โลกอินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยเว็บไซต์มากมาย และเว็บไซต์ได้กลายเป็นเส้นทางหนึ่งของการเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก แน่นอนว่าในมุมมองของธุรกิจการจะใช้เว็บไซต์ของตัวเองให้โดดเด่นและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายลูกค้าได้เป็นสิ่งยากลำบาก การรับทำ SEO จึงกลายเป็นหนึ่งในวิธีการที่ไม่เพียงแค่ช่วยให้เว็บไซต์ได้ปรากฏสู่สายตาของผู้ใช้งาน จนนำไปสู่การเพิ่มยอดขายได้ แต่มันยังช่วยในแง่ของธุรกิจในการสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างยั่งยืน
แต่ว่าการทำ SEO ไม่ใช่แค่เพียงการใส่หรือใช้งานคำหลัก (Keyword) ลงไปในเว็บไซต์เท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องมีความเข้าใจในหลาย ๆ ด้าน เช่น การวิเคราะห์เว็บไซต์, การสร้างลิงก์ที่มีคุณภาพ, การสร้างเนื้อหา คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ, การวิเคราะห์และประเมินคู่แข่ง และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่หนึ่งในส่วนเล็ก ๆ ที่อยู่ในหัวใจหลักอย่าง Keyword ที่มักถูกมองข้ามเลยคือ Keyword difficulty (ระดับความยากของคำหลัก) แล้วมันคืออะไร ทำไมถึงมีความสำคัญกับการทำ SEO ในบทความครั้งนี้จะพาไปคำตอบกันให้ชัดเจน แล้วเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เพื่อให้การทำ SEO ของคุณนั้นง่ายขึ้นไปในอีกระดับหนึ่ง
Keyword difficulty คืออะไร
Keyword difficulty หรือ ความยากของคำหลัก / คีย์เวิร์ด เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงระดับความยากของคำหลักนั้น ๆ ในการติดอันดับหน้าผลการค้นหา (SERP) เป็นหนึ่งในคำที่นักการตลาดและนัก SEO ใช้เรียกกันในเชิงทางการตลาดออนไลน์ หรือบางคนอาจจะเรียกกันว่า SEO difficulty แต่เรื่องชื่อเรียกอะไรนั้นไม่สำคัญ ใจความของสำคัญของมันคือ ความยากในการแข่งขันที่ทำให้คำหลักนั้นติดอันดับหน้าผลการค้นหา
ค่าความยากของคำหลักจะวัดได้จากเครื่องมือทางการตลาดหรือ SEO เท่านั้น เช่น Ahrefs หรือ Kyeword Tool โดยในแต่ละเครื่องมือจะมีการแสดงค่าคะแนนความยากของคำหลักที่ไม่เหมือนกัน บางเครื่องมืออาจจะแสดงเป็นแค่ตัวเลขจาก 1 – 100 แต่ไม่ได้บอกว่ายากระดับไหน บางเครื่องมืออาจมีบอกทั้งตัวเลขและระดับความยากอย่างชัดเจน
ภาพตัวอย่างคะแนน Keyword ของคำว่า anchor text บนเครื่อง ahrefs
ที่มา : ahrefs.com
ดังนั้นการเข้าใจถึงระดับความยากของคำหลัก จะช่วยให้คุณเข้าใจได้ในทันทีว่าต้องใช้ความพยายามมากน้อยแค่ไหนในการสร้างเนื้อหาสำหรับคำหลัก ๆ นั้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงและวางแผนในใช้คำหลักนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้อันดับที่ดีบนหน้าผลการค้นหาได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและพลังงานอย่างสูญเปล่า กล่าวได้นัยหนึ่งว่าการเข้าใจในความยากของคำหลัก เป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้การทำ SEO ของคุณนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยให้คุณสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานค้นหาได้อย่างแม่นยำและตรงจุดมากขึ้นอีกด้วย
Keyword difficulty วัดค่าความยากจากอะไรบ้าง ?
มีเครื่องมือทางการตลาดหรือ SEO ที่ให้ค่าคะแนนความยากของคำหลักโดยเฉพาะ แม้ว่าการให้คะแนนความยากดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับปัจจัยในการจัดอันดับของ Google แต่โดยส่วนมากจะเน้นไปที่ความเกี่ยวข้องของเนื้อหาและ Backlink ในคำหลักของแต่ละเว็บไซต์
โดยระดับความยากของคำหลัก จะคำนวณได้หลายจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น จำนวนลิงก์ที่มีคุณภาพไปยังหน้าเว็บไซต์ที่มีติดอันดับสูง ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณตรวจสอบคำหลักอย่าง “หนังสือพิมพ์ ประจำวัน” อัลกอริทึมจะเช็กดูหน้าที่ติดอันดับสูงสุดของ “หนังสือพิมพ์ ประจำวัน” และนับจำนวน Backlink ที่มายังหน้าเว็บเหล่านั้นว่ามีมากน้อยแค่ไหน ยิ่งมีมาก ยิ่งติดอันดับได้ยาก ถ้ามีน้อย ทำให้ติดอันดับได้ง่าย แต่ถึงกระนั้นปัจจัยในการวัดค่าความยากไม่ได้มีเพียงแค่ Backlink เพียงอย่างเดียว มาลองดูกันเลยดีกว่า ว่าระดับความยากของคำหลัก วัดจากอะไรบ้าง ?
คุณภาพของ Backlink
Google มักให้ความสำคัญ และต้องการให้ผู้ค้นหาได้รับเนื้อหาที่มีคุณภาพเสมอ และส่วนหนึ่งที่จะพิจารณาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพให้ขึ้นอยู่อันดับแรก ๆ เลยคือ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์และหน้าที่ลิงก์ไปหา หรือที่เรียกกันว่า Backlink โดยลิงก์ที่เชื่อมโยงไปหาเว็บไซต์ต้องมีคุณภาพและมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมีลิงก์ไปยังสถาบันวิจัยและห้องสมุด การลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันจะทำให้ตัวเว็บนั้นมีความน่าเชื่อถือที่สูงขึ้น ยิ่งเว็บไซต์นั้นมีความน่าเชื่อถือและมีลิงก์เชื่อมโยงมากเท่าไร จะยิ่งเป็นตัวชี้วัดค่าความยากของคำหลัก ๆ นั้นให้สูงขึ้นเท่านั้น เช่น Keyword ของเว็บไซต์มหาลัยที่มีความน่าเชื่อถือสูง คือ “มหาลัย” Keyword ดังกล่าวจะมีระดับความยากต่อการติดอันดับสูง ๆ มาก และทำให้ผู้ใช้ Keyword เดียวกันต้องแข่งขันกันมากขึ้น
Domain authority
Domain authority หรืออำนาจของโดเมนเกี่ยวข้องกับคุณภาพของเนื้อหา ว่าโดเมนเว็บดังกล่าวมีความเชี่ยวชาญ และเกี่ยวข้องกับเนื้อหามากน้องเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์หนังสือ อยู่ ๆ มาวันหนึ่งเปลี่ยนมาทำโพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับโทรศัพท์ ซึ่ง Google จะมองทันทีว่าเว็บไซต์ดังกล่าวไม่มีอำนาจมากพอ และลดความสำคัญลง โดยระดับความยากของคำหลัก จะถูกวัดในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน ยิ่งมีโดเมนเว็บที่ใช้คำหลัก (Keyword) นั้นมีอำนาจสูงมากและมีจำนวนมากเท่าไร ยิ่งส่งผลต่อความยากในการจัดอันดับของคำหลักนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน
คุณภาพของเนื้อหา (Content)
คุณภาพของเนื้อหานับเป็นเงื่อนไขของทั้งอำนาจโดเมนและคุณภาพของลิงก์ ซึ่งส่งผลต่อระดับความยากของคำหลักนั้นด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายว่า เว็บไซต์ที่ไม่มีอำนาจของโดเมนหรือไม่มี Backlink ที่มีคุณภาพ ตัวบ่งชี้เดียวที่เหลืออยู่คือ เนื้อหา (Content) และเว็บไหนที่มีเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงจะติดอันดับแรก ๆ ได้ง่ายในทันที และเมื่อดูจากมุมมองของระดับความยากของคำหลัก ถ้าไม่มีเว็บไซต์ใดที่มีเนื้อหาคุณภาพเลย จะง่ายต่อการแข่งขันให้เว็บติดอันดับแรก ๆ ได้ในทันที สิ่งที่ต้องทำมีเพียงแค่ลงเนื้อหาที่มีคุณภาพและเกี่ยวข้องกับคำหลัก
ดังนั้นหากคุณเป็นเว็บไซต์ที่มาใหม่ หรือไม่เคยลงลึกการทำ SEO มาก่อนเลย โอกาสเดียวที่จะช่วยให้คุณไต่ได้อันดับดี ๆ บนหน้าผลการค้นหาได้เลย คือ การลงเนื้อหาที่ถูกต้อง ครบถ้วน น่าเชื่อถือ และเกี่ยวข้องกับคำหลัก (Keyword) ที่นำมาใช้งาน
ทำไม Keyword difficulty ถึงมีความสำคัญกับการทำ SEO
เพื่อที่จะให้เว็บไซต์ได้ขึ้นไปสู่อันดับสูงบนผลการค้นหา คุณจำเป็นต้องพึ่งการทำ SEO ที่มีหัวใจหลักอย่างคำหลัก (Keyword) แต่ถึงกระนั้นการทำ SEO ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่เป็นกระบวนที่ต้องวางแผน วิเคราะห์อย่างละเอียดและลงมือทำอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการประเมินคู่แข่งเว็บไซต์ และความสนใจของผู้ใช้งาน การรู้ระดับความยากของคำหลัก จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนและปรับปรุงกลยุทธ์ในการทำ SEO และการใช้งานคำหลัก (Keyword) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้คำหลักที่มีความยากระดับต่ำเพื่อการเริ่มต้นที่ดีของเว็บไซต์หน้าใหม่ที่ยังไม่ได้มีอะไรมาก หรือการท้าทายตัวเองด้วยการใช้คำหลักที่มีความยากระดับสูง ที่ต้องใช้เวลาและวางแผนการทำอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้การรู้และเข้าใจปัจจัยในส่วนนี้จะช่วยให้คุณประเมินโอกาสและความเป็นไปได้ในการทำเนื้อหาของคำหลักแต่ละคำได้ในทันที ว่าต้องใช้ความพยายามมากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างเช่น คำหลักที่มีความยากระดับต่ำจะง่ายต่อการได้อันดับสูง ไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก เพียงทำตามหลักการ SEO เบื้องต้น การทำเนื้อหาที่มีคุณภาพ ใช้งาน Backlink ที่มีคุณภาพและคาดหวังผลลัพธ์ได้เร็ว หรือในทางตรงกันข้าม คำหลักที่มีความยากระดับสูง ก็ย่อมจำเป็นต้องวางแผนให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ไม่ว่าจะด้านเนื้อหาหรือการใช้งาน Backlink การรู้และประเมินความเป็นไปได้ต่าง ๆ จะเป็นส่วนสำคัญในการทำ SEO ของคุณให้ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน
ข้อดีและข้อเสียของ Keyword difficulty
การรู้จักและคิดจะใช้งาน Keyword หรือความยากของคำหลัก แม้จะเป็นส่วนช่วยสำคัญในการทำ SEO ของคุณให้ประสบความสำเร็จได้ก็จริง แต่ก็ยังมีข้อดีและข้อเสีย ที่สามารถส่งผลต่อวิธีการและกลยุทธ์ในการทำ SEO ของคุณได้เช่นกัน หากไม่ได้ใช้งานให้ถูกวิธี มาลองดูรายละเอียดกันเลยดีกว่า ว่าข้อดีและข้อเสียนี้ส่งผลอย่างไรบ้าง ?
ข้อดี
การรู้และเข้าใจถึงระดับความยากของคำหลัก จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจในการเลือกคำหลักมาทำเนื้อหา คอนเทนต์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงสามารถประเมินคำหลักที่จะนำมาใช้ว่ามีโอกาสในการสำเร็จทางด้านธุรกิจได้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลากับการแข่งขันคำหลักที่มีความยากระดับสูง ๆ และนำเวลาที่ได้ไปพัฒนาในส่วนอื่น ๆ ของการทำ SEO ต่อได้
ข้อเสีย
ข้อเสียสิ่งนี้เลยคือ จำเป็นต้องมีการใช้เครื่องมือทางการตลาดหรือเครื่องมือ SEO ที่เหมาะสม ซึ่งอาจทำให้คุณมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเพิ่มเติม นอกจากนี้ต้องไม่ลืมว่า ระดับความยากของคำหลักไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวในการทำ SEO ยังมีส่วนอื่นสำคัญที่คุณจำเป็นต้องโฟกัสด้วย ไม่ว่าจะเป็น On-Page / Off-Page, โครงสร้างเว็บไซต์, Page Speed ฯลฯ การหลงลืมหรือละเลยปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญในการทำ SEO อาจให้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ย่ำแย่ได้ด้วยเช่นกัน
บทสรุป Keyword difficulty ส่วนเล็กของการทำ SEO
หลายคนรู้กันดีว่า คำหลัก หรือคีย์เวิร์ดนับเป็นหัวใจหลักของการทำ SEO ที่ต้องมีอยู่ด้วยเสมอ แน่นอนว่าการทำ SEO ไม่ได้เพียงแค่การใช้งานคีย์เวิร์ดเท่านั้น แต่ยังมีกระบวนการที่ซับซ้อนหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ปรับแต่งเว็บไซต์ให้เข้าใช้งานได้ง่าย และตรงความชอบของเครื่องมือค้นหา แต่ถึงกระนั้นหลายคนมักมองข้ามปัจจัยส่วนเล็ก ๆ ของคีย์เวิร์ดอย่าง Keyword difficulty หรือความยากของคำหลักไปเสมอ
การรู้และเข้าใจนี้ส่วนเล็ก ๆ นี้จะเป็นส่วนช่วยสำคัญในการทำ SEO ของคุณให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะความยากของคำหลักจะช่วยให้คุณรู้และวิเคราะห์ได้ว่า คำหลักไหนมีคู่แข่งมากน้อยแค่ไหน และต้องวางแผน จัดการเนื้อหา โดยใช้ระยะเวลานานเท่าไรถึงจะได้ผลลัพธ์ การใช้มันอย่างถูกต้องจะช่วยให้เว็บไซต์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปสามารถแข่งขันและประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแน่นอน