยให้ยกระดับการใช้ Tiktok ได้อย่างเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น