สังเกตได้ว่าหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจ E-Commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดด ชนิดที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดในทุกหย่อมหญ้าทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซึ่งหากผู้ประกอบธุรกิจโฟกัสเพียงแค่การ “ซื้อและขาย” ผ่านการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ อาจไม่ตอบสนองความสำเร็จทางการค้าอีกต่อไป เพราะการตลาดในยุคนี้สิ่งสำคัญไม่ใช่เรื่องของผลลัพธ์ที่เป็นปลายทาง แต่หมายถึง การลงลึกในรายละเอียดทุกกระบวนการโดยเฉพาะกับเรื่อง “พฤติกรรมของผู้บริโภค” ที่นักการตลาดล้วนให้ความสนใจว่าควรทำอย่างไร จึงจะอ่านใจพวกเขาเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับใช้ให้ตรงจุด
และด้วยเทคโนโลยีที่เติบโตมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ Marketing Automation เข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้เพื่อเสริมประสิทธิภาพธุรกิจให้สามารถนำเสนอสินค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย พร้อมคว้าใจผู้บริโภคตลอดทุกกระบวนการ
Marketing Automation คืออะไร?
Marketing Automation คือการใช้โปรแกรมอัตโนมัติเพื่อยกระดับการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด โดยหน้าที่หลักก็คือ “การรวบรวมข้อมูลลูกค้า” จากหลากหลายมิติเพื่อใช้โปรแกรมสร้างข้อความหรือโฆษณาที่เหมาะสมต่อกลุ่มลูกค้านั้น ๆ และดำเนินการจัดการทุกอย่างโดยอัตโนมัติ
ให้คุณลองจินตนาการว่าจำเป็นต้องส่งโฆษณาสินค้าให้กับลูกค้าสักหนึ่งกลุ่มภายใต้งบประมาณการทำ Campaign ที่จำกัด ซึ่งคุณจะรู้ได้อย่างไร? ว่ากลุ่มลูกค้าที่คุณยิงโฆษณาให้ชมนั้นจะมีแนวโน้มสนใจสินค้าของคุณจริง ๆ โดยหากคุณได้ใช้ระบบ Marketing Automation เข้ามาช่วยทำการตลาด ระบบอัตโนมัติเหล่านี้จะเก็บข้อมูลจากลูกค้าเพื่อบอกได้ว่าลูกค้ากลุ่มไหนมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าคุณมากที่สุด และเลือกยิงโฆษณาไปยังลูกค้ากลุ่มเฉพาะเพื่อช่วยให้เกิดความประหยัดในการใช้งบประมาณ
โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ร่วมกันอาจถูกอ้างอิงจาก พฤติกรรมการเลือกซื้อ, ประวัติการสั่งสินค้า, ช่วงอายุ, พื้นที่อาศัย, ความสนใจผ่านเครื่องมือค้นหา สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลสำคัญที่คุณอาจพอนึกภาพออกว่าหากใช้มนุษย์ในการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ (ที่เกิดขึ้นทุกวินาที) จะต้องเปลืองแรงมากแค่ไหน ซึ่งการมีระบบโปรแกรมอัตโนมัติเข้ามาช่วยก็สามารถที่จะลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ ได้มากทีเดียว
วิธีการทำงานของ Marketing Automation
เราสามารถใช้งาน Tools ต่าง ๆ สำหรับการทำ Marketing Automation ได้มากมายไม่ว่าจะเป็น HubSpot Marketing Automation, ActiveCampaign, ManyChat, Snov.io, EngageBay และอื่น ๆ ซึ่งอาจต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าเรามีจุดประสงค์อย่างไรเพื่อใช้งาน Tools ได้มีประสิทธิภาพที่สุด
โดยภาพรวมของการทำงานของ Marketing Auto สามารถแบ่งขั้นตอนได้ดังนี้
สร้างและจัดการกับข้อมูลลูกค้า
การทำงานจะเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าที่สำคัญ เช่น ชื่อ อีเมล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ในการสร้าง Campaign เปรียบได้กับขั้นตอนการรวบรวมวัตถุดิบเพื่อนำไปใช้ปรุงอาหารต่อไป
การสร้างและส่งข้อความโฆษณา
Marketing Automation สามารถสร้างและส่งข้อความโฆษณาหรือการติดต่อลูกค้าโดยอัตโนมัติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเป็นตัวช่วย เช่น การสร้างอีเมล ข้อความ SMS หรือการโพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย
กำหนด Campaign การตลาด
ใช้โปรแกรมเพื่อสร้างและกำหนด Campaign การตลาดที่ต้องการ โดยประเมินลูกค้าพร้อมช่วยตรวจสอบวัตถุประสงค์ทางการตลาด ทั้งยังเป็นขั้นตอนวิเคราะห์ข้อมูลว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ในการลงทุน ไปจนถึงการจัดให้ลูกค้าได้กระทำบางอย่าง (Call to action) หลังจากได้รับข้อความโฆษณา
การติดตามผลการตลาด
เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการ Marketing Automation เพราะจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ผลการใช้งานได้อย่างถูกต้อง พร้อมปรับปรุงกิจกรรมการตลาดให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้การติดตามผลการตลาดยังช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจในระยะยาว
17 เรื่องการประยุกต์ใช้ Marketing Automation ที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ E-Commerce
ในบริบทของธุรกิจ E-commerce การใช้ Marketing Automation จัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างและส่งเสริมการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งกับการใช้ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วย เพื่อให้การตลาดมีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
โดยสังเกตได้ว่ากระบวนการสำหรับการซื้อ-ขายบนธุรกิจเกี่ยวกับ E-commerce ส่วนใหญ่มักมีรูปแบบซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะเป็นนับตั้งแต่การค้นหาสินค้า, ปักหมุดสินค้าที่สนใจ,การเลือกสินค้า, หยิบสินค้าลงตะกร้า, การชำระเงิน, เก็บแต้มสมาชิก และอีกหลายอย่างโดยสิ่งเหล่านี้คือระบบที่ถูกวางมาแล้วตั้งแต่ต้นจนจบว่าจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งการใช้ Marketing Automation ที่ดีจะเข้ามาอุดทุกรอยรั่วในกระบวนการดังกล่าว จวบจนกระทั่งสามารถปิดการขายได้สำเร็จ
ต่อไปนี้จะเป็น 17 เรื่องยอดนิยมสำหรับการนำ Marketing Automation มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ E-commerce ได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
1. Email Marketing
สามารถสร้าง Campaign ด้าน Email Marketing ที่มีการติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการกำหนดเงื่อนไขการส่งอีเมลให้กับกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมการใช้งาน เช่น การส่งอีเมลเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการ เมื่อลูกค้าตอบกลับอีเมล หรือเมื่อลูกค้าคลิกที่ลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของเรา
นอกจากนี้ ยังช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ผลข้อมูลการส่งอีเมลสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ทั้งยังสามารถติดตามรายงานผลตอบรับได้โดยอัตโนมัติเพื่อนำมาปรับปรุงได้ต่อไปในอนาคต
2. Lead Scoring
Lead Scoring เป็นกระบวนการประเมินคุณค่าของผู้สนใจ (Leads) โดยใช้ CRM (Customer Relationship Management) เพื่อช่วยให้ทีมขายสามารถพัฒนาและดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้คะแนน (Score) แก่ผู้สนใจตามคุณลักษณะและพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การดูสินค้าบนเว็บไซต์ การสมัครรับข่าวสาร การติดตามบัญชีของธุรกิจบนโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
โดยการให้คะแนนนี้จะช่วยให้ทีมขายสามารถแยกแยะความสนใจของผู้สนใจได้ ว่าใครคือผู้สนใจที่มีความสนใจสูงและพร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการขายหรือไม่ เพื่อให้ทีมขายสามารถนำไปใช้โฟกัสกลุ่มผู้มีแนวโน้มจะซื้อในเชิงรุกเพื่อกระตุ้นการขายได้มากยิ่งขึ้น
3. Customer Segmentation
เป็นเทคนิคการใช้เครื่องมืออัตโนมัติในการดูแลลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าหรือบริการกับธุรกิจนั้น ๆ กลับมาซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้ง โดยจะเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีและน่าสนใจสำหรับลูกค้า อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้า เป็นการใช้ระบบเพื่อเน้นการรักษาฐานลูกค้าเก่าให้ได้มากที่สุด เพื่อเสนอบริการที่จะซื้อใจลูกค้าอยู่กับเราเสมอ
โดยการใช้ Customer Segmentation จะช่วยให้สามารถส่งข้อความที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้เฉพาะกลุ่มมากขึ้นตามความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการส่ง Email, SMS, หรือการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางอื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อลูกค้ากลุ่มนั้นโดยเฉพาะ นอกจากจะเพิ่มโอกาสในการเปิดอ่าน และโอกาสในการซื้อสินค้าหรือบริการในภายหลัง ยังช่วยให้เราสามารถนำไปทำ Lead Scoring ได้อย่างแม่นยำมากขึ้นอีกด้วย
4. Personalization Marketing
คือการทำการตลาดโดยปรับแต่งข้อความโฆษณาหรือเนื้อหาไปตามความต้องการและความสนใจของลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะ มีความลึกซึ้งในการวิเคราะห์ระดับของพฤติกรรมที่ ‘เกือบจะเป็นส่วนตัว’ โดยวิธีการทางการตลาดแบบนี้จะช่วยให้เข้าถึง Insights ของลูกค้าได้ลึกซึ้ง แต่ข้อเสียคือไม่สามารถนำมาอ้างอิงพฤติกรรมได้ทั้งหมดโดย Marketing Automation จะช่วยเข้ามาวิเคราะห์ภาพรวมให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นในการทำการตลาดเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนที่สุด
5. Customer Retention Automation
เป็นเทคนิคการใช้เครื่องมืออัตโนมัติในการดูแลลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าหรือบริการกับธุรกิจนั้น ๆ กลับมาซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้ง โดยจะเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีและน่าสนใจสำหรับลูกค้า อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้า เป็นการใช้ระบบเพื่อเน้นการรักษาฐานลูกค้าเก่าให้ได้มากที่สุด เพื่อเสนอบริการที่จะซื้อใจลูกค้าอยู่กับเราเสมอ
6. Social Media Marketing
การใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, Twitter, LinkedIn และอื่นๆ ในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภค เพื่อสร้างความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยใช้เนื้อหาที่น่าสนใจ มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ โดยอาจมีการใช้ Tools เพื่อเพิ่มการทำการตลาดให้แม่นยำขึ้น อีกทั้งยังสามารถที่จะติดตามผลเพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการสร้าง Campaign ในอนาคต
7. Landing Page Automation
เป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดเวลาในการสร้างหน้าเว็บเพจ โดยการมีฟังก์ชันสร้างหน้าเว็บเพจอัตโนมัติที่ใช้ถูกสร้างโดยการใช้ฐานข้อมูลจากลูกค้าโดยตรง ส่งผลให้การปรับแต่งหน้าเว็บเพจที่ได้นั้นมีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย มีความเป็นธรรมชาติในการนำเสนอข้อมูลแก่ลูกค้า ทั้งยังช่วยการติดตามผลลัพธ์การสร้างหน้าเว็บเพจเพื่อปรับปรุงและปรับแต่งให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การตลาดอีกด้วย
8. Analytics and Reporting Automation
การวิเคราะห์และรายงานผลข้อมูลทางธุรกิจ เป็นกระบวนการสำคัญสำหรับการตัดสินใจและปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจอย่างยิ่ง ซึ่งการใช้ระบบเข้ามาช่วยในเรื่องนี้จะทำให้ ธุรกิจสามารถติดตามและวิเคราะห์การทำงานของแต่ละกิจกรรมที่ลงทุนได้ โดยสามารถใช้ข้อมูลเพื่อรายงานผลจากหลายแหล่งที่มา เช่น ข้อมูลเว็บไซต์ ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย และฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อสร้างรายงานที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการในการแสวงหาข้อเท็จจริงผ่าน Data อีกทั้งยังสามารถสนับสนุนการสร้างแผนภูมิและกราฟิกที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจผลการวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจน
9. Campaign Management
ช่วยในเรื่องของการวางแผนกระบวนการ รวมถึงจัดการกับกิจกรรมการตลาด กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการ Campaign สามารถจัดทำแผนงานและปฏิทินการตลาด และสามารถเลือกเครื่องมือ รวมถึงช่องทางการตลาดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละ Campaign เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้คุณสามารถจัดการข้อมูลเพื่อวางแผนงานได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น
10. Lead Nurturing Automation
เป็นการใช้ระบบอัตโนมัติไปจนถึงเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดูแลและสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าในขณะที่พวกเขาอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจในการซื้อสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะโดยการส่งข้อความหรือเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ให้กับลูกค้าเพื่อสร้างความน่าสนใจ เสริมสร้างความไว้วางใจในสินค้าหรือบริการผ่านการดูแลต่าง ๆ การนำเสนอข้อเสนอพิเศษหรือส่วนลดเฉพาะกลุ่มลูกค้า กระทั่งการส่งเมลขอบคุณลูกค้าหลังจากเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือทำการซื้อสินค้าและบริการ ไปจนถึงการส่งข้อความเป็นตอบกลับเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาพร้อมตอบคำถามคาใจของลูกค้า ซึ่งกระบวนการนี้สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการแปลง “ว่าที่ลูกค้า” ให้กลายเป็น “ลูกค้าตัวจริง” ได้
11. Sales Automation
ช่วยลดเวลาในการดำเนินงานสำหรับกระบวนการขาย ทำให้บริษัทสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของทีมขายได้ เช่น ลดเวลาในการติดตามลูกค้าที่ยังไม่ได้ตอบกลับ การสร้างเอกสารขายคุณภาพที่มีมาตรฐาน ตรวจสอบและติดตามประสิทธิภาพของทีมขาย เพื่อช่วยให้ทีมขายสามารถเห็นความคืบหน้าในกระบวนการขายของตนเองได้ง่ายขึ้น และหาโอกาสในการเพิ่มการขายได้อย่างต่อเนื่อง
12. Customer Service
ช่วยให้กระบวนการบริการลูกค้าสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เช่น การตอบคำถามของลูกค้า การส่งอีเมลตอบกลับ สามารถทำได้ด้วยระบบที่ถูกตั้งค่าไว้ล่วงหน้า ทั้งยังช่วยให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็นระบบ Chatbot, Self-Service, Knowledge Base ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
13. Affiliate Marketing Automation
สนับสนุนการตลาดแบบ Affiliate เพื่อช่วยให้เกิดการซื้อ-ขายได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบและเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์สามารถจัดการธุรกรรมแบบอัตโนมัติได้ เช่น การติดตามและจัดการคำสั่งซื้อแบบอัตโนมัติ การจัดการฐานข้อมูลสมาชิกและเครื่องมือในการสร้างรายงานการขาย
นอกจากนี้อาจจะยังผสานเข้ากับการใช้เทคโนโลยีด้านอื่นเข้ามาช่วย เช่น Chatbot หรือเครื่องมือการสนทนาอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดภาระงานที่เกิดขึ้นกับพนักงานฝ่ายบริการลูกค้า และให้การตอบกลับได้เร็วขึ้นในขณะเดียวกันยังสามารถบันทึกข้อมูลลูกค้าได้อีกด้วย
14. Event Management
ช่วยให้การจัดการงาน Event ง่ายและมีความเป็นระบบมากขึ้น เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน ข้อมูลติดต่อผู้เข้าร่วม การสร้างและจัดการเว็บไซต์ของงาน Event และการจัดการข้อมูลการชำระเงิน นอกจากนี้ยังช่วยให้เราสามารถส่งเสริมการตลาดและสร้างความสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมงานได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งแจ้งเตือนเกี่ยวกับกิจกรรม หรือสร้างเนื้อหาโปรโมชั่นแบบ Realtime ที่เหมาะกับคนใน Event เพื่อบริการลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพที่สุดในวันงาน
15. Loyalty Program
ช่วยในเรื่องของการสร้างและจัดการโปรแกรมสมาชิกสำหรับลูกค้าที่ติดต่อกับธุรกิจของคุณ ซึ่งการนำ Automation มาใช้จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการจัดการโปรแกรมสมาชิกและให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น การกำหนดระดับสมาชิกและประเภทของสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ เช่น ส่วนลด คะแนนสะสม ของแถม หรือในส่วนของการติดตามเพื่อเก็บข้อมูลสมาชิก ไปจนถึงการปรับปรุงโปรแกรมสมาชิกให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสกลับมาซื้อซ้ำและรู้สึกว่าแบรนด์นี้ให้สิทธิพิเศษที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น
16. Referral Program
เป็นระบบที่เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างโปรแกรมแนะนำสินค้าหรือบริการ (Referral program) เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างธุรกิจและเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ โดยคุณอาจจะคุ้นเคยกับสถานการณ์ที่ลูกค้ามีการแนะนำสินค้าหรือบริการให้กับเพื่อน ๆ ผ่านลิงก์หรือโค้ดเฉพาะของลูกค้าคนนั้น ตัวระบบจะทำการตรวจสอบลิงก์หรือโค้ดนี้และทำการเพิ่มคะแนน (Point) ให้กับลูกค้าที่ส่งคำแนะนำได้ โดยลูกค้าอาจนำคะแนนนั้นไปใช้ในสิทธิประโยชน์อื่นต่อไป
17. Inventory Management Automation
การบริหารจัดการสินค้าคงคลังเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจ E-commerce เป็นอันดับต้น ๆ เพื่อให้สามารถจัดการสินค้าได้อย่างแม่นยำ ลดการสูญเสียสินค้าเป็นจำนวนมาก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำ Inventory Management Automation จะช่วยให้การจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลสินค้า พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ เช่น ระบบสั่งซื้อสินค้า ระบบการผลิต ระบบการจัดส่งสินค้า เพื่อให้สามารถจัดการสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า คือสิ่งที่ทำให้เกิดการบริหารที่ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจได้ไม่น้อย
ข้อจำกัดของการใช้ Marketing Automation
แม้ Marketing Automation จะมีข้อดีมากมายไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดระยะเวลาไปจนถึงการเก็บรักษาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ แต่ก็มีข้อจำกัดที่ต้องระวังเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน หากคุณต้องการที่จะนำไปใช้ในจุดประสงค์ต่าง ๆ เพราะปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวบอกได้เลยว่า Marketing Automation เหมาะสมหรือไม่กับธุรกิจของคุณ
- ต้องมีข้อมูลลูกค้าที่เพียงพอ – การใช้ Marketing Automation ต้องใช้ข้อมูลลูกค้าเป็นพื้นฐาน ถ้าข้อมูลไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้อง การใช้งานอาจไม่ได้ผลดั่งที่ตั้งใจไว้ และอาจทำให้การติดต่อลูกค้าเป็นไปอย่างไม่สม่ำเสมอ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้เสียทีเดียว ถ้าหากเราเข้าใจและโฟกัสได้ตรงกลุ่ม ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในการนำข้อมูลมาใช้
- ความซับซ้อนของการตั้งค่า – การตั้งค่าอาจมีความซับซ้อน โดยเฉพาะในการกำหนดลำดับของกระบวนการคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้การใช้งานมีความยุ่งยากและผิดพลาดได้ง่าย
- จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ – การใช้งาน Marketing Automation ต้องตรวจสอบและปรับปรุงเป็นประจำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เพราะทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาสำหรับบริบทในการใช้งาน แม้ส่วนหนึ่งจะเป็นเพราะระบบเหล่านี้ต่างสร้างขึ้นมาเพื่อประหยัดแรงการทำงานของมนุษย์ แต่สุดท้ายก็จำเป็นต้องถูกตรวจสอบความถูกต้องด้วยสายตามนุษย์เสมอ
- ความสามารถของระบบที่ต้องประยุกต์ใช้ – ไม่ใช่โปรแกรมทุกตัวมีความสามารถที่เหมือนกัน บางโปรแกรมอาจไม่สามารถทำบางสิ่งได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสำเร็จของกลยุทธ์การตลาด ดังนั้นก่อนใช้งานให้คุณตั้งจุดประสงค์ก่อนว่าจะใช้โปรแกรมเหล่านั้นทำอะไรให้กับคุณ
- การออกแบบข้อความ – การออกแบบข้อความไปจนถึงการส่งอีเมลที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจและลดความน่าเชื่อถือ แม้โดยปกติแล้วระบบนี้จะสามารถสร้างข้อความอัตโนมัติได้ แต่ให้เริ่มต้นด้วยการใช้ฝีมือมนุษย์ในการร่างข้อความก่อนจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะสื่อถึงความจริงใจ เรายังสามารถนำข้อความเหล่านั้นมาออกแบบให้กับระบบได้ในภายหลังอีกด้วย
บทสรุป : การใช้ Marketing Automation เป็นตัวเลือกที่ถูกต้องสำหรับธุรกิจ E-Commerce หรือไม่?
จากทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถบอกได้ว่าการใช้ Marketing Automation สำหรับธุรกิจ E-commerce นับเป็นตัวเลือกที่ “ถูกต้องอย่างมาก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจของคุณมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการเพิ่มปริมาณลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระบบ Marketing Automation นอกจากจะช่วยให้ธุรกิจของคุณประหยัดเวลาในการทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นก็ยังมีความคุ้มค่าในการใช้จัดสรรทรัพยากรเพื่อการดูแลลูกค้าอย่างครอบคลุม ทั้งยังสามารถยกระดับการขายได้อย่างเห็นผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นกับลูกค้า
ไม่เกินจริงเลยหากจะบอกว่าระบบนี้ยังดูแลและคอยสร้างการเชื่อมโยงกับลูกค้าใหม่ ๆ ที่จะส่งผลทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญยังช่วยเข้าใจลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อขายของพวกเขาได้อย่างละเอียด โดยเหล่านักการตลาดต่างต้องการข้อมูลส่วนนี้ เพื่อนำไปปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสม นับว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้วหากคุณเลือกที่จะพัฒนาธุรกิจไปอีกขั้น E-Commerce ด้วยการใช้ Marketing Automation เข้ามาช่วย